6 ม.ค. 2020 เวลา 15:48 • ความคิดเห็น
สองฝั่งของโลกที่กำลังโดนไฟเผาในเวลาเดียวกัน
ความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นระหว่างสหรัฐอเมริกากับอิหร่าน ซึ่งมีปัจจัยมาจากหลายสาเหตุที่ทั้งสองต่างก็สั่งสมมาตั้งแต่อดีต แต่กลับอีกฝั่งของโลกที่ตอนนี้กำลังโดนไฟเผา ทำลายชีวิตไปแล้วหลายร้อยล้านชีวิต เรื่องราวนี้จะเป็นอย่างไร Swivel จะสรุปให้ฟัง
เริ่มกันที่ความขัดแย้งของ สหรัฐฯ กับ อิหร่าน กันก่อน หลายท่านอาจจะได้ทราบข้อมูลมาแล้วบ้างจากช่องทางต่าง ๆ แต่ Swivel อยากจะขอเล่าอีกที
เหตุการณ์นั้นเริ่มขึ้นจาก ทศวรรษที่ 1950 อิหร่านในยุคสมัยนั้นมีการปกครองด้วยตนเอง และก็มีแร่ธาตุอย่างนึงซึ่งมีค่าเอามาก ๆ ในตลาดโลก นั่นก็คือ “นำ้มัน” แต่ในตอนนั้นกิจการนำ้มันส่วนใหญ่อยู่ในการควบคุมคุมของอังกฤษ
นายกโมฮัมหมัด มอสซาเดก นายกฯ ของอิหร่านในขณะนั้น ต้องการที่จะยึดสิทธิกิจการนำ้มันกลับมาเป็นของรัฐ แต่ว่าการกระทำดังกล่าวประชาชนในประเทศไม่ได้รับประโยชน์ใด ๆ กับนำ้มันของตัวเองเลย
อีกทั้งยังมีการตัดสัมพันธ์ทางการทูตกับอังกฤษ สหรัฐฯ กับอังกฤษ จึงได้ให้หน่วยข่าวกรองวางแผนทำการรัฐประหารขึ้นมา เมื่อขับไล่รัฐบาลชุดของมอสซาเดกได้สำเร็จ กษัตริย์โมฮัมหมัด เรซา ชาห์ ทรงขึ้นมาบริหารประเทศแทน และได้รับการหนุนจากสหรัฐฯ
พระองค์ทรงใช้หน่วยตำรวจลับ ปฏิบัติภารกิจสำหรับบุคคลที่ตั้งตัวเป็นศัตรูกับพระองค์ ซึ่งหนึ่งในนั้น ก็มี “โคไมนี” ที่จำเป็นจะต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ เพียงเพราะว่า โจมตีพระเจ้าชาห์
หลังจากนั้น ในช่วงทศวรรษ 1970-1980 ประชาชนออกมาขับไล่พระเจ้าชาห์ เนื่องจากในช่วงก่อนหน้านั้น พระเจ้าชาห์ ได้จับโคมัยนีไว้ได้ แต่ก็ไม่อาจจะสู้กับเสียงเรียกร้องของประชาชนที่ขึ้นมาลุกฮือกันทั้งประเทศ จึงจำเป็นที่จะต้องเนรเทศโคมัยนีออกนอกประเทศ
แต่แล้วเหตุการณ์ก็พลิกจากหน้าเป็นหลัง ถึงคราวที่พระเจ้าชาห์ต้องลี้ภัยบ้าง เมื่อเหตุการณ์ความรุนแรงของประเทศได้ปะทุขึ้น ซึ่งเป็นโศกนาฏกรรมกว่าสามร้อยกว่าศพ ที่ประชาชนได้จุดระเบิดจนเกิดเหตุไฟไหม้รุนแรงในโรงภาพยนตร์ที่เมืองอะบาดาน
หลังจากนั้น โคมัยนีก็ได้กลับมาปกครองอิหร่าน ซึ่งนั่นสร้างความกังวลให้กับสหรัฐเป็นอย่างมาก ตั้งแต่นั้นมาอิหร่านได้กลายเป็นรัฐศาสนา โดยมีครูสอนศาสนาเป็นผู้นำประเทศ
