31 พ.ค. 2020 เวลา 11:40 • ปรัชญา
คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx)
ในบรรดาปรัชญาตะวันตกที่มีชื่อเสียง แนวคิดของคาร์ล มาร์กซ์ ก็เป็นหนึ่งในนั้น ซึ่งถือว่ามีอิทธิพลเหนือความคิดทางการเมืองตะวันตกปัจจุบันนี้
ความคิดทางการเมืองของ คาร์ล มาร์กซ์ ยังมีส่วนสำคัญอยู่ทั่วโลก โดยพื้นฐานแห่งจริยศาสตร์ของ คาร์ล มาร์กซ์ มีอยู่ด้วยกัน ๓ ทฤษฎี คือ
๑. ทฤษฎีทางอภิปรัชญา
๒. ทฤษฎีที่สัมพันธ์กับปรัชญาสังคม
๓. ทฤษฎีทางเศรษฐกิจ
คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) เครดิตภาพ: https://www.finnomena.com
ตามหลักของ คาร์ล มาร์กซ์ เศรษฐกิจ กล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีมาเป็นเวลายาวนาน โดยส่วนใหญ่แล้วขึ้นอยู่กับปรากฎการณ์ทางเศรษฐกิจ กฎต่างๆทางศีลธรรมก็เปลี่ยแปลงไปด้วยพร้อมกับการแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น
ในฐานะของนักสสารนิยม เขามีความเห็นว่า
ความคิดส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงต่างๆ โดยถือว่าไม่ใช่จิตของมนุษย์ที่จะไปกำหนดการดำรงอยู่หรือวิถีชีวิตของมนุษย์
ในทางตรงกันข้าม การดำรงอยู่ในสังคมของต่างหากที่กำหนดจิตของมนุษย์ แปลความว่า ฐานะทางสังคมเป็นเครื่องกำหนดของมนุษย์นั่นเอง
1
ในทำนองที่ว่านี้ กฎต่างๆทางศีลธรรมก็เปลี่ยนแปลงไปตามประวัติศาสตร์แห่งการวิวัฒนาการทางสังคมและทางเศรษฐกิจ
โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์อยู่ว่า มักจะมีความขัดแย้งทางชนชั้นในสังคม ซึ่งมีรูปแบบที่สำคัญ ๓ประการ
๑)สังคมทาส ๒)สังคมศักดินา ๓)สังคมนายทุน
เครดิตภาพ: https://pantip.com
สังคมทาส เป็นสังคมที่เกิดขึ้นก่อนในยุคแรกของสังคมมนุษย์
มาร์กซ์ เรียกว่า คอมมิวนิสต์ยุคปฐมบรรพ์ คือเป็นสังคมคอมมิวนิสต์ ประชานชนมีจำนวนน้อย จึงไม่มีความรู้สึกว่าจะต้องสั่งสมปัจจัย๔ แต่เมื่อประชากรมนุษย์เพิ่มมากขึ้น เกิดการแย่งกันทำมาหากิน
1
ความคิดที่จะสั่งสมปัจจัย๔ จึงเกิดขึ้น นี้คือจุดเริ่มต้นของสถาบันแห่งความร่ำรวย ในศีลธรรมของชนชั้นกลางและศีลธรรมชนชั้นกรรมาชีพ
ก็มีความขัดแย้งมหาศาลเหมือนกันกับชนชั้นอื่นๆ นโยบายของชนชั้นกลางก็ถือเอาผลประโยชน์ซึ่งตนเองก็ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับปัญหาของชนชั้นกรรมาชีพเลย การอ้างอิงอาศัยระเบียบต่างๆทางโลก
แนวคิดเรื่องกฎแห่งกรรมและศาสนาได้มีส่วนขัดเกลา สั่งสอนให้ชนชั้นกรรมาชีพมีความสุภาพอ่อนโยนและอดทน
3
ศีลธรรมของสังคมตามทัศนะของมาร์กซ์ คือ กฎต่างๆทางศีลธรรมของพวกชนชั้น
ผู้ถือเอาผลประโยชน์เป็นวิธีการที่เป็นไปเพื่อความเห็นแก่ตัวของพวกชนชั้นนั่นเอง สิ่งใดดีและมีประโยชน์ในสายตาของคนส่วนใหญ่ ก็เป็นไปเพื่อความสนุกสนานสำราญใจ
และเพิ่มความเพลิดเพลินให้ยิ่งขึ้นในหมู่ชนชั้นกลาง
ลัทธิมาร์กซ์มีทัศนะที่แตกต่างตรงข้ามกันสิ้นเชิง
