13 เม.ย. 2020 เวลา 23:45
ป่วยตาย กับ จนตาย เอาไงดี
จากข้อมูลว่า COVID-19 จะทำให้เกิด economic regression คนจะจนลงมากมาย โดยข้มูลจาก WEforum ว่าคนในภูมิภาค asia pacific เนี่ยแหละ จะเป็นจนนำทั่วโลก
ตอนนี้เราเริ่ม"เหมือนจะ" คุมโรคได้ เพราะยอดผู้ติดเชื้อรายวันดูดีขึ้นเรื่อยๆ หลายคนคงมองถึงการกลับมาใช้ชีวิตปกติ
แต่อย่างที่เคยบอกไปเมือวาน สภาวะนี้ไม่ได้จบง่ายๆ ถ้าเปรียมเหมือนวิ่งมาราธอน นี่ก็คงเป็นแค่จุดน้ำจุดแรก หรือถ้าเปรียบเป็น series นี่ก็คงเป็นจุดใกล้จบของ Ep1 ซึ่งไม่รู้ว่าจะมีกี่ Ep
ถ้าสมมติว่าเราดีขึ้นจริง นั่นแปลว่ามาตรการที่ออกมาไม่ว่าจะเป็นเรื่อง social distancing, work form home, ปิดสถานบันเทิงต่างๆ ฯลฯ ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ แล้วการจะเปิดเมืองอีกครั้งหล่ะ จะทำยังไง
แน่นอนว่า ตอนนี้สงครามยังไม่จบ การหย่อน social distancing จะนำมาซึ่งการระบาดอีกครั้ง สิง่ที่จะเกิดขึ้นคือ ก้จะต้องมาปิดเมืองใหม่
ลักกะปิด ลักกะเปิด
ดังนั้น ต้องวางแผนดีมากๆ ว่าจะเปิดเมืองยังไง
จนลง 20% ทั่วหน้า โดยเฉพาะเอเซีย (หาเหตุผลเค้าไม่เจอ)
แน่นอน เราไม่พูดถึงการกลับไปมีชีวิตปกติ เพราะมันไม่ใช่ตอนนี้แน่นอน
แต่พูดถึง การจะทำอย่างไร ที่จะทำให้เศรษฐกิจกลับมาได้บ้าง คนตกงานให้น้อยลง
จาก WEforum ได้ลองเอาเหตุการณ์ Flu 1918 มาดูว่ามีอะไรสอนเราบ้าง
ข้อมูลเป็นในประเทศอเมริกา เปรียมเทียบ 4 รัฐที่ มีมาตรการต่างๆในการจัดการ pandemic flu ตอนนั้น ซึ่งก็คือมาตรการ social distancingเนี่ยแหละ ซึ่งแน่นอน อัตราตายสัมพันธ์กับการทำ social distancing ชัดเจน
จะเห็นว่า
New Yorkปิดเมื่อเร็วสุด และนานสุด เลยตายน้อยสุด
Philadelphia ปิดช้าสุด เลยได้ตายเยอะสุดเลย แต่ตายแล้วจบกันเลย ไม่มี second wave
San Francisco ตัวแทนของเมืองที่ปิดสั้น รองลงมา จะเห็นว่ามีระลอก 2 ตามมา แต่ไม่สูงเท่า wave แรก เป็นตัวอย่างของการมีวินัยหย่อนยานในเรื่อง social distancing (ที่เราเรียกว่า การ์ดตก)
St. Louis ปิดนานและ Strict มากที่สุด นำไปสู่อัตราตายแทบจะน้อยสุดในประเทศ แต่สุดท้าย พอผ่อนมาตรการ ก็มี wave ใหม่โผล่มาในอีกไม่กี่สัปดาห์
ทุกรัฐมีเศรฐกิจที่แย่ลง แต่รัฐที่สามารถทำ social distancing ได้ดีกว่า จะแย่ลงน้อยกว่า
อัตราตายของรัฐต่างๆ
อัตราตายของเมืองต่างๆเทียบกับการฟื้นตัวในแง่การจ้างงานหลัง pandemic จบ ในกลุ่มที่ strict social distance กับ กลุ่มที่ไม่ strict
ที่นี้มาดูตอนเศรฐกิจฟื้นตัว ซึ่งใช้อัตราการจ้างงาน เป็น surrogate (คงไม่ได้ใช้แทนได้ทั้งหมด แต่ได้บางส่วนแน่นอน) เทียบกับอัตราการตาย
สีเขียวคือเมืองที่ทำ social distancing strict (หรือ non-pharmacologin intervention, NPI) และสีแดงแทนเมืองที่ไม่ strict social distancing
จากกราฟชี้ให้เราเห็น 2 อย่าง คือ
1.) เมืองที่ปิดสั้น(สีแดง) mortality rate โดยรวมมากกว่า เมืองที่ปิดยาว(สีน้ำเงิน) จะเห็นได้ว่าจากกระจายแทบจะคนละฝั่งซ้ายขวา
2.) เมืองที่ปิดยาว(สีเขียว) มีแนวโน้มจะอยู่ขอบบนของกราฟ คือกลุ่มที่มีการเพิ่มของการจ้างงานมากกว่า
สรุปคือกราฟนี้ชี้ให้เห็นว่า NPI ที่นานนั้นมีช่วยลดอัตราการตายและเมืองเหล่านั้นมีแนวโน้มที่ฟื้นกลับมาได้เร็วกว่าหลังจบวิกฤตนี้ไป
ดังนั้น อันนี้อาจจะเป็นข้อมูลให้เราดูว่า เราเลือกแบบไหน ในระหว่างที่ยังรอวัคซีน
แน่นอน รัฐต้องมีมาตราการอะไรในการจะเปิดเมือง ไม่ใช่คิดจะเปิดก็เปิด ถ้าจะไม่เปิด ก็ต้องมีมาตราการอะไรมาให้การปิดเมือง มันกระทบเศรฐกิจน้อยกว่านี้ ไม่ใช่แค่แจกเงิน
โฆษณา