จรวดไม่ใช่แค่แท่งยาว ๆ ที่ด้านในบรรจุเชื้อเพลิง แต่มีอะไรที่ซับซ้อนกว่านั้น บทความนี้เล่าเรื่อง "จรวดไฮบริด" ระบบที่วิศวกรจรวด (ส่วนมาก) ไม่ให้การยอมรับ
ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าช่วงกลางปี 2022 ดวงตาดวงใหม่ของมนุษยชาติที่มีชื่อว่าเจมส์เว็บบ์ (James Webb) จะเริ่มจ้องมองไปยังสถานที่ห่างไกลออกไปหลายหมื่นล้านปีแสงเพื่อไขปริศนาของเอกภพ เราจะได้เห็นภาพถ่ายของกาแล็กซี่ยุคดึกดำบรรพ์อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน หรือแม้แต่ภาพของดาวฤกษ์สีน้ำเงินขนาดยักษ์ดวงแรก ๆ ที่ได้มอบแสงสว่างและความอบอุ่นแก่จักรวาล แต่เรื่องที่น่าตื่นตาตื่นใจจริง ๆ ของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เว็บบ์ อาจกลับเป็นการทอดสายตาไปยังระบบดาวเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เรามากที่สุดเสียมากกว่า ซึ่งก็คือดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบดาวอัลฟ่าเซนทอรี่ (Alpha Centauri) ที่อยู่ห่างจากระบบสุริยะของเราไปเพียง 4.2 ปีแสงเท่านั้น ดาวเคราะห์ดวงนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า พร็อกซิม่า เซนทอรี่ บี (Proxima Centauri b) ดินแดนแห่งนี้ได้หลบซ่อนอยู่ภายใต้แสงสีแดงสลัวของดาวฤกษ์แคระแดงขนาดเล็กที่ชื่อว่า พร็อกซิม่า เซนทอรี่ (Proxima Centauri) มาเป็นเวลายาวนานหลายพันล้านปี ก่อนที่องค์กรหอดูดาวยุโรปใต้ได้ยืนยันการค้นพบดินแดนแห่งนี้อย่างเป็นทางการเมื่อปี 2016 โดยใช้การตรวจจับด้วยวิธี Radial Velocity ทำให้นักดาราศาสตร์สามารถระบุได้อย่างแม่นยำว่าตัวดาวอยู่ห่างจากดาวฤกษ์ของมันในระยะพอเหมาะที่น้ำจะคงสภาวะเป็นของเหลวได้ จึงมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะมีสิ่งมีชีวิตถือกำเนิดขึ้นมา
หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมกระจกของกล้องโทรทรรศน์อวกาศ James Webb Space Telescope ถึงต้องเป็นหกเหลี่ยม เกี่ยวหรือเหมือนอะไรกับกระจก HÖNEFOSS เฮอเนฟอส ที่วางขายอยู่ใน Ikea หรือเปล่า แล้วทำไมกระจกต้องเป็นสีทอง ทำไมหน้าตาการออกแบบกล้อง James Webb ถึงได้ดูแตกต่างจากกล้อง Hubble ในบทความนี้เราจะมาเจาะลึกถึงเบื้องหลังการออกแบบและวิศวกรรมของการออกแบบกล้องโทรทรรศน์อวกาศที่ราคาแพงที่สุดในโลกตัวนี้กัน