นอกจากนี้ยังปฏิเสธเรื่องพระผู้เป็นเจ้าอีกด้วย
เพราะรู้ดีว่า พวกพระ นักบวช คนชั้นสูงและชนชั้นกลาง
เป็นพวกเห็นแก่ตัวจัด โดยการอ้างพระผู้เป็นเจ้าบังหน้า
เพื่อกอบโกยผลประโยชน์จากส่วนรวม
1
มาร์กซ์เชื่อว่า พระผู้เป็นเจ้าไม่ได้สร้างหลักศีลธรรมขึ้นมาแต่อย่างใด
และเชื่อว่าศีลธรรมของชนชั้นกรรมาชีพ เป็นศีลธรรมที่แท้จริง
คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx)
เกี่ยวกับประเด็นนี้ วลาดีมีร์ เลนิน (Vladimir Lenin) ได้อธิบายว่า
หลักการใดที่ทำลายสังคมที่ยึดถือเอาที่ผลประโยชน์ โดยก่อตั้งสังคมผู้ใช้แรงงาน และสถาปนาลัทธิคอมมิวนิสต์ขึ้น หลักการนั้นเรียกว่าศีลธรรม ซึ่งการกระทำใดที่อำนวยประโยชน์ให้กรรมชนชั้นกรรมาชีพ ถือว่าดีงาม ส่วนการกระทำที่ตรงกันข้ามถือว่าเลวทรามต่ำช้า โดยพัฒนาจากลัทธิทฤษฎีการเมืองและเศรษฐกิจสังคมนิยม ของมาร์กซ์
ศีลธรรมที่แท้จริงตามแนวคิดของ มาร์กซ์นั้น คือการที่ชนชั้นผู้ได้รับผลประโยชน์โดยทั่วถึงกัน เพราะจะเป็นแรงผลักดันให้เราเข้าถึงสังคมในอุดมคติ คือสังคมของคอมมิวนิสต์
 
ให้สังเกตุประวัติศาสตร์แห่งวิวัฒนาการของสังคม เราจะเห็นได้ว่า บุคคลผู้แสวงหาประโยชน์ส่วนตัวจากสังคม จะประสบความขัดแย้งเสมอ ส่วนผู้ได้รับประโยชน์จากสังคมโดยทั่วกันก็จะมีความยินดีปรีดาปราโมทย์ เราสามารถขจัดความขัดแย้งอันนี้ โดยอาศัยระบบสังคมที่ไม่มีชนชั้นเท่านั้น
เครดิตภาพ: http://capitalism-unfold.blogspot.com
ศีลธรรมที่แท้จริงตามแนวคิดของ มาร์กซ์นั้น คือการที่ชนชั้นผู้ได้รับผลประโยชน์โดยทั่วถึงกัน
1
เพราะจะเป็นแรงผลักดันให้เราเข้าถึงสังคมในอุดมคติ คือสังคมของคอมมิวนิสต์ ให้สังเกตุประวัติศาสตร์แห่งวิวัฒนาการของสังคม
บุคคลผู้แสวงหาประโยชน์ส่วนตัวจากสังคม จะประสบความขัดแย้งเสมอ
ส่วนผู้ได้รับประโยชน์จากสังคมโดยทั่วกันก็จะมีความยินดีปรีดาปราโมทย์
เราสามารถขจัดความขัดแย้งอันนี้ โดยอาศัยระบบสังคมที่ไม่มีชนชั้นเท่านั้น
ในลัทธิสังคมนิยม คนงานทุกคนจะได้รับค่าจ้างตามที่ตนเองทำงาน
แต่ในลัทธิคอมมิวนิสต์เห็นว่า ทุกคนจะได้รับค่าจ้างตามความจำเป็น
เครดิตภาพ: https://www.abolishthebank.org
การต่อสู้ทางชนชั้นจะหมดไปตามทัศนะในลัทธิคอมมิวนิสต์ คือจะไม่มีระบบสังคมทางชนชั้น จะมีความเท่าเทียมกันระหว่างผู้ใช้แรงงานทางสติปัญญา
และใช้แรงงานทางกาย เช่นคนขับแท็กซี่กับอาจารย์มหาวิทยาลัย จะมีรายได้ที่ไม่ต่างกันนัก
รัฐบาลและศาสนาก็จะไม่มีความจำเป็นต่อไป เพราะถือว่า ศีลธรรมที่แท้จริงคือความเสมอภาค
คาร์ล มาร์กซ์ เห็นว่า ศาสนาทุกนิกายในโลกปัจจุบัน
ทุกองค์การศาสนาเป็นเครื่องมือของพวกปฏิกิริยานายทุน
ซึ่งมีไว้เพื่อปกป้องแสวงหาผลประโยชน์
และเพื่อมอมเมาชนชั้นกรรมาชีพ
1
เขาถือว่า ศาสนาเป็นยาเสพติดในทางการเมืองของพลเมือง
เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ส่งเสริมให้สังคมมนุษย์แบ่งชั้นวรรณะ
