7 พ.ค. 2020 เวลา 23:06 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
....สาย “Adventure” ต้องรู้ เรื่องนี้!! .... ก่อนที่ คิดจะไป “ปีนเขา”
เคยสงสัยไหมว่า ...??
•ทำไม... เวลาเดินขึ้นเขาแล้ว ปวดหัว เวียนศีรษะ @@
•ทำไม... เวลาเดินขึ้นเขาแล้ว รู้สึกหายใจเท่าไรก็ไม่อิ่ม
•ทำไม... เวลาเดินขึ้นเขาแล้ว ฝันร้ายย!!!
1
ชื่อภาพ : เพื่อนร่วมทาง...
.... Acute Mountain Sickness ( AMS )....
‘’อาการป่วยจากการปีนเขา’’
• คืออะไร ?
1
ก่อนจะไปถึงจุดนั้น …… เรามาทำความเข้าใจร่างกายของเรากันก่อน ดีกว่า
ปกติ คนเราอยู่บนพื้นราบ ที่**ระดับน้ำทะเล ตั้งแต่เกิด …… ร่างการได้มีการปรับตัวภายหลังการคลอดจากท้องแม่ ในหลายด้านด้วยกัน เช่น…… การสูบฉีดเลือดของหัวใจ การแลกเปลี่ยนแก้สในการหายใจ ความต้องการใช้ออกซิเจนของร่างกาย และ ปริมาณเม็ดเลือดแดงในร่างกายที่เหมาะสม ……… ซึ่ง จะคอยทำหน้าที่ขนส่งออกซิเจนไปเลี้ยงทั่วร่างกาย
…และโดยทั่วไปคนเราจะมีปริมาณ เม็ดเลือดแดง ประมาณ 4-5 ล้านเซลล์ต่อไมโครลิตร ทำหน้าที่ขนส่งออกซิเจนจากปอด ไปเลี้ยงร่างกาย ซึ่งเพียงพอต่อการดำรงชีวิตบนพื้นผิวระดับน้ำทะเล ที่มี ความดันบรรยากาศของออกซิเจน(PaO2) 90-95 มิลลิเมตรปรอท
1
Red Blood Cell :เม็ดเลือดแดง
ความสมดุลนี้เองทำให้เราอยู่ได้ โดยไม่รู้สึกว่ามีความผิดปกติอะไร
1
**หมายเหตุ** ระดับน้ำทะเล(Sea Level) : ระดับพื้นผิวโลกที่ซึ่งเราสมมุติว่าอยู่บริเวณระดับเดียวกับพื้นผิวน้ำทะเล หรือ สูงหรือต่ำกว่า ไม่มาก ซึ่งเป็นที่ มนุษย์ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ได้
ปกติแล้วนั้น ที่ระดับน้ำทะเลจะมีความดันบรรยากาศรวม(atm) ประมาณ 760 มิลลิเมตรปรอท
* 1 atm = 760 mmHg(มิลลิเมตรปรอท)
* และมีความดันออกซิเจน(PaO2) 90-95 มิลลิเมตรปรอท
• สูงกว่าระดับน้ำทะเล[บนเขา/เครื่องบิน] : ความดันบรรยากาศ < 760 มิลลิเมตรปรอท
• ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล[ใต้น้ำ] : ความดันบรรยากาศ > 760 มิลลิเมตรปรอท
1
ซ้ายมือ : ที่ระดับความสูงต่างๆ (ฟุต) …… ขวามือ : ระดับออกซิเจน(เปอร์เซ็น) ที่ลดลงเมื่อความสูงเพิ่มขึ้น
ด้วยเหตุนี่เอง เมื่อขึ้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล บรรยากาศเบาบางลง ออกซิเจนก็น้อยลงเช่นกัน …… ยิ่งสูง ยิ่งหนาว ยิ่งหายใจไม่ออก แม้จะอยู่เฉยๆ……
……… แต่ แต่ แต่ … ชาวทิเบต สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ในที่ซึ่งมีออกซิเจนเบาบางโดยไม่เกิดอาการใดๆ …… (มีอธิบายใจบทความถัดไป)
