19 มี.ค. 2020 เวลา 07:26 • ความคิดเห็น
ช่วงที่น้ำมันมีการปรับขึ้นลงแรง (โดยเฉพาะตอนลง) มักมีคำถามว่า
" ภาคการขนส่งและผลิต ราคาจะลดลงตามไหม "
อืมมม ที่รวบรวมมาพอจะตอบได้คร่าวๆนะคะ....
1 ) อย่างแรกเลย คือ เราต้องมาดูบริบทของสภาวะช่วงนั้นกันค่ะ ว่าบริบทตลาดหรือเศรษฐกิจ ณ ขณะนั้นเป็นอย่างไร
เช่น ตอนนี้ธุรกิจขนส่งก็ชะงัก เช่นกันค่ะ มันเลยต้องปรับดีมานด์และซัพพลายให้สอดคล้อง ซึ่งตรงนี้บอกยากมาก ถ้าตามหลักการผู้ผลิตและผู้ขนส่งที่สามารถดำเนินธุรกิจในช่วงนี้จะเป็นที่ต้องการสูงนะคะ
ดังนั้นถ้าว่าตามกลไกราคา " มันจึงควรปรับขึ้น " แบบตอนช่วงน้ำท่วม ที่ค่าขนส่งแพงมากๆ ทีนี้การที่น้ำมันลดราคา มันก็ไปสอดคล้องกับดีมานด์ตรงนี้ ทำให้นอกจากไม่ปรับขึ้นแล้วก็ไม่ลดลงด้วยค่ะ
และสิ่งที่ต้องไม่ลืมคือ ปัจจัยต้นทุนการสต็อกน้ำมันก่อนหน้านี้ที่เป็นต้นทุนเดิมอยู่สูงกว่าตลาดปัจจุบัน แต่การใช้น้ำมันลดลงในสภาวะระบาดแบบนี้ ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้ลดราคาลงยาก
2 ) เรื่องการปรับราคาสินค้า หากปรับตามการขึ้นลงของราคาน้ำมันรายวัน มันจะเป็นอะไรที่วุ่นวายสุดๆค่ะทั้งในแง่การบริหารควบคุมต้นทุน รวมถึงการประเมินต่างๆ
จุดนี้แสดงให้เห็นว่า เราอ้างอิงราคาสินค้าตามราคาน้ำมันขึ้นลงไม่ได้ (ได้แต่ยาก) ต้องมีปัจจัยอื่น ๆ รวมทั้งระยะเวลาเข้ามาแปรผันด้วย
แน่นอนว่า เวลามีการขึ้นราคาสินค้ามักจะอ้างราคาน้ำมันขึ้นอยู่บ่อยครั้ง ค่าขนส่งแพง ค่าต้นทุนการผลิตที่มีเครื่องจักรดีเซล
แต่ถ้าพิจารณาดีๆ ช่วงกรอบเวลาที่ปรับขึ้นมันก็มีระยะเวลาอยู่เช่นกันในช่วงที่แบกต้นทุน
ตัวอย่างนะคะ
โอเคแน่นอนว่า " ราคาน้ำมัน " คือ ส่วนประกอบกลไกในระบบขนส่งจริง แต่...ถ้าคิดจะขึ้นพรึ่บ สิ่งที่ตามมาคือประชาชนเดือดร้อน
ในขณะเดียวกันถ้าไม่ปรับขึ้นบ้างผู้ประกอบการก็อยู่ไม่ได้เพราะมีรายจ่าย มันเป็นซัพพลายเชนที่ถึงกันหมด
และที่สำคัญ น้ำมัน เวลาปรับขึ้นมันปรับเป็น เปอร์เซนต์ค่ะ !!
