9 เม.ย. 2020 เวลา 07:50 • ธุรกิจ
ไวรัสอาจเป็นผลดีกับธุรกิจขนส่งพัสดุในภาพรวม เเต่ก็ส่งผลกระทบในระดับย่อย
ไวรัส COVID-19 ทำให้หลายธุรกิจนั้นได้รับผลกระทบอย่างหนัก เเต่ในทางกลับกันมันก็ช่วยให้บางธุรกิจเฉิดฉายขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัดเช่นกัน โดยเฉพาะกับ ธุรกิจขนส่งพัสดุด่วน หรือ Express
หากเรามองกันที่ภาพใหญ่ อาจจะเห็นว่าธุรกิจนี้คงไม่ได้รับผลกระทบอะไร เพราะยอดขายของเเต่ละเจ้าต่างก็พุ้งสูงขึ้นอย่างชัดเจน
เเต่ถ้าเราลองมองลงไปยังภาพเล็กนระดับย่อย จะเห็นว่าธุรกิจเหล่านี้ก็ได้รับผลกระทบเหมือนกัน
เเต่จะได้รับผลกระทบตรงไหน ? เเล้วใครมีส่วนได้ส่วนเสียในธุรกิจนี้บ้าง ? สมองไหล จะเล่าให้ฟัง...
กลุ่มธุรกิจขนส่งพัสดุด่วน หรือ Express ในประเทศไทยจะมี 3 เจ้าใหญ่ คือ ไปรษณีย์ไทย เคอรี่ เเละ เเฟลช เอ็กซ์เพรส ซึ่งทั้ง 3 เจ้านี้ในช่วงสถานการณ์ปกตินั้นมียอดการจัดส่งพัสดุรวมกันถึง 12 ล้านชิ้นต่อวัน
นั่นจึงทำให้ทั้ง 3 เจ้านี้ครองส่วนเเบ่งการตลาดในประเทศไทยรวมกันถึง 80%
โดยความเเตกต่างของ 3 เจ้านี้คือ ไปรษณีย์ไทย กับ เคอรี่ ผู้ส่งจะต้องนำพัสดุมาส่งที่สาขาหน้าร้านเอง ในขณะที่ เเฟลช เอ็กซ์เพรส มีบริการรับพัสดุถึงหน้าบ้าน
ส่วนจุดเด่นของทั้ง 3 เจ้า คือ ไปรษณีย์ไทยที่มีสาขาครอบคลุมทั่วทุกตำบล ในส่วนของ เคอรี่ นั้นก็ถือเป็นขนส่งที่เด่นในเรื่องของมาตรฐานความปลอดภัยของพัสดุ เเละความรวดเร็วในการจัดส่งที่มั่นใจได้ว่า ส่งของวันนี้พรุ่งนี้จะถึงมือผู้รับอย่างเเน่นอน เเละ เเฟลช เอ็กซ์เพรส นั้นก็เป็นขนส่งที่ขึ้นชื่อในเรื่องราคาที่ถูกมากๆ เพราะเริ่มต้นเพียง 25 บาท เท่านั้น
เเละเมื่อเกิดวิกฤตไวรัส COVID-19 จนรัฐบาลต้องสั่ง Lockdown ให้ทุกคนกักตัวอยู่เเต่ในบ้าน นั่นจึงทำให้ทุกคนต้องหันมาซื้อสินค้าทางออนไลน์กันมากขึ้น ประกอบกับผู้ขายเองก็หันมาปรับตัวขายสินค้ากันในออนไลน์มากขึ้นเข่นกัน
ซึ่งเเน่นอนว่าเมื่อมีการซื้อขายออนไลน์เกิดขึ้น ตัวกลางที่จะต้องส่งสินค้าจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อก็หนีไม่พ้น “ขนส่ง”
เเละ 3 เจ้าเเรกที่ผุดขึ้นมาในหัวของคนค้าขายออนไลน์ ก็คือ ไปรษณีย์ไทย เคอรี่ เเละ เเฟลช เอ๊กซ์เพรส
โดยเจ้าที่ได้เปรียบที่สุดในช่วงที่ทุกคนต่างพากันไม่ออกจากบ้าน ก็คือ เเฟลช เอ๊กซ์เพรส เพราะมีบริการรับพัสดุถึงหน้าบ้าน
