11 ม.ค. 2020 เวลา 04:25 • การศึกษา
คนยิวนี่มีโง่ ๆ บ้างไหม ทำไมพวกเขามีแต่คนฉลาด
ถ้าถามว่ามีโง่ ๆ บ้างไหม คำตอบคือก็คงมีบ้างแหละ แต่ถ้าถามว่าทำไมพวกเขาจึงมีแต่คนฉลาด... ก่อนจะตอบคำถามนี้ลองไปดูกันก่อนไหมว่าช่วงอายุ 13 เด็กเชื้อสายยิวที่ประสบความสำเร็จเขาทำอะไรกัน
มาร์ค ซักเคอร์เบอร์ก ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊กหัดเขียนคอมพิวเตอร์กับพ่อที่เป็นทันตแพทย์ตั้งแต่เรียนชั้นประถม เมื่อเห็นว่าเขามีความสนใจด้านนี้อย่างจริงจังพ่อจึงจ้างนักพัฒนาซอฟต์แวร์ชื่อ เดวิด นิวแมน มาสอนให้เป็นการส่วนตัว
นอกจากนี้เขายังเป็นนักเรียนดีเด่นด้านคณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ และฟิสิกส์ อีกทั้งยังสนใจด้านศิลปะคลาสสิก อ่านได้หลายภาษา ทั้งฝรั่งเศส ภาษาโบราณอย่างฮิบรู ละติน และกรีก เรื่องกีฬาก็ไม่ด้อยไปกว่ากันสมัยเรียนเขาได้เป็นกัปตันทีมฟันดาบอีกด้วย
เซอร์เกย์ บริน ผู้ร่วมก่อตั้งกูเกิ้ลก็เป็นคนเชื้อสายยิวที่อพยพมาจากรัสเซีย มีพ่อเป็นนักคณิตศาสตร์ เขาหัดเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตั้งแต่อายุ 9 ขวบจากคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่พ่อของเขาซื้อให้เป็นของขวัญวันเกิด และพ่อยังเป็นคนที่ทำให้เขาหลงใหลในวิชาคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์อีกด้วย
ลาร์รี่ เพจ ผู้ร่วมก่อตั้งกูเกิ้ลอีกคนก็เป็นคนอเมริกันเชื้อสายยิวที่มีพ่อเป็นศาสตราจารย์สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกน ส่วนแม่ก็เป็นอาจารย์สอนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มหาวิทยาลัยมิชิแกนเช่นเดียวกัน และแน่นอนว่าลาร์รี่ เพจ หัดเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากพ่อและแม่ตั้งแต่อายุ 6 ขวบ
เดวิด แพคการ์ด ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทฮิวเลตต์ แพคการ์ด บริษัทผลิตคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อเสียงวัยเด็กของเขาก็ยุ่งอยู่กับการอ่านหนังสือเอ็นไซโครบีเดียที่พ่อของเขาซื้อให้และหมกมุ่นกับการสร้างการทดลองทางวิทยาศาสตร์จากข้อมูลพื้นฐานในหนังสือ
ด้วยความที่บ้านอยู่ไม่ไกลจากที่ทิ้งขยะของโรงงานผลิตระเบิดเขาจึงไปเก็บดินระเบิดมาทำการทดลอง โชคร้ายที่การทดลองผิดพลาดหลอดทดลองโลหะที่บรรจุดินระเบิดของเขาเกิดระเบิดขึ้นขณะที่เขาใช้ค้อนทุบเพื่อให้มันเปิดออก จึงทำให้เขาต้องเสียนิ้วโป้งซ้ายไปตลอดชีวิต
1
ส่วนบิล เกตส์ ผู้ก่อตั้งไมโครซอฟต์ที่ร่ำรวยติดอันดับเศรษฐีอยู่จนปัจจุบันก็เป็นเด็กที่ขลุกอยู่กับกองหนังสือ
และอ่านหนังสือจิตวิทยาของ ซิกมันด์ ฟรอยด์ จบตั้งแต่อายุสิบกว่าขวบจากการที่แม่ของเขาพาไปปรึกษาจิตแพทย์เพื่อรักษาอาการสมาธิสั้น
