21 มี.ค. 2020 เวลา 12:09 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
รวมดาวที่ไกลและเหงากว่าพลูโต
ในช่วงที่ต้องกักตัวหนีไวรัสแบบนี้ คงทำให้หลายคนประสบกับความเหงา จนบางทีก็เข้าใจความรู้สึกของดาวพลูโต อดีตหนึ่งในดาวเคราะในระบบสุริยะ แต่ด้วยความห่างไกลและเหตุผลอีกหลายๆประการมันจึงถูกตัดออกจากการเป็นดาวเคราะในระบบสุริยะ เหลือเพียงตำแหน่งดาวเคราะแคระเท่านั้น
แต่ก็ยังมีวัตถุอื่นอีกที่อยู่ในระบบสุริยะที่เหงากว่าพลูโตอยู่อีก โดยวัตถุเหล่านั้นจะมีชื่อเรียกว่าวัตถุโพ้นเนปจูน Trans-Neptune Object ( TNO ) และถ้ายิ่งไกลไปกว่านั้นอีกก็จะมีศัพท์เรียกว่า extreme trans-Neptunian objects ( ETNO )
มาเริ่มกันที่ " 2003 UB313 Eris " วัตถุโพ้นดาวเนปจูนขนาดใหญ่
วัตถุหนึ่งที่น่าสนใจคือ 2003 UB313 หรือ Eris ดาวหินเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2,300 กิโลเมตร ขนาดของมันใหญ่พอ ๆ กับดาวพลูโต (แต่ก็ยังเล็กกว่าดวงจันทร์ของโลกอยู่ดี) วงโคจรของ Eris เข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดที่ระยะ 37 AU และห่างที่สุดอยู่ที่ 97 AU หรือ ทำให้ในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 ครั้งมันใช้เวลานานถึง 558 ปี ด้วยขนาดและมวลของมันที่ไม่ต่างจากดาวพลูโตมากนัก มันมีบริวาร 1 ดวงชื่อว่า Dysomia ซึ่งค้นพบด้วยเทคนิค Adaptive Optics System ชื่อ Dysomia ตั้งชื่อตาม ลูกสาวของ Eris ตามตำนานกรีก
4
ภาพ Render ของ Eris และ Dysomia ที่มา – NASA ผ่าน Universe Today
ณ ตำแหน่งปัจจุบันของ Eris นักวิทยาศาสตร์ได้คาดคะเนเวลาสำหรับภารกิจการสำรวจในอนาคต (หากมี) พวกเขาพบว่าหากยานอวกาศใช้เทคนิคการเดินทางแบบเดียวกับยาน New Horizons ที่ใช้แรงโน้มถ่วงของดาวพฤหัสในการเร่งความเร็วพบว่าจะต้องใช้เวลาถึง 24 ปี (ภารกิจ New Horizons ใช้เวลา 9 ปีในการเดินทางไปดาวพลูโต)
มาต่อกันที่วัตถุชื่อแสนคุ้นหูอย่าง " Makemake " และ " Haumea "
ในช่วงปี 2003-2005 นับว่าเป็นช่วงสำคัญที่เราค้นพบวัตถุโพ้นดาวเนปจูนหลายดวง นักดาราศาสตร์เริ่มรู้ว่ายังมีวัตถุอีกมากซึ่งขนาดใหญ่มากพอ ๆ กับดาวพลูโต ซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุผลที่บีบคั้นให้เกิดการจำแนกดาวเคราะห์ นำไปสู่การตัดพลูโตออกในปี 2006 มีหนังสือเล่มนึงชื่อว่า How I Killed Pluto and Why It Had It Coming ของ Mike Brown นักดาราศาสตร์จาก Caltech อธิบายเรื่องนี้ไว้อย่างละเอียด
ภาพถ่าย Makemake และดวงจันทร์ของมัน จากกล้อง Hubble ที่มา – NASA/ESA
Makemake อ่านว่ามาเกะมาเกะ ตามชื่อพื้นเมืองฮาวาย เป็นวัตถุขนาดสองในสามของดาวพลูโต มันถูกค้นพบในปี 2005 พร้อมกับดวงจันทร์ขนาดเล็กอีก 1 ดวง ชื่อตาม Provisional designation ของมันคือ 2005 FY9 มันใช้เวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย์นานถึง 309 ปี
1
Haumea คือวัตถุอีกดวง รูปทรงของมันเป็นวัตถุทรงรีที่ใช้เวลาในการหมุนรอบตัวเองเพียงแค่ 4 ชั่วโมง (แรงเหวี่ยงจากการหมุนทำให้ทรงของมันเป็นแบบนี้ เรียกว่า Ellipsoid) ในปี 2010 กล้องโทรทรรศน์อวกาศ Herschel และ Splitzer ได้ทำให้เราสามารถคาดประมาณขนาดของมันได้อย่างแม่นยำ รวมถึงการวิเคราะห์เชิงเคมี ก็ทำให้เราคาดคะแนนการถูกพุ่งชนของมันได้ว่าเกิดขึ้นเมื่อประมาณหนึ่งร้อยล้านปีที่แล้ว
