16 ธ.ค. 2019 เวลา 01:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เกิดอะไรขึ้น ในช่วงนาทีสุดท้ายก่อนตาย
เวลาเราพูดถึงความตาย หลายคนมักจะชวนให้เปลี่ยนเรื่องคุย โดยบอกว่าเป็นลางไม่ดี ไม่ควรพูดถึง จนทำให้ความตายกลายเป็นเรื่องน่ากลัว ทั้งที่ในความเป็นจริง ความตายอาจจะไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด
Science Freak/ Pixabay
1. อันดับแรกเลย เวลาใกล้ตาย วิทยาศาสตร์บอกว่าเราอาจจะไม่ได้มีความสามารถเพียงพอในการมานั่งคิดว่าความตายน่ากลัวด้วยซ้ำ
.
2. อย่างที่เรารู้ๆ กันว่าสมองเป็นตัวควบคุมการทำงานของร่างกายและความรู้สึกต่างๆ แต่เมื่อเข้าสู่ภาวะใกล้ตาย สมองจะลดการทำงานในส่วนนี้ลง จนเราแทบไม่รู้สึกอะไร หรืออยู่ในภาวะคล้ายฝัน
.
3. ที่เป็นเช่นนั้น เพราะสมองและพลังงานในส่วนที่เหลือจะถูกนำไปใช้กับการทำงานที่สำคัญของร่างกายแทน เช่น การเต้นของหัวใจ การหายใจ เพื่อให้เรามีชีวิตรอด อะไรที่ไม่สำคัญ สมองก็หยุดสั่งการไป
.
4. เมื่อเราใกล้ตาย ประสาทสัมผัสและความสามารถในการรับรู้ต่างๆ จึงลดลงไปด้วย ส่วนใหญ่เริ่มจากการพูด การมองเห็น จากนั้นก็จะเป็นการสัมผัสและการได้ยิน
.
5. เมื่อร่างกายและสมอง ค่อยๆ หยุดทำงาน เราก็จะเข้าสู่ภาวะสงบอย่างแท้จริง
คำถาม: แต่เราเคยเห็นคนใกล้ตายดูทรมาน หายใจฟืดฟาด ติดขัดนี่นา?
อาการนี้ เรียกว่า death rattle เป็นเสียงที่เกิดจากของเหลว เช่น เสมหะ ติดค้างที่ลำคอหรือช่องอก เวลาหายใจจึงได้ยินเสียงนี้ขึ้นมา แม้จะฟังดูน่ากลัว หรือน่าทรมาน แต่ในความเป็นจริงแล้ว คนใกล้ตายกลับไม่รู้สึกอะไรเลย เช่นเดียวกันกับปฏิกิริยาทางด้านร่างกายอื่นๆ ที่ดูเหมือนทรมาน แต่ในความเป็นจริงคนใกล้ตายกลับไม่รู้สึกอะไรเช่นกัน (เพราะสมองถูกใช้ไปกับสิ่งที่สำคัญอื่นๆ แทน จนไม่เกิดการรับรู้)
.
สำนักข่าว Independent เคยเขียนถึงเรื่องราวประสบการณ์หลังความตายของคนที่แพทย์เคยระบุว่าเสียชีวิตไปแล้ว (สมองไม่ทำงานแล้ว) แต่ฟื้นขึ้นมา (ไม่ใช่คนที่ใกล้ตาย แล้วรอด) โดยเขาบอกว่าความรู้สึกหลังความตายไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด มันเหมือนกับการหลับที่ไม่มีความฝันเฉยๆ ไม่รู้ว่าหลับไปนานแค่ไหน แค่หลับไปเฉยๆ
คำถาม: มีคนบอกว่าเมื่อใกล้ตาย เราจะเห็นแสงวูบวาบ หรือเราจะเห็นคนที่เสียชีวิตไปแล้ว หรือบางคนที่เคยเฉียดความตายมาก่อน ก็ตื่นมาเล่าให้ฟังว่าเคยไปสวรรค์หรือนรกมาแล้ว?
.
ในทางวิทยาศาสตร์มองว่าเมื่อเรายังไม่ได้ตาย แม้จะเข้าใกล้ความตายมากเพียงใด สมองส่วนหนึ่งยังคงทำงานอยู่ ด้วยจิตใต้สำนึกเรื่องความตายและความเชื่อต่างๆ ที่สะสมมา อาจทำให้เกิดการรับรู้เรื่องราวดังกล่าวได้ เหมือนกับเวลาฝัน
.
แต่ในคนที่จะตายจริงๆ สมองอาจจะไม่ได้มีความสามารถเพียงพอที่จะคิดเรื่องราวต่างๆ เหล่านี้ได้ เพราะอย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าสมองจะถูกดึงไปใช้เพื่อการทำงานที่สำคัญของร่างกายแทน
สุดท้ายแล้ว ความตายก็คงไม่ต่างอะไรกับการที่เราง่วงนอนมากๆ สมองเริ่มช้า ไม่ค่อยรับรู้อะไร พอหัวถึงหมอนก็หลับไปแค่นั้นเอง
สำหรับใครที่ใช้ Facebook สามารถติดตามเราเพิ่มเติมได้อีกหนึ่งช่องทางที่ >>> https://www.facebook.com/TheCOLUMNISTth/
รูปประกอบ: Science Freak/ Pixabay
โฆษณา