อิหร่านยุคใหม่ มีความนิยมต่อต้านสหรัฐอเมริกาสูงมาก พระเจ้าชาห์ที่ถูกขับไล่ พระองค์ได้ไปลี้ภัยยังสหรัฐฯ เพื่อรักษาอาการประชวรของตนเองด้วย ซึ่งนั่นยิ่งสร้างความไม่พอใจให้กับชาวอิหร่านเพิ่มมากขึ้นอีก
ปลายทศวรรษ 1980 นักศึกษาชาวอิหร่านที่สนับสนุนโคมัยนี ได้บุกสถานทูตสหรัฐฯ ในกรุงเตหะรานฯ จับชาวอเมริกันเป็นตัวประกันไว้นานกว่า 444 วัน เป็นเหตุให้สหรัฐฯ คว่ำบาตรอิหร่านเป็นครั้งแรก
ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเอง เกิดสงครามระหว่างอิรัก-อิหร่าน และเมื่อการสู้รบยาวนาน ดูเหมือนว่าจะยืดเยื้อขึ้น สหรัฐฯ ได้สนับสนุนอิรักเหมือนอย่างมีนัยสำคัญ สงครามในครั้งนั้นสังเวยชีวิตผู้คนไปมากกว่าล้านคน
หลังจากรบกันไปได้นานแปดปี โคมัยนียอมรับข้อตกลงในการหยุดยิง แต่ความขัดแย้งก็ใช่ว่าจะลดลงไปเมื่อเรือรบของสหรัฐฯ ยิงเครื่องบินโดยสารของอิหร่านตก ความรุนแรงของทั้งสองยิ่งมากขึ้นไปอีก ซึ่งสหรัฐฯ ก็ไม่ได้มีการออกมาขอโทษต่อเหตุการณ์ดังกล่าวแต่อย่างใด
มาถึงยุค 2002 สหรัฐฯ หันไปสนใจด้านนิวเคลียร์ของอิหร่าน และประชาคมโลกก็มีการคว่ำบาตรอิหร่านอย่างหนัก การส่งออกนำ้มันและเศรษฐกิจของอิหร่านได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก
จนกระทั่งปี 2015 จึงได้มีข้อตกนิวเคลียร์ และอิหร่านจำเป็นที่จะต้องยอมในเรื่องนี้ เพื่อแลกกับเศรษฐกิจของประเทศ เพียงแค่สามปีต่อมา ทรัมป์ได้เซ็นสัญญาถอนตัวจากข้อตกลงดังกล่าวนี้ และยังกล่าวว่ากองกำลังของอิหร่านเป็นกลุ่มก่อการร้าย ทำให้เหตุการณ์ทวีความรุนแรงขึ้นไปอีก
จนกระทั่งมาถึงจุดที่พีคสุดเมื่อวันที่ 3 มกราคมที่ผ่านมา ที่สหรัฐฯ ได้ใช้โดรนสังหาร นายพลสุไลมานี จนทำให้ความขัดแย้งของทั้งสองประเทศยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นไปอีก
มาอีกขั้วหนึ่งของโลก ที่ทวีปออสเตรเลียที่กำลังได้รับผลกระทบจากไฟป่าที่ยาวนานถึง 6 เดือน อันเป็นผลมาจากเหตุผลหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น
ความแห้งแล้งที่ดูเหมือนว่าในปีที่ผ่านมานั้น พื้นที่ในออสเตรเลียที่ได้รับอิทธิพลความแห้งแล้งดังกล่าว ซึ่งทั้งหญ้าทั้งใบไม้แห้ง ยิ่งไม่มีความชื้นยิ่งเป็นเชื้อเพลิงชั้นดี ประกอบกับเหตุการณ์ที่ชาวออสเตรเลียนมองเป็นเรื่องปกตินั่นก็คือ ไฟไหม้ป่าที่เกิดขึ้นทุกปี