อาการที่เกิดขึ้นเมื่อขึ้นภูเขา จากภาวะออกซิเจนเบาบางนี่เอง… เรียกว่า
‘’ acute mountain sickness” : อาการป่วยจากการปีนเขา
ซึ่งอาการจะแตกต่างกันไปตามระดับความสูง จากน้อยๆ ไปสู่อาการโคม่าได้เลย
1
** ความเร็วในการขึ้นสูงก็มีผลต่อการเกิดอาการด้วยเช่นกัน.
• ยกตัวอย่างเช่น… นักบินที่บินไต่ระดับความสูงอย่างรวดเร็ว โดยที่ไม่สวมอุปกรณ์ปรับแรงดันอากาศ หรืออุปกรณ์ชำรุด … ทำให้นักบินหมดสติในทันทีจาก ภาวะออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
หน้ากากแรงดันบวก
……ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 2000-2500 เมตร เป็นต้นไป
จึงจะเริ่มแสดงอาการของ Acute Mountain Sicknness ออกมา
1
อาการที่ว่าได้แก่
• หายใจเร็วขึ้น หายใจเท่าไรก็ไม่อิ่ม
• เลือดเป็นเบสอ่อน
• มึนศีรษะตลอดเวลา
• ฝันร้าย หลับไม่เต็มตื่น
• คลื่นไส้ พะอืดพะอม
• แขนขาเมื่อยล้า และไม่มีแรง
• ปอดบวมน้ำ และออกซิเจนในเลือดต่ำลง
• สมองบวมน้ำ หมดสติ โคม่า…… ในท้ายที่สุด
1
แล้ว………ภูเขาไหน? สูงเท่าไร? กันบ้าง
Ben Nevis ; ประเทศอังกฤษ ที่ระดับความสูง 1344 เมตร
Mont Blanc ประเทศอิตาลี ที่ระดับความสูง 4808 เมตร
Kilimanjaro ในแทนซาเนีย ที่ระดับความสูง 5895 เมตร
Aconcagua ประเทศอาเจนตินา ที่ระดับความสูง 6062 เมตร
ยอดเขาเอเวอเรส ในกลุ่มเทือกเขาหิมาลัย ที่ระดับความสูง 8848 เมตร
เทือกเขาหิมาลัย
และในประเทศไทย ยอดเขาที่สูงที่สุดก็คือ………
ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ที่ระดับความสูง 2565 เมตร
…………วิธีป้องกัน และ แก้ไข Acute mountain sickness…………
เมื่อเราทราบกลไก การเกิดอาการแล้ว …… การป้องกันก็ไม่ยาก
1) ตรวจเช็คสุขภาพตนเองก่อนออกเดินทาง : ใคร ที่มีอาการป่วยที่เสี่ยงต่อการขาดออกซินเจน เช่น โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ โรคปอด หอบหืด ถุงลมโป่งพอง โลหิตจาง
…… ไม่ควรไปทริปนี้เด็ดขาด เนื่องจากอาการคุณจะกำเริบได้
1
• หากไม่มีโรคดังกล่าวแล้ว … คุณควรหมั่น ฟิตร่างกายให้พร้อมโดยการออกกำลังกายเพื่อให้ กล้ามเนื้อชินต่อการใช้งานหนัก
• และในคืนก่อนออกเดินทาง ควรจะนอนหลับพักผ่อนให้เต็มตื่น อย่างน้อย 6-8 ชม.
2) วางแผน ทำตารางกิจกรรมและสถานที่ รวมถึงกำหนดระยะทางและความสูงที่จะไต่ระดับขึ้น ให้ชัดเจน : เพราะ การที่ทำตามแผนการที่วางใว้ ไม่ขึ้นเร็วจนเกินไป จะลดความตื่นตระหนกเวลาเกิดอาการ และสามารถจัดการสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม
3) เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการปีนเขา : พบว่าการไปด้วยอุปกรณ์ที่พร้อม จะปลอดภัยกว่ามาก ซึ่งได้แก่……
1
• ชุดกันหนาว : การที่ร่างกายรักษาอุณภูมิให้อบอุ่นได้ ย่อมลดการใช้พลังงานของกล้ามเนื้อจะลดอาการล้าจากภาวะออกซิเจนเบาบางได้
• อาหารและน้ำดื่ม : พบว่า การดื่มน้ำ ให้เพียงพอ ทั้งก่อนออกเดินทาง และ ระหว่างเดินทาง นั้นช่วยลดการเกิด อาการมึนและปวดศีรษะได้ดี … ปริมาณที่แนะนำคือ 1-2 ลิตร ก่อนออกเดินทาง และระหว่างเดินทางก็ ควรดื่มน้ำเป็นระยะๆ
1
• ยาและเวชภัณฑ์ : พบว่า อาการป่วยจากการปีนเขานั้น สามารถป้องกันและรักษาได้ด้วยยา ที่มีชื่อว่า Diamox(Acetazolamide) ปัจจุบันในทางการแพทย์ส่วนใหญ่ใช้รักษาโรคต้อหิน ซึ่งจะช่วยลดความดันลูกตาได้
1
