23 ก.พ. 2020 เวลา 05:17 • ประวัติศาสตร์
•🙏❤️ฉลองผู้ติดตามครบ 1K ❤️🙏•
’เจาะเวลาหาอดีต’ พาเจาะเวลาย้อนดู ’กรุงเทพมหานคร’ในอดีตและกลุ่มชาติพันธุ์ ก่อนที่จะตั้งเป็นราชธานี
ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณผู้ติดตามทุกท่าน ที่ทำให้ ‘เจาะเวลาหาอดีต’ มีผู้ติดตามจนครบ 1K คน ‘เจาะเวลาหาอดีตจะตั้งใจหาข้อมูลและนำเสนอบทความที่เป็นประโยชน์ให้ท่านผู้อ่าน สนุก สนาน พร้อมความรู้ เหมือนได้ย้อนเวลาไปกับ ‘เจาะเวลาหาอดีต’ อีกครั้ง
🙏❤️ขอบพระคุณครับ❤️🙏
“วิเคราะห์ตามพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี”
ลักษณะของกรุงธนบุรีในอดีตนั้นสะท้อนให้เห็นว่าเมืองแห่งนี้เคยมีผู้อาศัยมานานแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายเป็นอย่างน้อย
ในลักษณะของหมู่บ้านขนาดเล็ก ที่ตั้งอยู่เรียงรายตามลำน้ำ ซึ่งต่อมาได้ถูกดัดแปลงให้เป็นฐานบัญชาการพร้อมกับผู้คนที่รวบรวมได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานหลังจากเหตุการณ์กู้ชาติของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
หากย้อนไปในยุคกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีได้ระบุไว้ว่า ‘บางกอก’ เป็นเมืองท่าไว้เก็บภาษีอากรจากเรือที่มาจากต่างบ้านต่างเมือง ในยุคสมัยสมเด็จพระนารายณ์มีการสร้างป้อมขนาบน้ำ(ป้อมวิไชยประสิทธิ์) เพื่อเป็นฐานทัพในการป้องกันราชธานี
กรุงเทพมหานครจึงมีร่องรอยโบราณสถานของยุคกรุงศรีอยุธยาหลายแห่ง
‘บางกอก’ และ ‘ธนบุรี’ ชื่อเรียกพื้นที่เขตอาณาบริเวณของกรุงเทพมหานครในอดีตเดิมที่มีเพียงป้อมปราการ 2 ฝั่งแม่น้ำและป้อมค่ายขนาดเล็ก จากแผนที่ของชาวตะวันตกที่ทำการเขียนขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย ซึ่งตามแผนที่บันทึกของ ‘ซิมอง เดอ ลาลูแบร์’ ระบุไว้ว่าเมืองธนบุรีเดิมนั้นเป็นเพียงแนวล้อมเล็กๆ ที่ทำขึ้นจากเนินดินและเสาไม้เป็นรูปสี่เหลี่ยวผืนผ้าซึ่งเชื่อมกับป้อมวิไชยประสิทธิ์จากหัวมุมคลองบางกอกใหญ่ต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยา
ป้อมวิไชยประสิทธิ์
ฝั่งตะวันออกบริเวณปากคลองบางกอกใหญ่เดิมเคยมีป้อมปราการรูปดาวขนาดใหญ่ ที่สร้างขึ้นโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศสในสมัยนั้น
(ได้พบรากฐานแฉกดาวของป้อมนี้บางส่วนฝังอยู่ใต้ดิน บริเวณ ‘มิวเซียมสยาม’ ปัจจุบัน)
มีคูน้ำลอดผ่านกลางเมือง
แสดงให้เห็นว่าเมืองบางกอกเดิมทีมีลักษณะเป็นเมือง 2 ฝั่งแม่น้ำมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายแล้ว
เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี ข้อมูลจากพงศาวดารให้รายละเอียดการสร้างแนวกำแพงล้อมเมืองขยายออกไปตามคลองบางกอกใหญ่แล้วขุดคูแยกทะลุขึ้นไปทางทิศเหนือขนานกับแนวแม่น้ำเจ้าพระยา ตัวเมืองธนบุรีจึงเป็นเมือง 2 ฝั่งน้ำ