2
ภาพจำลองพื้นผิวของ Makemake ที่มา – ESO/L. Calçada/Nick Risinger
Haumea ใช้เวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย์นานถึง 284 ปี คนที่ค้นพบมันก็ไม่ใช่ใคร แต่เป็น Mike Brown นั่นเอง
1
ข้อพิเศษของ Haumea ก็คือในปี 2017 นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบว่ามันมี วงแหวน แต่ Haumea นั้น ไม่ใช่วัตถุขนาดเล็กที่สุดที่มีวงแหวน และก็ไม่ใช่วัตถุเดียวในแถบไคเปอร์ที่มีวงแหวนด้วย ในปี 2013 ได้มีการค้นพบวงแหวนกว้าง 300 กิโลเมตร ล้อมรอบดาวเคราะห์น้อย Chariklo และในปี 2015 ก็ได้มีการค้นพบวงแหวนของดาวเคราะห์น้อย Chairon เช่นกัน รวมถึงวัตถุในแถบไคเปอร์อย่าง Centaurs ก็มีวงแหวนเช่นเดียวกัน
วัตถุอื่น ๆ นอกจาก Pluto, Eris, Makemake และ Haumea เริ่มจะไม่คุ้นชื่อ ไม่ว่าจะเป็น Albion, Lempo หรือ Quaoar แต่จะมีชื่อหนึ่งที่อาจจะคุ้นชื่อกันก็คือ " Sedna "
3
90377 Sedna มีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงแค่ประมาณ 1,000 กิโลเมตรเท่านั้น แต่ก็ยังนับว่าเป็นวัตถุขนาดใหญ่พอที่จะทำให้เราสนใจมัน แต่เราไม่ได้สนใจมันในเชิงขนาด ขนาดประมาณ 1,000 กิโลเมตรนั้น ก็พอ ๆ กับวัตถุ TNOs อื่น ๆ ความน่าสนใจมันคือวงโคจร
1
วงโคจรของ Sedna เมื่อเทียบกับวงโคจรของพลูโตสีม่วง ที่มา - https://spaceth.co/further-than-pluto/
จากภาพด้านบนจะสังเกตได้ว่าวงโคจรของ Sedna เข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดที่ 76 AU แต่ไกลออกไปสุดถึง 936 AU (หนึ่งแสนสี่หมื่นล้านกิโลเมตร) ทำให้มันต้องใช้เวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบนานถึง 11,400 ปี
1
2003 VB12 หรือ Sedna ค้นพบโดย Mike Brown (อีกแล้ว) กับทีมของเขา ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์หลายตัว
ภาพถ่ายของ Sedna ที่มา – NASA/JPL/ESO
Sedna นั้่นแทบจะไม่มีกลางวันกลางคืน เนื่องจากระยะห่างของมันกับดวงอาทิตย์ที่ทำให้เห็นดวงอาทิตย์แทบจะเป็นเหมือนดาวดวงหนึ่งเท่านั้น (โดยเฉพาะเมื่อมันโคจรไปอยู่ที่จุด 936 AU) ท้องฟ้าของมันจะปรากฏทางช้างเผือกชัดเจน นับเป็นปรากฏการณ์ที่แปลกเมื่อเราสามารถเห็นดวงอาทิตย์กับทางช้างเผือกพร้อมกันได้
แต่ท้ายที่สุดแล้ว Sedna ก็ยังไม่ใช่ที่สุดของความห่างไกล แท้จริงแล้วยังมีดาวหางและวัตถุต่าง ๆ อีกหลายชนิดที่มีวงโคจรความรีสูงที่แทบจะโคจรออกไปนอกระบบสุริยะแต่ยังคงสภาพเป็นวัตถุในระบบสุริยะเนื่องจากแรงโน้มถ่วง บังคับให้มันโคจร แม้มันจะใช้เวลาในการโคจรหลักหมื่นหรือหลักแสนปีก็ตาม ส่วนวัตถุบางชนิดที่เดินทางเฉียดเข้ามาในระบบสุริยะ (ถูกจับไว้ด้วยแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ ทำให้มันมี Perihelion แต่ไม่มี Aphelion) ลักษณะเส้นทางการโคจรจะเป็นแบบไฮเปอร์โบลา สิ่งนี้จะนับเป็นเพียงแค่ “ผู้มาเยือน” เท่านั้น ไม่ใช่ครอบครัวของระบบสุริยะที่เรารู้จัก
2
แล้วคุณล่ะ กำลังเหงาระดับไหน พลูโต Eris หรือ Sedna
โฆษณา