แต่ดูแล้ว ข้ามมา 2020 น่าจะเป็นความรุนแรงที่ร้ายแรงกว่าทุกปี อีกทั้งในเรื่องของภาวะโลกร้อน ซึ่งนั้นก็มีส่วนกับเรื่องนี้มากเลยล่ะ และสัตว์ที่ได้รับผลกระทบจากไฟป่านี้โดยตรง เห็นจะเป็นสัตว์เลี้ยงป่าที่อยู่ในแถบนั้น ซึ่งมีการเผยตัวเลยออกมาล่าสุดว่าน่าจะเกิน 500 ล้านตัว
แต่เจ้าจิงโจ้และโคอะล่าที่มีภาพเผยแพร่เป็นไวรัลไปทั่วโซเชี่ยวนั้น ได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้โดยตรง แม้เม็ดเงินที่หน่วยงานที่ช่วยเหลือโคอะล่าได้รับมาตั้งแต่กันยายนปีที่แล้ว ซึ่งมีค่ามากกว่า 60 ล้านบาท เห็นจะไม่พอกับค่ารักษาพยาบาลของโคอะล่า
มีการเปิดเผยถึงข่าวร้ายอีกส่า ไฟป่าดังกล่าวยังไม่ถึงจุดที่เลวร้ายที่สุดด้วยซำ้ ซึ่งไฟป่าที่ร้ายแรงในครั้งนี้ เกิดจากไฟป่าทั้งสามจุด ได้มาบรรจบกันที่รัฐวิกตอเรีย ก่อให้เกิดเปลวไฟขึ้นมากกว่า 37,500 ไร่ และในรัฐข้างเคียงอย่างนิวเซาท์เวลส์ ที่ต้องเผชิญหน้ากับไฟป่าที่เลวร้ายกว่า 165,000 ไร่ และอยู่ในสถานะที่ไม่สามารถควบคุมได้แล้ว
เมื่อบ่ายของวันเสาร์ที่ 4 ที่ผ่านมา ชานเมืองตะวันตกของซิดนีย์ เผชิญหน้ากับอุณหภูมิที่สูงถึง 49 เซลเซียส ยอดผู้เสียชีวิตในขณะนั้นอยู่ที่ 23 คน ในขณะที่บ้านเรือนได้รับความเสียหายไม่ตำ่กว่า 1500 หลัง
และในขณะนี้มีเจ้าหน้าที่ที่ลงพื้นที่กว่า 3000 คน พร้อมอากาศยานบรรเทาสาธารณภัยอีก 4 ลำ และมีหน่วยงานของกองทัพเรือที่อยู่ตามชายฝั่งคอยช่วยเหลือประชาชนในการอพยพ
นี้คือสองพื้นที่ของโลกที่กำลังเผชิญหน้าเข้ากับไฟ ฝั่งหนึ่งของโลกที่กำลังเดือดในเรื่องของความขัดแย้ง อีกฝั่งหนึ่งของโลกกำลังได้รับความเดือดร้อนในวันที่พวกเขาได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติธรรมชาติ นี้คือสถานการณ์ที่โลกเรากำลังพบเจอ ซึ่งทุกคนก็ได้แต่ภาวนาให้กลับมาอยู่ในสภาวะปกติในเร็ววัน
สำหรับชาวออสเตรเลียนที่กำลังประสบกับความเดือดร้อนในวันนี้อยู่ Swivel ขอให้กำลังใจผ่านช่องทางนี้ไปยังชาวออสเตรเลียนทุกท่านครับ PrayforAustralia
ชื่นชอบ บล็อกของ Swivel อย่าลืมกดแชร์ กดติดตามและกดไลค์กันเยอะๆนะครับ ที่สำคัญ ติชม และให้กำลังใจผ่านคอมเมนท์ข้างล่างนี้ได้เลย
สำคัญไปกว่านั้น ทุกคนสามารถรับคอนเทนท์ดีๆ บวกกับความบันเทิงอย่างมีสาระผ่านช่องทางนี้เลย http://nav.cx/2z8bFq6
"Infinite Development Drive By Swivel" "Everything Are Swiveling"
โฆษณา