หรือเรียกกันว่า “เมืองอกแตก”
กลุ่มชนทั้งบางกอกหรือธนบุรีเดิมนั้น บางส่วนน่าจะอพยพมาจากกรุงศรีอยุธยาเดิมเพื่อมาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่กรุงธนบุรี
หากวิเคราะห์ตามพงศาวดารมีการบันทึกว่า เชื้อพระวงศ์ครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาที่ยังมีชีวิตอยู่ได้ถูกเชิญมารักษาไว้ ณ กรุงธนบุรี
แผนที่กรุงธนบุรีของสายลับพม่า
รวมทั้ง สันนิษฐานว่า เหล่าขุนนางรวมทั้งไพร่พลก็ติดตามสมเด็จพระเจ้าตากสินมาด้วยเป็นจำนวนมากเช่นกัน โดยยังมีชาวเหนือจากกลุ่มหัวเมืองต่างๆ ที่เป็นฐานกำลังหลักกลุ่มหนึ่งของสมเด็จพระเจ้าตากสิน ถูกกวาดต้อนลงมาเป็นกำลังหลักให้กับกรุงธนบุรี ซึ่งปรากฏหลักฐาน หมู่บ้านชาว”โยนก” ในแผนที่ของสายลับชาวพม่า
ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ดั้งเดิมที่มีหลักฐานปรากฏตามพงศาวดาร
ชาวจีน
จำนวนประชากรกลุ่มใหญ่ตั้งถิ่นฐานเดิมแถบบริเวณฝั่งตะวันออกของกรุงธนบุรีเรียกว่า ‘บางจีน’ เช่น แต้จิ๋ว ฮกเกี้ยน ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของชนชาวจีนที่สร้างศาลจีนเก่าแก่และกระจายตัวตั้งรกรากแถบริมแม่น้ำเจ้าพระยา
ศาลกวนอูแห่งแรกของไทย บริเวณ คลองสาน สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงธนบุรี
ชาวมอญ
เป็นชุมชนเก่าที่อาศัยมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตั้งรกรากแถบบริเวณ คลองมอญและคลองบางกอกใหญ่ยาวไปจนถึงบางยี่เรือ
ชาวลาว
ตั้งถิ่นฐานแถบวัดบางไส้ไก่และบางยี่ขัน
ชาวญวน
ตั้งถิ่นฐานปะปนกับชาวจีนทางตะวันออกของแม่น้ำแถบบริเวณท่าเตียน มีหลักฐาน คือ วัดทิพวารี(กัมโล่วยี่) เคยเป็นวัดของชาวญวนมาก่อน
ชาวมุสลิม
บริเวณแถบมัสยิดต้นสนและคลองบางกอกใหญ่ เช่น เจริญพาศน์ กุฎีหลวง ซึ่งมาตั้งถิ่นฐานก่อนสมัยกรุงธนบุรี
ชาวตะวันตก
หลักฐานชิ้นสำคัญคือ ‘วัดซางตาครูส’
กลุ่มโปรตุเกสคือ กลุ่มชาวตะวันตกสำคัญในช่วงที่สมเด็จพระเจ้าตากสินกู้ชาติ โดยได้รับที่ดินพระราชทานให้ตั้งศาสนสถานใกล้กับปากคลองบากกอกใหญ่
จะเห็นได้ว่าเมืองบากกอกหรือธนบุรีเดิมแห่งนี้เคยมีผู้คนอาศัยมานานแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายเป็นอย่างน้อย
‘เจาะเวลาหาอดีต’ จึงวิเคราะห์และสรุปให้ท่านผู้อ่านได้ย้อนอดีต
เพื่อทราบถึงข้อมูล’กรุงเทพมหานคร’
ในยุคก่อนเป็นราชธานี เดิมนั้นเป็นอย่างไร
ชอบกดไลค์ ใช่กดแชร์ กดติดตามเพื่อเป็นกำลังใจด้วยครับ 🙏❤️
อ้างอิง: หนังสือพงศาสดารกรุงธนบรี ฉบับพันจันทนุมาศ(เจิม)
หนังสือศิลปะกรุงธนบุรี
บันทึกจาก ซิมอง เดอ ลาลูแบร์
โฆษณา