… แต่ในส่วนของอาการป่วยจากการปีนเขานั้น กลไกยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่า เกิดจากการที่ตัวยาลดการดูดกลับของ ไบคาร์บอเนตไอออน และ เกลือโซเดียม ที่บริเวณไต ทำให้เลือดมีความเป็นกรดอ่อนๆ … ซึ่งสามารถแก้*ความเป็นเบสอ่อนในเลือดที่เกิดเมื่อขึ้นที่สูง
1
วิธีการกินยาควรปรึกษาแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญอีกครั้งก่อนรับประทาน
• ออกซิเจนกระป๋องหรือถังออกซิเจน แบบพกพา : ตรงไปตรงมา ว่าอาการป่วยนั้นล้วนเกิดจาก บรรยากาศที่มีออกซิเจนเบาบาง ดังนั้นเมื่อเกิดอาการขึ้นมา การได้สูดออกซินเจนที่เข้มข้นเข้าไป ย่อมทำให้อาการดีขึ้น …… แต่นั่นก็เป็นสิ่งที่ไม่ได้หาซื้อได้ง่ายๆในประเทศไทย
1
กระป๋องบรรจุออกซิเจน
• เครื่องจับออกซิเจนในเลือดปลายนิ้ว(pulse oximeter): การมีเครื่องดังกล่าวทำให้เราสามารถติดตาม ระดับออกซิเจนในเลือดของตนเองได้ ก่อนจะเกิดอาการ และเฝ้าระวังได้อย่างดี *** โดยคนเราไม่ควรมีระดับออกซิเจนในเลืด(SpO2) ต่ำกว่า 94%
1
Pulse Oximeter จับค่าออกซิเจนในเลือดได้ 98% ,ชีพจร 78 ครั้งต่อนาที
… แต่ก็อีกเช่นกันเครื่องมีราคาแพง และเข้าถึงได้ไม่ง่าย
ส่วน สำหรับสายปีนเขาบ่อย แนะนำว่าควรมีติดตัว
1
4) กำหนดระยะทางและระดับความสูงที่จะเดิน ในแต่ละวันให้ชัดเจน : เนื่องจากการไต่ระดับขึ้นที่เร็วเกินไปนั้น ทำให้เกิดอาการป่วยได้ ดังนั้น มีการศึกษาพบว่า ……
• ใน 1 วันของการไต่ระดับนั้นไม่ควรสูงเกิน 500 เมตร เท่านั้นที่คนทั่วไปไม่มีอาการ
… เรียกว่า การให้ร่างกายได้ปรับตัวให้ชินกับสภาพความสูงไปทีละน้อย (Acclimatization)
Acclimatization : ไต่ระดับสูงขึ้น วันละไม่เกิน 500 เมตร และหยุดพักตั้ง Camping
5) พกเอกสารเช็คลิสต์(Check list) อาการป่วย ชื่อว่า ‘’Lake Louise Self-Assessment Scoring System” : เอกสารดังกล่าวมีใว้เพื่อสำรวจตนเองและเพื่อนร่วมทริป ว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการป่วยแค่ไหน ** นักปีนเขาทุกคนควรจะมีติดตัว( ดังรูป )
* คะแนนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 4 เรียกว่า อาการน้อย(Mild AMS) ,คะแนนตั้งแต่ 5 ขึ้นไป เรียกว่า อาการรุนแรง (moderate to Severe AMS)
6) ถ้าหากเกิดอาการป่วย Acute Mountain Sickness ขึ้นมาแล้ว ขณะกำลังเดินทางอยู่ :
• ตั้งสติ!! ขอความช่วยเหลือ[กรณีไปกันหลายคน]
• หยุดการไต่ระดับขึ้น
• รับประทานยา Diamox
• สูดออกซิเจนที่พบติดตัวไป
……จนกว่าอาการจะดีขึ้น 24-48 ชม. จึงค่อยพิจารณาเดินทางต่อ
1
แต่หากคุณไม่ดีขึ้น หรือ หายใจหอบ หรือ หมดสติ
• ติดต่อทีมช่วยเหลือกู้ชีพที่มีความเชี่ยวชาญ
• หากคุณต้องเป็นคนช่วยเหลือเพื่อนร่วมทริปในเวลานั้น สิ่งที่พอจะทำได้ระหว่างรอความช่วยเหลือ คือพาผู้ป่วยคนป่วยลงจากที่ระดับความสูงดังกล่าว ให้ได้มากที่สุด … เพราะการลดระดับ ความสูงจะทำให้มีปริมาณออกซิเจนในบรรยากาศที่มากขึ้น ซึ่งเป็นการรักษาไปในตัวอยู่แล้วครับ
1
7) ทำประกัน : อันตราย ล้วนเกิดขึ้นได้ และไม่มีอะไรแน่นอน … การมีประกันใว้ก็ไม่เสียหายโดยเฉพาะเมื่ออยู่ในต่างบ้านต่างเมืองแล้วนั้น เมื่อมีเหตุฉุกเฉิน การติดต่อด้วยตนเองนั้นลำบากยิ่ง … การมีประกันที่เหมาะสมจะทำให้เรื่องยุ่งยากกลายเป็นง่ายดายในทันที ^___^
1
• การบาดเจ็บจากความเย็น อ่านต่อได้ที่ >>
1
………… เป็นอย่างไรกันบ้างครับ พอได้ไอเดียสำหรับทริปกันแล้วใช่ไหมครับ …………
1
ขอขอบคุณภาพจาก กูเกิ้ล ครับ
• สนับสนุนบทความดี มีประโยชน์ เพื่อการพัฒนา
• กดติดตาม กดไลค์ กดแชร์ เป็นกำลังใจให้ด้วยนะครับ
1
References
โฆษณา