30 เม.ย. 2020 เวลา 13:15 • ปรัชญา
เมื่อวานได้อ่านบทความของ แมน เพจ indy man มีกล่าวถึง การทำ อานาปานสติ
วันนี้ก็เจอบทความของ มหาอิ่ม เพจอิ่มบุญ เขียนไว้เรื่องการฝึก "รู้ลมหายใจ"
พอดีอ่านหนีงสือ ของท่านพุทธทาส และหนังสือของหลวงพ่อพุธ(เล่มนี้ ป้อเสก เอามาให้อ่าน) เจอข้อมูลบางส่วนน่าสนใจ เลยเอามาฝากกันนะ
"อานาปานสติกรรมฐาน"
อานาปานสติก็หมายถึง "ลม" การเจริญอานาปานสติกรรมฐานนั้นหมายถึงการเจริญกรรมฐานเกี่ยวเนื่องด้วยการกำหนดรู้ลมหายใจ
ในอินเดีย มีระบบจัดการกับลมหายใจแบบโบราณมานานที่สุดเขาเรียกกันว่า "ปราณายามะ"
ปานามา ตัดบทเป็น ปราณะ +อายามะ
แปลว่า "การควบคุมบังคับลมปราณ" คือ"ลมหายใจ"
ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ตั้งแต่สมัยเป็นคนป่ามนุษย์รู้จักจัดการเกี่ยวกับลมหายใจทำอย่างไรจะให้ได้รับประโยชน์ที่สุดแล้วระบบนี้ก็ได้รับการปรับปรุงแก้ไขมาเรื่อยๆ เรื่อยมาดีขึ้นๆ กว้างขวางขึ้น ละเอียดลออออกไปเป็น ปราณายามะ
ครั้นมาเป็น ลัทธิธรรมะ ลัทธิศาสนา ก็ใช้เป็นเบื้องต้น ของการทำสมาธิ
การควบคุมลมหายใจเป็นเบื้องต้นของการทำสมาธิด้วยกันทุกลัทธิ แม้ว่ามันจะต่างกันโดยวิธีเล็กๆน้อยๆ แต่ใจความมันเหมือนกัน คือการควบคุมลมหายใจให้เกิดผลตามที่เราต้องการ
ฉะนั้นอย่าเข้าใจว่ามีแต่ในพุทธศาสนาในลัทธิโยคะ โยคี ลัทธิใดๆ ก็ตามเขาใช้ "ปราณายามะ" เป็นพื้นฐาน เป็นหลักการพื้นฐานหรือเป็นบุพภาคแห่งการกระทำ
"อานาปานสติกรรมฐาน"
เริ่มโดยนั่งขัดสมาธิเอาขาขวาทับขาซ้ายมือซ้ายวางลงบนตัก เอามือขวาวางทับลงไป
แบบพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิ แล้วกำหนดที่ระลึก พุทโธ ธัมโม สังโฆ แล้วก็ตั้งใจกำหนดจิตดูลมหายใจของตนเอง ในขั้นต้นเราอาจจะแต่ง ลมหายใจของเรา โดยกำหนดจิตให้แน่วแน่แล้วก็ค่อยสุดลมหายใจยาวๆ ช้าๆ จนกระทั่งหมดแรง แล้วก็ปล่อยออกมาอย่างช้าๆจนกระทั้งหมดแล้วก็ สูดเข้าไปอีกทีนึงแล้วก็ปล่อยออกมาอีกทีนึง ทำอย่างนี้ถึง 5 ครั้ง
เข้าออกเป็นครั้งหนึ่ง ต่อไปหายใจอย่างปกติไม่ต้องไปแต่งลมหายใจ หน้าที่ของเรามีเพียงแต่ว่า กำหนดรู้ลมหายใจที่เป็นตัวเองโดยธรรมชาติเท่านั้น คือดูให้รู้ว่าการหายใจเบาหรือการหายใจแรง หายใจสั้นหรือหายใจยาว ก็ให้รู้อยู่ทุกจังหวะ
กำหนดตัวผู้รู้ไว้ที่ลม ผ่านเข้า ซึ่งมีการสัมผัสอยู่ที่ปลายจมูกโดยจะนึก....
"พุท" พร้อมกับลมหายใจเข้า
"โธ" พร้อมกับลมหายใจออกก็ได้
หรือหากไม่ทำเช่นนั้น ไม่ต้องนึก พุท โธ พร้อมกับลมหายใจเข้า หายใจออก เพียงกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกเฉยอยู่ เมื่อจิตของเราส่งไปทางอื่น เรารู้ว่าไปทางอื่น ก็กลับมาเอามารู้ไว้ที่ปลายจมูกตรงฐานที่ตั้ง กำหนดดูอยู่อย่างนั้นจนกว่าจิตของเราจะยึดเอาลมหายใจเป็นอารมณ์จริงๆ คืออยู่ที่ลมหายใจ
ซึ่งในบางครั้งเมื่อจิต มาอยู่ที่ที่เรากำหนดไว้แล้ว บางที จิตอาจจะวิ่งออก วิ่งเข้าตามกระแสทางเดินแห่งลม ก็ปล่อยให้จิตของเราเดินออกเดินเข้าตามกระแสลม
ในตอนนี้แสดงว่าจิตของเรายึดเอาลมหายใจ เป็นอารมณ์แล้ว ให้ดูลมหายใจเฉยอยู่ อย่าไปทำความนึกคิดอะไรอื่น
นอกจากการดูลมหายใจเท่านั้น
แล้วก็กำหนดรู้อยู่อย่างนั้นตลอดไป ให้มีสติสัมปชัญญะ กำหนดรู้อยู่ที่จิตกับลมหายใจเข้า ลมหายใจกับจิตอย่าให้พรากจากกัน และก็พยายามทำจิตให้เป็นกลาง อย่าไปยินดีกับความเป็นของลมหายใจ หรืออย่าไปยินร้ายในความเป็นของลมหายใจ
อย่าไป ตกอกตกใจในอาการที่ลมหายใจมันอาจจะมีการแสดงกิริยาไปต่างๆเช่น บางทีอาจจะมีความรู้สึกว่าลมหายใจแรงผิดปกติ ก็อย่าไปทำความตกใจ บางทีอาจจะมีอาการคล้ายๆ กับว่าลมหายใจมันจะหยุด ก็อย่าไปทำความตกใจ มันจะเป็นอย่างไรก็ตาม ให้กำหนดรู้เฉยอยู่อย่างนั้น
ผู้รู้คือจิตนั้นเป็นตัวสำคัญ อย่าเผลอ
ลมหายใจเป็นเพียงแต่อารมณ์เป็นเพื่อนเป็นเครื่องช่วยให้จิตสงบเท่านั้น แต่ตัวจิตคือผู้รู้กับสติสัมปชัญญะนี้ ก็จะต้องประคับประคองจิตของเราไว้ให้ดี และในขณะที่เราปฏิบัติอยู่นั้นอย่าไปทำความ รู้สึกว่าอยากรู้อยากเห็น หรืออยากให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เพียงแต่กำหนดรู้ลมออก ลมเข้า
และความเป็นไปต่างๆของลมเท่านั้น
เมื่ออาการอย่างไรเกิดขึ้นก็ให้รักษาจิตไว้ให้ดีให้มีสติสัมปชัญญะอย่าไปตื่นอย่าไปตกใจอย่าไปมีอาการใดๆทั้งสิ้นให้เรารู้อยู่ที่ลมหายใจอย่างเดียวเท่านั้นนี่คือการปฏิบัติเกี่ยวกับลมหายใจ.....
เจริญพร
โฆษณา