6 ธ.ค. 2019 เวลา 08:09 • ประวัติศาสตร์
วันนี้นึกมุกเก่าได้ล่ะ..
.เมื่อครั้งก่อตั้งโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ หรือที่ชาวเชียงรายนิยมเรียกว่า “โฮงยาไทย” ….
จากแผนฉุกเฉินขั้นตอนการช่วยเหลือ 13 ชีวิตติดถ้ำหลวงภายในครึ่งชั่วโมง!!! เจ้าหน้าที่ทีมแพทย์ ซักซ้อมแผนการลำเลียง 13 ชีวิต ทีมหมูป่า ส่งโรงพยาบาลทันที ที่หน่วยซีลสามารถ พาออกจากถ้ำหลวงได้ โดย ผู้อำนวยการ โรงพยาบาล เชียงรายประชานุเคราะห์ ยืนยัน โรงพยาบาลมีความพร้อม 100 เปอร์เซ็นต์!!!
...เป็นควันหลงจากการไปดู ในด้านดีคือเราได้สัมผัสฮีโรตัวจริงมาปรากฏบนแผ่นฟิล์มทำให้คนที่รู้จักเรื่องราวดีติดตามใกล้ชิดรู้สึกถึงความสมจริง แต่ในแง่ร้ายของดาบสองคมนี้กลับเด่นชัดกว่าเพราะเมื่อไม่ใช้นักแสดงอาชีพมาเล่น ก็ต้องยอมรับในขีดจำกัดการสื่อสารของตัวละครว่าคงจะเล่นอารมณ์ให้เข้าถึงหัวใจคนดูได้ยาก แน่นอนมีบางคนสอบผ่าน บางคนพอถูไถ และบางคนไม่อาจเล่นได้เลย แต่ทีมสร้างก็ดันทุรังผลักบุคคลตัวจริงเหล่านี้ให้ยิ่งมีบทเด่นบทนำเข้าไปอีก ทำให้กระแสการเล่าเรื่องที่เบาบางอยุ่แล้วยิ่งจืดจางทางอารมณ์เข้าไปอีกอย่างน่าเสียดาย
2
แต่สิ่งที่น่าชื่นชมสำหรับหนังเรื่องนี้ก็มีหลายส่วนเช่นกัน ทั้งการถ่ายภาพที่สมจริงแบบแฮนด์เฮลด์ราวหนังสารคดี พาผู้ชมเข้าไปยืนในภารกิจอย่างใกล้ชิด ฉากการดำน้ำ ฉากเปลลำเลียงที่ถูกส่งออกไป และฉากโดรนต่าง ๆ ที่สวยงามแปลกตา ด้านเพลงเองก็มีการใช้แนวดนตรีไทยประยุกต์
ไม้เด็ดคือการแอบไปเสียดสีระบบราชการไทยที่ทุกคนก็รู้ดีๆทั้งขั้นตอนซับซ้อนเชื่องช้า ลำดับการให้ความสำคัญที่ดูไม่เข้าท่าไร้เหตุผลอยู่พอสมควร ประเด็นนี้หนังเอามาขยี้ๆๆหลายครั้ง ดูจะมีอิมแพกต์ต่อคนดูได้มากทีเดียว…
เอาล่ะเรามาย้อนกลับไปเมื่อครั้งก่อตั้งโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ หรือที่ชาวเชียงรายนิยมเรียกว่า “โฮงยาไทย” กันต่อตามที่โปรยไว้ดีกว่า…
เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2475 คณะราษฎร์ ได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองและมีนโยบายสร้างโรงพยาบาลหัวเมือง โดยประกาศพระราชบัญญัติสาธารณสุข ในปี พ.ศ.2477 ในสมัยของพระยาพหลพลพยุหเสนา ซึ่งเป็นหัวหน้ารัฐบาลคณะราษฎร์ในขณะนั้น
เพื่อแสดงเกียรติภูมิของชาติให้ปรากฏแก่ประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นอาณานิคมของชาติตะวันตกตามนโยบาย “อวดธง” ในปี พ.ศ.2479 (สมาชิกคณะราษฎรประกอบด้วยราษฎร ข้าราชการ ทหาร และพลเรือน จำนวน 115 คน ประกอบด้วย4สายได้แก่ 1.หัวหน้าคณะราษฎร 2.คณะราษฎรสายทหารบก 3.คณะราษฎรสายทหารเรือ 4.คณะราษฎรสายพลเรือน )
ด้วยเหตุนี้พระพนมนครารักษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ซึ่งถือเป็นบิดาแห่งโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จึงได้ริเริ่มสร้างโรงพยาบาลประจำจังหวัดเชียงราย โดยได้รับความร่วมมือจากประชาชนชาวเชียงรายนำโดยคหบดี คุณพ่อสีห์ศักดิ์และคุณแม่กิมเฮียะ ไตรไพบูลย์ ได้บริจาคที่ดินจำนวน 19 ไร่ รวมทั้งประชาชนซึ่งมีที่ดินข้างเคียงร่วมบริจาคสมทบให้เป็นจำนวนพอสมควร
