12 พ.ค. 2020 เวลา 11:50 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
วิกฤต COVID-19 นี้ NASA ทำอะไรบ้าง
ในช่วงวิกฤตการณ์ไวรัสระบาดนี้ จะเห็นได้ว่าหน่วยงานรัฐหลาย ๆ ประเทศให้การช่วยเหลือประชาชนได้เป็นอย่างดีเยี่ยม ส่วนหน่วยงานอวกาศอิสระระดับโลกอย่าง NASA ก็ไม่น้อยหน้าเช่นกัน เพราะได้เข้ามามีส่วนช่วยบรรเทาวิกฤตนี้ด้วยการนำ Supercomputer Pleiades เข้าต่อสู้กับ COVID-19
โดยเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2020 NASA ประกาศเปิดตัว Platform NASA@WORK เพื่อระดมสมองผู้คนทั่วโลกให้มาเสนอแนวคิดและนวัตกรรมที่จะช่วยบรรเทาการระบาดของ COVID-19 มากกว่า 250 นวัตกรรมถูกเสนอให้ NASA และเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2020 อ้างอิงจาก Press Release 20-046 ของ NASA ผอ. ของ NASA Jim Bridenstine ได้ประกาศแถลงการณ์ฉุกเฉินแสดงจุดยืนของหน่วยงานอิสระอย่าง NASA ต่อการระบาดของ COVID-19
วิศวกรของ NASA จำนวนมากร่วมทำงานกับผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ในโรงพยายาลเพื่อที่จะสร้าง Prototype ของ Oxygen hood ซึ่งเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ ไว้ให้ผู้ป่วย COVID-19 เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ และทำหน้าที่เป็นเหมือนเครื่องช่วยหายใจ CPAP (Continuous Positive Airway Pressure) เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยหายใจได้ง่ายขึ้นเวลาที่ปิดของผู้ป่วยเริ่มไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพแต่ยังมีอาการที่ไม่รุนแรงมากและยังไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ เพื่อลดโอกาสที่ผู้ป่วยจะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจจริง ๆ ที่มีไม่พอซึ่งผ่านการทดสอบเป็นที่เรียบร้อยแล้วและกำลังเริ่มผลิตชุดแรกเป็นจำนวน 500 ชิ้นในโรงงานของ TSC
ทีมวิศวะกรผู้พัฒนาเครื่องช่วยหายใจ VITAL ที่มา - https://spaceth.co/nasa-engineers-join-covid19-fight/
นอกจากนี้วิศวกรของ NASA นำโดย Allen Parker ของ Armstrong research center ได้สร้างอุปกรณ์ที่เป็นเหมือน Hood ไว้สำหรับให้บคุลากรทางการแพทย์ใส่ให้ผู้ป่วยเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อในขณะที่ถูกออกแบบให้สามารถรักษาได้ตามปกติ นอกจากนี้ที่ศูนย์วิจัย Glenn Research Center ในรัฐ Ohio ร่วมกับบริษัท Ohio Emergency Products and Research ได้พัฒนาอุปกรณฺสำหรับการ Decontaminate หรือทำความสะอาดพื้นที่ที่ปนเปือนซึ่งแต่เดิมถูกนำไปใช้ในยานอวกาศแต่รอบนี้เอามาใช้ในพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนอย่างรถพยาบาลและสถานที่อื่น ๆ ที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนซึ่งมีราคาถูกและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำ อย่าง AMBUStat ซึ่งใช้ในรถตำรวจและพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ฆ่าเชื้อในอากาศ ซึ่ง NASA กำลังระดมวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์นี้ต่อ COVID-19
ซึ่งหลังจากการพัฒนาเสร็จสิ้นและได้ทำการทดสอบการใช้งานไปเบื้องต้นแล้ว NASA ก็ได้ส่งอุปกรณ์เหล่านี้ไปให้ FDA หรือ อย. ของสหรัฐอเมริกาเพื่ออนุญาติให้ใช้งานเป็นอุปกรณ์การแพทย์ในสถานการณ์ฉุกเฉินได้เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2020
และเมื่อเดือนที่แล้ววิศวกรจำนวนมากต่างระดมความคิดกันสร้างเครื่องช่วยหายใจแบบใหม่ขึ้นมาที่มีราคาถูกและมีประสิทธิภาพ จากการระดมสมองและความคิดจากผู้คนนับไม่ถ้วนทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์ ผลลัพธ์สุดท้ายคือเครื่องช่วยหายใจ VITAL
ต้นแบบของเครื่องช่วยหายใจ VITAL พัฒนาโดย JPL – ที่มา JPL/NASA
โดยเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2020 ที่โรงพยาบาลการแพทย์ Icahn School of Medicine ใน Mount Sinai เมือง New York ศูนย์กลางการระบาด COVID-19 ของสหรัฐอเมริกา เครื่องช่วยหายใจที่ชื่อว่า VITAL หรือ Ventilator Intervention Technology Accessible Locally ซึ่งจริง ๆ เน้นที่ชื่อย่อหรือ VITAL ที่หากแปลตามภาษาอังกฤษจะหมายถึงจำเป็นต่อการอยู่รอดนั้นเองผ่านการทดสอบ Critical test โดยบุคลากรทางการแพทย์ใน Icahn School of Medicine ซึ่งเครื่องช่วยหายใจ VITAL ถูกพัฒนาและสร้างโดยทีมนักวิจัยและวิศวกรของ JPL ในเวลาเพียง 37 วันก่อนการทดสอบเท่านั้น
ในที่นี้ NASA มุ่งพัฒนาเครื่องช่วยหายใจ VITAL ที่เน้นไปที่การใช้งานแบบอเนกประสงค์ซึ่งสามารถเอาไปใช้ที่ไหนก็ได้เพราะตัว VITAL ถูกออกแบบมาให้ทนน้ำทนฝุ่นทนดินทรายทั้งหลายและเหมาะแก่การเอาไปใช้ในสภาพแวดล้อมอย่างในสถานการณ์ฉุกเฉิน EMS และโรงพยาบาลสนามต่าง ๆ ซึ่งผู้ป่วยไม่สามารถเข้าถึงเครื่องช่วยหายใจแบบปกติได้ นอกจากนี้ VITAL ยังถูกออกแบบมาให้ใช้กับเครื่องจ่ายไฟฟ้าสำรองอย่าง UPS (Uninterruptible Power Supply) ได้อีกด้วน ทำให้ VITAL ง่ายต่อการใช้งานทั้งในสถานที่และนอกสถานที่
นี่แสดงให้เห็นว่าถึงแม้วิศวกรของ NASA จะเคยสร้างแต่ยานอวกาศและจรวดและไม่ได้สร้างเครื่องมือทางการแพทย์แต่พวกเขาก็สามารถประยุกต์และรวบรวมทุกองค์ความรู้จากทุกคนมาเพื่อพัฒนาสิ่งที่พวกเขาไม่เคยทำมาได้สำเร็จ ทำให้หายห่วงไปได้อีกหนึ่งเรื่องว่าวิกฤตที่ทั่วโลกกำลังประสบไม่ได้ถูกเพิกเฉยแต่อย่างใด และยังมีคนที่พยายามช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่เดือดร้อนด้วยความรู้ที่มี
อ้างอิง
โฆษณา