1
แต่หมอแนะนำให้เขาอ่านหนังสือเล่มนี้ เมื่ออ่านจบและคุยกับหมอหลายครั้งในที่สุดหมอก็สรุปว่าเขาไม่มีปัญหาอะไรและแนะนำแม่ว่าอย่าไปยุ่งกับเขาในขณะที่เขากำลังมีสมาธิ
ที่สำคัญคือเขาหัดเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตั้งแต่อายุ 13 ด้วยการอ่านเองจากคู่มือ
1
จากข้อมูลเหล่านี้จะเห็นว่าครอบครัวมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาเด็ก เด็กชาวยิวทุกคนถูกปลูกฝังให้รักการอ่าน
จากอัตชีวประวัติของแอนดรูว์ คาร์เนกี้ ต้นแบบเศรษฐีชาวอีกยิวคนหนึ่ง เขียนเล่าเรื่องเกี่ยวกับตัวของเขาเองว่า
ในวัยเด็กพ่อแม่ไม่เคยบังคับให้เขาเข้าโรงเรียน แต่จะเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ให้เขาฟังจนทำให้เขาสนใจอยากอ่านหนังสือด้วยตัวเอง และเริ่มเข้าโรงเรียนครั้งแรกเมื่ออายุ 9 ขวบ
1
แต่โชคร้ายที่ครอบครัวมีปัญหาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม อาชีพทอผ้าของครอบครัวถูกโรงงานทอผ้าเข้ามาแทน ทำให้ต้องทิ้งถิ่นฐานจากสก็อตแลนด์ไปหาทางเลือกใหม่ในอเมริกาตั้งแต่อายุ 13 และเขาก็ไม่เคยเข้าโรงเรียนอีกเลย
ด้วยนิสัยรักการเรียนรู้และลงมือทำของเขาทำให้เขาประสบความสำเร็จกลายเป็นเจ้าของบริษัทเหล็กกล้า อีกทั้งยังกลายเป็นคนยิวที่ร่ำรวยติดอันดับเศรษฐีอเมริกันอีกคน
สำหรับประเทศไทย ทุกครอบครัวก็ให้ความสำคัญกับการศึกษาเช่นกัน แต่กลับส่งเด็กเข้าระบบโรงเรียนตั้งแต่ 3 ขวบ
เด็กจะอยู่ในโรงเรียนตั้งแต่ 7 โมงเช้าจนกระทั่ง 4 โมงเย็น เด็กบางคนอาจต้องอยู่ต่อถึง 5-6 โมงเย็น เป็นแบบนี้ตั้งแต่อายุ 3 ขวบจนอายุ 18 ปีกว่าจะจบชั้นม.ปลาย
หลังจากนั้นก็ต้องเรียนในระบบมหาวิทยาลัยอีก 4-5 ปี แต่หลังจากจบออกมากลับพบว่าเด็กส่วนใหญ่ทำอะไรไม่เป็นและไม่มีประสบการณ์ในการทำงานเพียงพอ
น่าคิดว่าระบบการศึกษาของเราทำอะไรกับเด็ก ถึงเวลาหรือยังที่ครอบครัวควรหันมาให้ความสำคัญกับการศึกษาด้วยการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านการเรียนรู้ให้กับเด็กตั้งแต่ยังเล็ก เช่นเดียวกับครอบครัวชาวยิวทั้งหลายที่ประสบความสำเร็จ และระบบการศึกษาของเราควรคืนเวลาให้กับเด็กเพื่อให้เขามีประสบการณ์ชีวิตมากขึ้นไหม
1
อย่างที่คุณ ธนินท์ เจียรวนนท์ กล่าวไว้ในเวทีการประชุมเพื่อการศึกษาโลกปี 2019 ที่กรุงปารีสว่า...การลงมือทำคือการเรียนรู้ที่ดีที่สุดและระบบการศึกษาควรคืนเวลาให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
1
อยากให้ลูก ๆ ฉลาดเหมือนชาวยิว ทำง่าย ๆ โดยปลูกฝังให้เขามีนิสัยรักการอ่าน และเรียนรู้จากการลงมือทำ
1
เรื่องเล่าโดย...pordee
ถ้าชอบบทความหรือเห็นว่ามีประโยชน์
ฝากกดไลค์❤️ กดเแชร์💞 กดติดตาม📌
เป็นกำลังใจให้แอดมินด้วยนะคะ
โฆษณา