หลังจากได้รับการอนุมัติให้จัดสร้างโรงพยาบาลจากกระทรวงสาธารณสุข การดำเนินการก่อสร้างยังได้รับเงินบริจาคจากประชาชนในจังหวัดเชียงราย จนเป็นที่มาของคำว่า “ประชานุเคราะห์” ต่อท้ายชื่อโรงพยาบาล
โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ประกอบพิธีเปิดโรงพยาบาลในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2480 (วันศุกร์ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 3 ปีฉลู) มีแพทย์เพียงคนเดียว คือ นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว และเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลคนแรกในขณะนั้น...
ในช่วงแรกโรงพยาบาลได้รับการอนุมัติให้เป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาด 50 เตียง และได้เพิ่มจำนวนเตียงตามลำดับ กระทั่งปี พ.ศ.2531 จึงได้รับการอนุมัติให้เป็นโรงพยาบาลศูนย์ขนาด 600 เตียง และปัจจุบันมีจำนวน 756 เตียง มีเนื้อที่ 52 ไร่ 2 งาน 54 ตารางวานับเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกที่สร้างขึ้นด้วยทุนทรัพย์ของชาวบ้านจังหวัดเชียงราย และริเริ่มเงินทุนสะสมของโรงพยาบาลจนกลายเป็นที่มาของ “ เงินบำรุงโรงพยาบาล ”
นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว นับเป็นบุคคลที่มีคุณูปการต่อวงการสาธารณสุขไทย ในอัตชีวประวัติของท่านกล่าวได้ว่าการย้ายไปเป็นแพทย์ประจำที่จังหวัดเชียงรายของท่านนั้น นับเป็นช่วงชีวิตที่สมบุกสมบันและลำบากที่สุดในการทำงานเลยก็ว่าได้
เนื่องจากการทำงานของท่านไม่เพียงแต่ไปเป็นแพทย์รักษาคนเจ็บป่วยเท่านั้น เมื่อ พ.ศ.2480 ท่านยังได้ร่วมกับข้าราชการ พ่อค้าและประชาชนชาวเชียงรายช่วยกันบุกเบิกก่อตั้งโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์จนเป็นผลสำเร็จแม้จะใช้เวลามากกว่า 10 ปีก็ตาม...
จังหวัดเชียงรายเมื่อ 70 กว่าปีก่อนนั้นขาดแคลนนายแพทย์มาก บ้านเมืองและโครงสร้างพื้นฐานก็ยังไม่พร้อม ข้าราชการโดยเฉพาะคณะกรรมการจังหวัดในสมัยนั้นจึงต้องร่วมมือกันทำงานอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย
โดยเฉพาะในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพาระหว่าง พ.ศ.2484-2488 นพ.เสม ต้องทำงานอย่างหนักเป็นพิเศษเนื่องจากเป็นนายแพทย์ที่ทุกคนต้องพึ่งพา ท่านก็ยังสามารถวางรากฐานด้านการแพทย์และสาธารณสุขไว้มาก ทำให้โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์กลายเป็นโรงพยาบาลที่สร้างขึ้นจากเงินบริจาคของประชาชน และเป็นแรงผลักดันให้นโยบายสร้างโรงพยาบาลทั่วประเทศจนประสบความสำเร็จ.
reference..

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา