7 ม.ค. 2020 เวลา 14:27 • ไลฟ์สไตล์
คอลัมน์ ชีวิตพลัดถิ่น (8)
Eastern Seaboard โครงการพัฒนาพื้นที่ทะเลตะวันออก
ต่อจากตอนที่แล้ว ภาพคลื่นรถยนต์จากภาคอีสาน ทะยานข้ามมา ในช่วงเทศกาลสู่ทะเลตะวันออก จำนวนมาก เพราะที่นี่ ตอบโจทย์เรื่องเศรษฐกิจและรายได้ครับ
ปี 2525 ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 5 พลเอกเปรม ติลสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้คิดโครงการ Eastern Seaboard ขึ้น มีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนจากอุตสาหกรรมเบา เป็นอุตสาหกรรมหนัก และอุตสากรรมเชิงพานิชย์ นั่นคือ จุดเริ่มต้น ของการเกิด นิคมอุตสาหกรรมที่นี่ เพราะแถบนี้ ติดกรุงเทพฯ ติดอ่าวไทย ติดภาคอีสาน ซึ่งมีวัตถุดิบและ แรงงาน จำนวนมาก
จราจรในระยอง
ข้อมูลจาก เพจ ลงทุนแมน ระบุว่า นิคมอุตสาหกรรม 32 แห่ง จาก 56 แห่งทั้งประเทศ อยู่ที่ทะเลตะวันออก จำแนกเป็น ที่ จังหวัดระยอง 12 แห่ง ชลบุรี 15 แห่ง ฉะเชิงเทรา 5 แห่ง มีโรงงานในแถบนี้ ทั้งสิ้น 10175 แห่ง มีแรงงาน 593690 คน มูลค่าการลงทุน 2.5 ล้าน ๆ บาท
นี่ล่ะ คือเหตุผล สำคัญ ของการ ที่คนบ้านเรา ต่างออกมา หางานทำ มีงานมีอาชีพ มีรายได้ มีรถมีบ้าน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
Cr ลงทุนแมน
ในความที่มีรายรับ แน่นอนว่า มันย่อมมาคู่กับรายจ่าย มีได้ย่อมมีเสีย ซึ่งเป็นสัจธรรมชีวิต สิ่งที่ได้มาก็ต้องแลกด้วย ปัญหา นานัปการ ที่มีจากการพัฒนา เช่น มลพิษทางอากาศ รถติด ความแออัดของเมือง คนย้ายถิ่นเข้ามาเยอะขึ้น ปัญหาอาชญากรรม เป็นต้น
แน่นอนว่า สิ่งเหล่านี้ คือ สิ่งที่เราต้องอยู่กับมันให้ได้
ในฐานะ แอดมิน คือคนหนึ่ง ที่เป็นคนพลัดถิ่น คนที่ต้องประสบพบเจอ กับภาวะ ที่กล่าวถึง เบื้องต้น ต้องต่อสู้ กับสิ่งที่เป็นอยู่ด้วยความสุข ด้วยความเข้าใจ
และขอบันทึกหน้าประวัติศาสตร์ นี้ไว้ ให้ได้ ระลึกถึง เมื่อก้าวข้าม กาลเวลา ไป
ลงทุนแมน
Cr : ลงทุนแมน
โฆษณา