16 ก.พ. 2020 เวลา 15:22 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ข่าววันนี้คงไม่มีอะไรเป็นที่ฮือฮาเกินข่าวการประมูลสัญญาณเครือข่าย 5G วันนี้
ตั้งแต่เราทราบถึงคุณสมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและการนำมันมาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการกระจายเสียงผ่านระบบวิทยุ การตรวจจับวัตถุในอาณาบริเวณ ไปจนถึงการส่งข้อมูลต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายวิทยุ เราทำให้โลกไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป จากดาวเคราะห์ที่เงียบสงบกลายสภาพเป็นดาวเคราะห์ที่ส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกนอกอวกาศอย่างมากมายและบ้าคลั่ง
ซึ่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านั้นไม่ใช่คลื่นเสียงอย่างที่เราทราบกัน ถึงแม้ว่าเป็นคลื่นเหมือนกัน แต่คุณสมบัติต่างกัน เพราะคลื่นเสียงนั้นจัดว่าเป็นคลื่นกลที่ต้องอาศัยตัวกลางในการส่งคลื่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านั้นเป็นคลื่นเกิดจากการนำผ่านกันระหว่างแม่เหล็กกับไฟฟ้า ดังนั้นเราก็ไม่จำเป็นต้องกังวลว่าค้างคาวจะมาแอบฟังเสียงที่พวกเราคุยโทรศัพท์กันผ่านสัญญาณโทรศัพท์
ซึ่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถแบ่งออกเป็นประเภทคลื่นต่าง ๆ แต่ละประเภทตามความยาวของคลื่น ซึ่งแต่ละคลื่นก็มีสมบัติที่แตกต่างกันออกไปยิบย่อย โดยสมบัติที่เป็นพื้นฐานของคลื่นเหล่านี้นั้นก็คือ หากความถี่ต่ำ (ความยาวคลื่นมาก) คลื่นพวกนี้จะสูญเสียพลังงานไประหว่างการเคลื่อนที่น้อย ทำให้มันสามารถเคลื่อนที่ออกไปได้ไกล แต่เมื่อเรานำมาใช้งานในการส่งข้อมูล คลื่นพวกนี้จะส่งข้อมูลได้น้อยเนื่องจากความยาวคลื่นที่มาก
ส่วนคลื่นที่มีความถี่สูง (ความยาวคลื่นต่ำ) คลื่นพวกนี้จะสามารถส่งออกไปได้ในระยะที่สั้น ๆ เท่านั้น หากมีอะไรที่รบกวนหรือขวางกั้นก็จะไม่สามารถทะลุผ่านไปได้ดีเหมือนคลื่นความถี่ต่ำ แต่มันสามารถส่งข้อมูลได้ในปริมาณที่มากกว่าคลื่นที่ความถี่ต่ำเนื่องจากระยะห่างระหว่างลูกคลื่นนั้นมีน้อยกว่าในช่วงเวลาที่เท่ากันคลื่นความถี่สูงจึงสามารถส่งข้อมูลได้มากกว่าคลื่นความถี่ต่ำ
ที่มา Tech.thaivisa.com
ซึ่งสัญญาณ 5G ที่กำลังจะมาถึงนี้ คลื่นความถี่ของ 5G นั้นแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือช่วงความถี่ต่ำ ช่วงความถี่กลาง และช่วงความถี่สูง ซึ่งช่วงความถี่สูงเป็นช่วงคลื่นความถี่ที่สเใหม่และกำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก นั้นคือคลื่น 26, 28, 38, และ 60 GHz ซึ่งด้วยความถี่ของคลื่นที่สูงระดับนี้ย่อมทำให้ความสามารถในการส่งข้อมูลนั้นสูงขึ้นเป็นอย่างมาก สามารถส่งข้อมูลในช่วงความถี่สูงได้เร็วมากกว่าสัญญาณในระบบ 4G เดิม ถึง 10 เท่า! ซึ่งจะนับได้ว่าเป็นก้าวสำคัญก้าวใหม่ของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของโลก
โดยผู้เข้ารวมประมูลทั้งหมด 5 รายประกอบไปด้วย
บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (Truemove H)
บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (TOT)
บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด (dtac)
บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (CAT Telecom)
บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN หรือ AIS)
คลื่น 700 เมกะเฮิร์ตซ์ มี 3 รายที่เข้าประมูล คือ กลุ่มเอไอเอส, ทรู มูฟ เอช และ แคท มีจำนวน 3 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 5 เมกะเฮิร์ตซ์ ราคาเริ่มต้น 8,792 ล้านบาท เสนอราคารอบละ 440 ล้านบาท
ทั้งนี้ มีการเสนอราคาทั้งหมด 20 รอบ จบที่ราคา 17,153 ล้านบาท ใช้เวลากว่า 3 ชั่วโมง มีผู้ชนะการประมูล 2 ราย ได้แก่ แคท ชนะ 2 ใบอนุญาต เอไอเอส 1 ใบอนุญาต รวมราคา 51,460 ล้านบาท
คลื่น 2,600 เมกะเฮิร์ตซ์ มี 3 รายเดิมที่เข้าประมูล มีจำนวน 19 ใบอนุญาต ใช้เวลาประมาณ 30 นาที เคาะเสนอราคาเพียง 2 รอบ จบที่ราคา 1,956 ล้านบาท มีผู้ชนะการประมูล 2 รายได้แก่ เอไอเอส ชนะ 10 ใบอนุญาต และ ทรู มูฟ เอช 9 ใบอนุญาต รวมได้ราคา 37,433 ล้านบาท โดยผู้ชนะการประมูลจะต้องขยายโครงข่ายให้ครอบคลุมร้อยละ 50 ในพื้นที่โครงการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ภายใน 1 ปี และครอบคลุมร้อยละ 50 ของประชากรในสมาร์ท ซิตี้ ภายใน 4 ปี
คลื่น 26 กิกะเฮิร์ตซ์ มีผู้เข้าร่วมการประมูล 4 ราย ได้แก่ เอไอเอส, ทรู มูฟ เอช, ดีแทค ไตรเน็ต และ ทีโอที ใช้เวลาในการประมูลเพียง 10 นาที เคาะราคา 1 ครั้ง ประมูล 26 ใบอนุญาตจาก 27 ใบอนุญาต เอไอเอส ชนะการประมูล 12 ใบอนุญาต ทรู มูฟ เอช ชนะการประมูล 8 ใบอนุญาต ดีแทค ไตรเน็ต ชนะการประมูล 2 ใบอนุญาต และ ทีโอที ชนะการประมูล 4 ใบอนุญาต รวมราคาที่ 11,627 ล้านบาท
นั่นหมายความว่ารัฐกวาดรายได้ไปถึง 11,627 ล้านบาทเลยทีเดียว มีความเป็นไปได้ว่าในปีนี้เราจะได้เห็นการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจในทางที่ดีอย่างชัดเจนขึ้น
โฆษณา