24 พ.ค. 2020 เวลา 10:31 • การศึกษา
"เปลวเทียนที่ต้านลม....เปรียบเสมือน...คุณธรรมของคนเป็นครู"
เข็มทิศทางการศึกษา
ผมเป็นผลผลิตของหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (สำนักงาน คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.) วันวานตอนเป็นเด็กนักเรียนประถมศึกษา...ไม่ประสีประสาว่าโรงเรียนได้สอน...ได้จัดประสบการณ์...ทักษะ ...เจตคติที่ดี...อะไรให้บ้าง...วันนี้อายุผ่านเลยวัยศึกษามามากแล้ว...ประกอบกับต้องเกี่ยวข้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ปรับปรุง พุทธศักราช 2560) จึงมีความคิดที่จะย้อนรอยความหลัง หลักสูตรฯ พุทธศักราช 2521 ว่าได้หล่อหลอมเยาวชนยุคนั้นให้เป็นผู้ มีคุณสมบัติอย่างไร...
ภาพจาก Pixabay.com
หลักสูตร 2521 คืออะไร...
ประสบการณ์ทั้งมวลที่โรงเรียนจัดให้นักเรียนทั้งในและนอกโรงเรียน ...
เพื่อให้นักเรียนมี ความรู้...ทักษะ...เจตคติที่ดี
หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2521 เป็นอย่างไร...
1. มุ่งพัฒนาชีวิตของนักเรียนและสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์...มากกว่าเป็นพื้นฐานของการเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษา
2. เจตนารมณ์ของแต่ละกลุ่มประสบการณ์ มุ่งเน้นคุณสมบัติและความสามารถในการดำรงชีวิตอย่างสงบสุขมากกว่าความเชี่ยวชาญเฉพาะอย่าง
ภาพจาก Freepik.com
ทำไมจึงต้องเปลี่ยนจากหลักสูตรฯ พ.ศ.2503 มาใช้หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ.2521...
หากเราเปรียบเทียบว่า เศรษฐกิจ...สังคม...และการศึกษา...เป็นเสมือน ฟันเฟือง 3 อันที่มีความเกี่ยวพันกัน ในระยะแรก...ฟันเฟืองทั้ง 3 อัน หมุนใน อัตราเดียวกัน ต่อมา...ฟันเฟืองเศรษฐกิจและสังคมหมุนเร็วขึ้น..."แต่ ฟันเฟืองการศึกษายังคงหมุนในอัตราเดิม" จึงส่งผลให้เกิดความขัดข้องทั้ง ระบบ ซึ่งเปรียบได้ว่า เมื่อเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนไป การศึกษาจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนตามให้ทัน หรือเปลี่ยนตามให้ทัน หรือเปลี่ยนไปพร้อมๆ กัน " หากฟันเฟืองอันใดอันหนึ่งหมุนช้าหรือหมุนไม่ทันฟันเฟืองอันอื่นก้จะส่งผล ให้เกิดความขัดข้องทั้งระบบ
ภาพจาก Freepik.com
ท้ายสุดนี้...ทุกท่านเกิดคำถามในใจหรือไม่..."ปัจุบันฟันเฟืองทั้ง 3 อัน หมุนไปอย่างไร..."
ที่มา: ชุดฝึกอบรมตนเอง เล่มที่ 2 สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษา แห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ 2528
โฆษณา