ต่อมา ไปรษณีย์ไทย จึงออกมาประกาศว่า ตอนนี้ทุกคนสามารถเรียกบุรุษไปรษณีย์ที่ผ่านหน้าบ้านเพื่อฝากพัสดุไปส่งที่สาขาไปรษณีย์ได้โดยไม่ต้องไปที่สาขาเอง จนเกิดเป็นภาพที่มีคนเขียนป้าย เรียกให้บุรุษไปรษณีย์มารับของที่บ้านตัวเอง เเปะไว้หน้าบ้านเต็มโซเชียล
เเละในขณะเดียวกัน เคอรี่ เอง ก็ออกมาประกาศว่าได้เพิ่มบริการรับพัสดุถึงหน้าบ้านเช่นเดียวกัน
นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้คนส่วนใหญ่เเห่กันมาส่งสินค้ากับ ขนส่ง 3 เจ้านี้
เเน่นอนในมุมของยอดขาย ทั้ง 3 เจ้านี้ ยอดขายทะลุเป้าเกือบทุกสาขา เเละ COVID-19 ก็เหมือนจะไม่กระทบอะไรพวกเขาเลย เเต่กลับเป็นผลดีด้วยซ้ำ
ถ้ามองในเรื่องภาพรวมของตัวเลขยอดขาย นี่อาจเป็นช่วงขาขึ้นของธุรกิจนี้ เเต่อย่างคำกล่าวที่ว่า “ยิ่งสูง ยิ่งหนาว”
เมื่อทั้ง 3 เจ้านี้มียอดพัสดุเข้ามาจำนวนมาก ในขณะที่ทรัพยากรมีจำกัด ไม่ว่าจะเป็น จำนวนพนักงาน รถขนส่ง เเละ คลังสินค้า
จึงทำให้ทั้ง 3 เจ้านี้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เเละ “จุดเด่น” ของเเต่ละเจ้าที่ผมเคยกล่าวไปตอนต้น เริ่มกลายเป็น “จุดบอด” ที่หลายคนเริ่มทนไม่ไหว
เริ่มที่ เเฟลช เอ็กซ์เพรส ที่เดิมทีมีบริการรับของถึงหน้าบ้าน ด้วยความที่เป็นเจ้าที่ราคาถูก ทำให้มีลูกค้าเข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้นถึง 10% เฉลี่ย 600,000 ชิ้นต่อวัน จึงทำให้พนักงานรับส่งพัสดุเริ่มไม่เพียงพอ จนมีปัญหาเรื่องพนักงานไม่เข้ารับสินค้าบ้าง ส่งของล่าช้าบ้าง พูดจาไม่ดีบ้าง จนล่าสุดทาง เเพลช เอ็ก เพรส ถึงขนาดต้องออกมาประกาศรับสมัครพนักงานจำนวนมาก
ส่วนในรายของ เคอรี่ เอง ก็อย่างที่เราเห็นกัน คือ ภาพของสินค้าที่กองอยู่ภายในคลังสินค้าไม่ต่างจากกองขยะในโลกโซเชียล ความเป็นมาตรฐานที่เราเคยเห็นเริ่มเปลี่ยนไป เเละความเร็วของการส่งสินค้าก็เริ่มลดลง จาก 1 วัน เป็น 2-4 วัน เเถมยังมีข่าวลือว่าพนักงานพากันลาออกหมด จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมากในสังคม
ซึ่งต่อมา เคอรี่ ก็ได้ออกมาเเก้ข่าวว่า เรื่องพนักงานลาออกนั้นไม่เป็นความจริง เเละ ตอนนี้ทาง เคอรี่ เองก็ได้ทำการเปิดรับสมัครพนักงานเพิ่มอีก 1,000 ตำเเหน่ง เพื่อนำเเก้ไขปัญหานี้
ส่วนทางด้านไปรษณีย์ไทยถึงเเม้จะยังคงไม่มีข่าวเสียๆ ของออกเท่าไหร่ เเต่ตอนนี้ก็เริ่มมีเสียงบ่นเรื่องส่งของล่าช้ามาเเล้วเหมือนกัน