ทีนี้คุณลองเล่นๆดูค่ะ กรณีอย่าง สินค้าราคา 5บาท 10 บาท จะขึ้นหลักสตางต์ตามราคาน้ำมันคงเป็นไปได้ลำบากมากๆ (แต่มีบริษัทที่ทำแบบนั้นได้นะคะ ขอไม่เฉลยละกัน 😅 )
หรือ อย่างวันนี้คุณเคยซื้อมาม่า 7 บาท
วันรุ่งขึ้น 7.25 บาท >> วันต่อมา 7 บาท >> วันต่อมา 7.75 บาท คุณจะกำเหรียญไปซื้อแบบไม่ถูกเลย และถ้าเป็นค่าโดยสารรถยิ่งแล้วใหญ่ค่ะ บางคนคำนวณค่าใช้จ่ายต่อวันกันเลยทีเดียว
หรือ ในกรณีการจ่ายค่าแรงลูกจ้างก็เช่นกัน
เดือนที่แล้ว 50,000 เดือนต่อมา 49,900
เดือนต่อมา49,890 เป็นต้น
เห็นไหมคะว่ามันจะมิ้วติ้วขนาดไหน
ทีนี้เมื่อการปรับราคาเป็นเรื่องยุ่งยากพอสมควร
จึงต้องอั้นราคาไว้ในฝั่งต้นทุน สักระยะก่อนค่ะ รอตัวแปรอื่นๆ สนับสนุนในการขึ้นราคาต่อไป
3 ) คำว่า "น้ำมันขึ้น" ลูกค้าหลายๆท่านอาจมองแค่น้ำมันเชื้อเพลิง แต่แท้จริงแล้วมันไม่ใช่
เพราะกลไกระบบขนส่ง นอกจากพาหานะที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการขนส่ง ก็ยังมีอะไหล่ในการบำรุงรักษาต่างๆอีก ที่มีผลต่อระบบขนส่ง
ในเมื่อราคา อะไหล่ขึ้น ค่าขนส่งก็จำเป็นต้องขึ้นตามตัวแปร น้ำมันเครื่อง กรองอากาศ น้ำมันเฟืองท้าย ครัช สายพานต่างๆ ใช้น้ำมันในการขนส่งทั้งสิ้น
อีกทั้ง ค่าแรงช่างในการเดินทางก็น้ำมันเชื้อเพลิง คำว่าราคาน้ำมัน ถึงจะขึ้น40สตางค์ แต่จะพัวพันไปหมด
และน้ำมันลง 5วัน อีก3วัน ขึ้นอีกสามวันขึ้น พอเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ มันจะวุ่นมากค่ะ
สรุป....ส่วนใหญ่เค้าจะหาค่าเฉลี่ยราคาน้ำมันต่อไตรมาส แล้วมาคำนวนค่าเฉลี่ย ในการขนส่งสินค้า ไม่สามารถขึ้นพรวดได้ ยิ่งสินค้าและการบริการที่มีผลกระทบต่อคนจำนวนมากๆ (ยกเว้นหน้ากากอนามัยหลานเพิ่งซื้อมาในราคาอันละ 50บาท อันนี้ขึ้นตามดีมานต์ที่สูงกว่าซัพพลาย)
4 ) อย่างที่บอก ในส่วนภาคการผลิตสินค้า ส่วนใหญ่จะต้องเตรียมวัตถุดิบไว้ล่วงหน้า การคิดต้นทุนเราจะคิดประมาณการล่วงหน้า มันก็มีการแบกรับต้นทุนตรงนี้อยู่ เพราะเราไม่มีการประกันราคาน้ำมันเพื่อควบคุมต้นทุน ในกรณีที่ราคาสูงมากๆ ก็จะมีกองทุนน้ำมันเข้ามาช่วย แต่มันก็แค่พยุงราคาไม่ให้ปรับไปมากขึ้น
แล้วเวลาน้ำมันขึ้น ไม่มีการคิดต้นทุนประมาณการล่วงหน้าหรือ ?
มีค่ะ ปกติการทำราคามันจะมีบวกค่าerror ไว้อยู่แล้วอย่างเช่น การทำเสนอราคางานเขาก็จะบวกค่า error ค่าความสูญเสียอื่นๆ เผื่อไว้ก่อน ประมาณ 10-15% เป็นการเผื่อความเสี่ยงที่อาจมีการผันผวน
สรุปก็ประมาณนี้คร่าวๆค่ะ
ใครมีอะไรก็มาแชร์แลกเปลี่ยนข้อมูลเพิ่มเติมกันได้นะคะ
มิ้วๆ 🤗
โฆษณา