29 ม.ค. เวลา 01:25 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

ESA อนุมัติโครงการ LISA โครงการวัดคลื่นความโน้มถ่วงในอวกาศ

การตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วง (Gravitational Wave) กลายเป็นวิธีการใหม่ที่มนุษย์ ใช้ในการศึกษาปรากฎการณ์ทางดาราศาสตร์ ที่สร้างแรงกระเพื่อมในระดับกาลอวกาศ
โดยเทคนิคที่ถูกนำมาใช้ในการวัดคลื่นความโน้มถ่วง เราเรียกว่า Interferometry ซึ่งเป็นการใช้คุณสมบัติของคลื่นแสงในเรื่องการแทรกสอดของคลื่น (interference) มาบอกว่า กาลอวกาศนั้นถูกรบกวนโดยปรากฎการณ์อะไรบางอย่าง
หลักการของมันคือการยิงแสงเลเซอร์ไปสะท้อนกับกระจก ที่ระยะสม่ำเสมอเป๊ะ ๆ ห้ามขยับเขยื้อน และหากพฤติกรรมของแสงนั้นแปลกไป แปลว่ามีอะไรบางอย่างมารบกวน
ในปี 2016 โครงการ LIGO ได้ประสบความสำเร็จในการวัดคลื่นความโน้มถ่วงครั้งแรก ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่โครงการ LISA ได้ปล่อยยานอวกาศ LISA-Pathfinder ขึ้นไปทดสอบการปล่อยให้ตัวตรวจจับเลเซอร์อยู่ในอวกาศในลักษณะ near-perfect gravitational free-fall ซึ่งการทดสอบก็ผ่านไปได้ด้วยดี
ผลของ LISA Pathfinder ดีกว่าที่คาดเอาไว้ถึง 5 เท่า Sub-Femto-g Free Fall for Space-Based Gravitational Wave Observatories: LISA Pathfinder Results https://journals.aps.org/prl/abstract/10.1103/PhysRevLett.116.231101
การวัดความโน้มถ่วงในอวกาศนั้น จะมีความ sensitive มากกว่าบนโลก เพราะไม่ได้รับการบกวนจากปัจจัยอื่น ๆ ที่เราไม่ได้อยากรู้ (noise) เช่น รถวิ่งผ่านท่อ แมวขึ้นไปเดินบนท่อ เหมือนกับโครงการ LIGO
ดังนั้นหลังจากการทดสอบ LISA-Pathfinder สำเร็จในปี 2016 แล้ว โครงการ LISA ก็เดินหน้าต่อด้วยการสร้างยานอวกาศ 3 ลำ โดยอาศัยสภาวะ gravitational free-fall และวางยานทั้งสามให้ห่างกันที่ระยะ 2.5 ล้านกิโลเมตร และยิงเลเซอร์หากัน ซึ่งทำให้ LISA จะกลายเป็น Interferometer ที่ยาวที่สุดที่เรามี
โดยยาน LISA ทั้ง 3 นั้น จะถูกปล่อยในประมาณปี 2035
โครงการ LISA นั้น มีลักษณะเป็น Consortium คล้าย ๆ กับ CERN ไม่ได้เป็นของหน่วยงานอวกาศใดอวกาศหนึ่ง ทำให้ชาติต่าง ๆ หรือกลุ่มวิจัยต่าง ๆ สามารถเข้าไปร่วมช่วยเหลือได้ด้วยเช่นกัน
ESA ผ่านสองโครงการ EnVision และ LISA ปล่อยปี 2031 และ 2035 - https://spaceth.co/esa-approve-envision-and-lisa
อีกหนึ่งโครงการลักษณะเดียวกันนี้ ก็มาจากฝั่งจีน คือโครงการ TianQin หรือพิณแห่งสวรรค์ ที่เป็นการสร้าง Interferometer ในอวกาศ
เทียนฉิน ของจีนกับ LISA ของยุโรป ใครจะจับคลื่นความโน้มถ่วงในอวกาศได้ก่อนกัน - https://spaceth.co/lisa-and-tian-qin/
โฆษณา