เเละเมื่อสถานการณ์เป็นเเบบนี้ อย่าลืมว่าขนส่งในประเทศไทยไม่ได้มีเเค่ 3 เจ้านี้ เท่านั้น เเต่ยังมีอีกมากกว่า 10 เจ้า ที่เป็น 20% ในส่วนเเบ่งการตลาด เช่น Best , J&T, CJ Logictics, SCG Express, Ninja van, Speed-D ของ 7-11 เเละที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้จักอย่าง Bee Express, Nim, Sendit, Niko, Alpha เเละอีกมากมาย
เเละนี่คือโอกาสของพวกเขาที่จะเข้ามาเเย่งฐานลูกค้าจากทั้ง 3 เจ้าใหญ่นี้ จะเห็นว่าตอนนี้หลายๆ เจ้า ต่างพากันโปรโมทกันหนักมากๆ ทั้งการออกโปรโมชั่นลดเเลกเเจกเเถม เเละการจัดเเคมเปญต่างๆ เพื่อหวังจะดึงลูกค้าจากเจ้าใหญ่มาให้ได้
นั่นจึงทำให้ตลาดขนส่ง ณ เวลานี้ ดุเดือดไม่เเพ้สถานการณ์ COVID-19 เลย
เพราะไม่ใช่เเค่คนที่เป็นขนส่งเท่านั้นที่เข้ามาเเข่งขัน เเต่ยังรวมไปถึง ธุรกิจขนส่งคน อย่าง รถตู่, รถตุ๊กตุ๊ก, รถเเท๊กซี่, รถสองเเถว ที่ต่างก็ปรับจาก “ส่งคน” มาเป็น “ส่งของ” ในช่วงเวลานี้เพื่อดิ้นรนให้ตัวเองอยู่รอด
หรือเเม้กระทั่งคนที่ไม่ได้เป็นขนส่งเเต่พอมีทรัพยากรอย่าง Airportels หรือ บริการรับฝากกระเป๋าในสนามบินที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจาก COVID-19 ก็หันมารับส่งพัสดุภายในกรุงเทพฯ เช่นกัน โดยปรับตัวจากรถรับส่งกระเป๋าสนามบิน-โรงเเรม เป็นรถส่งของเเทน
กลายเป็นว่าตอนนี้ทุกธุรกิจที่พอมีทรัพยากรด้านขนส่งต่างหันมาปรับตัวเป็นขนส่งกันหมดเเล้ว
อย่างที่บอกว่าในภาพรวมของธุรกิจนี้ นี่อาจเป็นโอกาสในการเติบโต เเต่ถ้ามองลงไปในระดับย่อย เเน่นอนว่าตอนนี้มีผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาในตลาดนี้มากขึ้น
ที่น่าสนใจคือ หลังจากสถานการณ์ COVID-19 จบลงเเล้ว กลุ่มลูกค้าที่เปลี่ยนไปใช้ขนส่งเจ้าอื่นในช่วงนี้อาจจะติดใจจนเปลี่ยนไปใช้ถาวร จนทำให้เจ้าใหญ่ๆ ต้องเสียฐานลูกค้าเดิมไป…
ธุรกิจอื่นที่เคยดิ้นรนมาทำขนส่งในช่วงนี้จนพอมีฐานลูกค้าเเล้ว อาจจะเห็นช่องทางธุรกิจใหม่ๆ เเล้วหันมาเเตกไลน์ทำธุรกิจขนส่งกันอย่างเต็มตัว…
เเละเราอาจจะเห็นขนส่งเจ้าใหม่ที่เราไม่เคยรู้จักผุดขึ้นมามีชื่อเเละเปิดสาขาอยู่ตรงข้ามกันมากมาย เเล้วเราก็จะได้นั่งมองดูพวกเขาเเข่งขันกันลดราคาอย่างสนุกสนาน…
อยากรู้เรื่องอะไร อยากอ่านบทความเเบบไหน ส่งคำถามมาให้ "สมองไหล" ได้ง่ายๆ เพียง “กดลิ้ง” ข้างล่างนี้ได้เลย
โฆษณา