8 ม.ค. 2020 เวลา 14:14 • ความคิดเห็น
สงคราม กับ การล้างหนี้ .....
สัมพันธ์กันอย่างไร ?
ถามกันเข้ามาพอสมควรเหมือนกันในประเด็นนี้
คือ ยอมรับว่าไม่ค่อยอยากพูดถึงเลย เพราะเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อน (และในภาวะช่วงนี้ด้วย)
แต่จะไม่ตอบเรื่องนี้เลยก็กะไรอยู่ ก็เอาเป็นพบกันครึ่งทางละกัน
โพสนี้เคทจะไม่พูดถึงเกี่ยวกับสงครามที่เกิดขึ้น ณ ตอนนี้ละกัน (อเมริกา × อิหร่าน )
แต่.....จะขออธิบายเกี่ยวกับ money game ที่เกิดขึ้นในภาวะปกติทั่วๆไป แล้วให้ทุกท่านนำข้อมูลไปเชื่อมโยงกันเอาเองนะคะ
ในตลาดทุน ตลาดหุ้น ตลาดการค้า โดยหลักการแล้ว มันก็ไม่ต่างจาก สนามรบ มีการทำสงคราม (War) ห่ำหั่นกันเสมอ
สมการ = ตลาดทุน ตลาดหุ้น = War
ถ้าเราย่อสเกล สงครามระดับโลก ให้เล็กลงมาในระดับประเทศ
เราจะเห็นกลไกการเงินทั้งหมดในประเทศนี้ไหลเวียนอยู่ในตลาดหุ้น เส้นทางการเงินของทุกคนในประเทศนี้ ผ่านธนาคารแห่งประเทศไทย และตลาดหุ้น
แม้คุณจะไม่เล่นหุ้น ก็ตาม แต่เงินที่คุณจับจ่ายที่คุณถือ ก็ล้วนมาจากที่นี่
ธปท = คือผู้ปั้มตังค์ ตาม demand ที่ถูกสร้างขึ้น
บมจ = คือผู้ออกโปรดักส์
ปชช = ผู้บริโภค
ในตลาดหุ้น เราจะเห็นบริษัทมหาชนขนาดใหญ่หลายบริษัท ที่เป็น หนี้ เกินทุนจดทะเบียนมหาศาล !!
พอเราลองคำนวณดูแล้วก็พบว่ากว่าจะใช้หนี้หมด คงใช้เวลาหลายชั่วอายุคน
ถ้าเป็นบริษัทเล็กๆ แน่นอน เดาว่าไม่เกินปีต้องปิดกิจการ เจ๊งแน่ๆ
แต่....กับบริษัทยักษ์ใหญ่เรื่องเจ๊งหมดสิทธิ์ค่ะ ยากมาก โอกาสแทบเป็น 0%
จริงอยู่ที่การอ้างถึงศักยภาพของการชำระหนี้ในอนาคต ดูเป็นสิ่งที่ทำให้ไปต่อได้
แต่ถ้ามองในเชิงธุรกิจ การบัญชี มันไม่มีอนาคตค่ะ !!
คำถามสำคัญคือ แล้วทำไมเขาถึงไปต่อได้หล่ะ ???
เริ่มที่.....ธนาคารไหน ปล่อยกู้หล่ะ การปล่อยกู้ถูกนโยบายไหม มีการใช้เงื่อนไขพิเศษ ตลอดจนแก้กฏหมายเฉพาะหรือไม่
ตลาดหลักทรัพย์ปล่อยผ่านให้ระดมทุนต่อไหม ?
และถามต่อว่า ผู้ถือหุ้น คือ ใคร !!!
การคีพการรักษาไม่ให้บริษัทล้ม บางครั้งก็เป็นอิทธิพลของเจ้าหนี้เองด้วยซ้ำไป เพราะเขาก็ยังอยากได้เงินคืน ซึ่งแน่นอนว่าการทำแบบนั้นเจ้าหนี้ต้องใหญ่ มีอิทธิพลพอตัวค่ะ หรือไม่ก็กลัวโดมิโน่เอฟเฟคที่จะตามมาเลยต้องพยายามช่วยกันคีพไว้
พอเราเริ่มตั้งคำถามเหล่านี้ เราจะเริ่มเห็นกระบวนการ เส้นทาง กลไกต่างๆของระบบผลประโยชน์ที่เกื้อหนุนกันอยู่อย่างมีนัยยะ
ทีนี้ต่อกันเรื่องการได้มาซึ่งผลประโยชน์ กำไร ผลตอบแทน ( หรือสิ่งที่นำไปสู่การลดหนี้ ล้างหนี้ )
ผลตอบแทนตรงนี้ มันไม่ใช่ได้กันโดยตรงซะทีเดียวเสมอไป มันมีแบบได้ผลปนะโยชน์ทางอ้อมด้วย
ถ้าเราสังเกตุดีๆ สิ่งที่น่าตลกก็คือ
บริษัทที่ดูไร้อนาคตเหล่านั้น กลับยังมีการซื้อขายกันอยู่ และมีวอลุ่มที่เพิ่มมากขึ้น ตามสตอรี่ ตามข่าว
คำถามคือ ใครกำลังซื้ออยู่ และใครกำลังขาย ใครคือคนที่ได้กำไร ส่วนต่างจากเรื่องนี้
ทั้งหมดคุณคิดว่าเรื่องพวกนี้บังเอิญหรอคะ
ไม่บังเอิญหรอกค่ะ เช่นเดียวกันกับ บริษัทที่ผลิตอาวุธในยุคที่โลกบอกว่าเราเลิกทำสงครามโดยมียอดขายปีละสิบล้านล้าน เช่นเดียวกับ นวัตรกรรมพลังงานบริสุทธิ์ที่ลงทุนครั้งเดียวใช้ได้ตลอดชีพที่ไม่มีใครยอมสร้าง เพราะมันไม่เกิดการใช้จ่ายหรือซื้อซ้ำนั่นหล่ะค่ะ
ทีนี้พอเราเปลี่ยนสเกลให้ใหญ่ขึ้นเป็นระดับโลก เราก็จะเห็นภาพชัดขึ้น อย่างวิกฤตการเงินที่เคยเกิดขึ้นทั่วโลก หรือ ภาพสงครามการค้าล่าสุด
ตอนวิกฤตเบอร์เกอร์ มีหนี้เสียอยู่ในระบบ(กระจุกในบริษัทใหญ่) กว่า 2ล้านล้านดอลล่าห์สหรัฐ แล้วอยู่ๆหนี้เหล่านั้นก็ถูกถ่ายโอนให้ประชาชน และโลก แล้วทุกอย่างก็รีเซตใหม่ คุณคิดว่าปริมาณเงินกว่า 2ล้านล้านดอลล่าห์มันมากขนาดไหน และทำไมมันกระจายไปได้ง่ายขนาดนั้นอ่ะ
อย่างที่กล่าวไปข้างต้น มันมีรายละเอียดที่ซับซ้อน และเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ
ใครเป็นหนี้ ใครคือเจ้าหนี้ใคร ใครหนุนใคร ใครขายอะไร คู่แข่งขายอะไร
มันมีผลกระทบเอฟเฟคถึงกันหมดค่ะ
มันเป็นเรื่องง่ายๆแบบนี้แหล่ะค่ะ
เหมือนที่เคยเป็นเสมอมาและจะเป็นตลอดไป
มิ้วติ้วเลยนะ
โฆษณา