ที่สำคัญคือ ศาสนาเป็นเครื่องมือของชนชั้นนายทุน
"ศาสนาคือยาฝิ่น"
เครดิตภาพ: https://prachatai.com
แนวคิดของลัทธิคอมมิวนิสต์ที่สอดคล้องกับความคิดของ คาร์ล มาร์ก
ก็คือวลาดีมีร์ เลนิน (Vladimir Lenin) และเหมาเจ๋อ ตุง (Mao Tse Tung)
เลนิน กล่าวว่า ศาสนาก็เปรียบเสมือนกิน เหล้าจีน
ซึ่งบุคคลซึ่งเป็นทาสน้ำเงินทั้งหลายหลงไหลตกจมอยู่
ทำให้พลาดโอกาสที่จะมีชีวิตอย่างน่าพึงพอใจ
1
เหมา เจ๋อ ตุง มีทัศนะเกี่ยวกับศาสนาต่างๆว่า
คริสต์ศาสนานั้นเป็นของพวกจักรวรรดินิยม
และขงจื้อ ซึ่งเป็นบรมศาสดาของจีน และสถาปนาประเพณีจีนดั้งเดิมมา
เป็นเจ้าลัทธิระบบศักดินาลัทธิครองที่ดินส่งเสริมเฉพาะชนชั้นบัณฑิตนักปราชญ์ อันมีจำนวนไม่มาก
ให้มีอภิสิทธ์ความมั่งคั่ง ความมีหน้ามีตาในสังคม
วลาดีมีร์ เลนิน (Vladimir Lenin)
ประชาชนส่วนใหญ่ยากจนไร้การศึกษา ไม่ได้รับการสนับสนุนยกย่อง
แต่ต้องการให้ประชาชนส่วนใหญ่ตกเป็นทาส
มีการแบ่งชั้นวรรณะ ระหว่างคนจนกับคนรวย
ชนชั้นปกครองกับผู้อยู่ใต้การปกครอง ปัญญาชนกับชาวนาชาวไร่
ซ้ำยัง สนับสนุนให้ผู้หญิงจีนอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน
ส่งเสริมการมีนางสนมกำนัลและการมีภรรยามาก
ดังนั้นเพื่อปฏิบัติตามแนวคิดของ เหมา เจ๋อ ตุง พรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้ทำลายล้างลัทธิขงจื๊อ ด้วยวิธีการต่างๆเป็นต้นว่า กล่าวประจานขงจื๊อ ด้วยความชิงชัง มีการเผาหุ่นขงจื้อ มูลกรณีเหตุนั้นมาจากการที่ เหมา เจ๋อ ตุง นั้นเขาต้องการล้มล้างประเพณีจีนดั้งเดิมเสียทั้งหมด
เหมาเจ๋อ ตุง (Mao Tse Tung)
และสร้างสังคมใหม่ขึ้นตามอุดมการณ์ของฝ่ายคอมมิวนิสต์ แต่คอมมิวนิสต์จะกระทำการดังกล่าวไม่ได้เลย หากไม่สามารถลบล้างทำลายความเชื่อถือและความเลื่อมใสในตัวขงจื๊อศาสดาเดิมของจีนให้ได้ก่อน
แนวคิดของลัทธิคอมมิวนิสต์ เรื่องความกตัญญูกตเวที
การที่พ่อแม่ให้กำเนิดท่านนั้นเป็นบุญคุณอย่างหนึ่ง
แต่ขอถามว่า ข้าวที่ท่านกินใครทำ ชาวนามิใช่หรือ ขอถามว่าเสื้อผ้าที่ท่านใส่ใครผลิต กรรมกรมิใช่หรือ
2
ที่แท้นั้นผู้มีคุณแก่ท่านใหญ่หลวงที่สุดคือ "ประชาชน"
ท่านควรจะตอบแทนประชาชนด้วยชีวิตจิตใจอยู่ฝ่ายประชาชนจึงจะถูก
เมื่อเสนอด้วยข้อความดังกล่าวแล้วสรุปด้วยการสอนว่า
การทำงานปฏิวัติคือ การสนองคุณของผู้มีคุณอย่างใหญ่หลวงที่สุด
ไม่มีพฤติการณ์ใดๆที่จะเป็นการรู้จักคุณของผู้มีคุณยิ่งไปกว่าการปฏิวัติแล้ว
ข้อความที่ลัทธิคอมมิวนิสต์กล่าวนั้น เป็นจริงหรือไม่
การล้มล้างสังคมเดิมชนิดขุดรากถอนโคน และต้องปฏิเสธครอบครัวตนเองนั้นเป็นศีลธรรมหรือไม่ เป้นสิ่งที่เราต้องพิจารณาด้วยปัญญาและเหตุผล
จุดมุ่งหมายสูงสุดแห่งแนวคิดของคอมมิวนิสต์คือการสถาปนาระบบเศรษบกิจแบบสังคมคอมมิวนิสต์ ดังที่เลนิน ได้กล่าวไว้ว่า
เครดิตภาพ: https://themomentum.co
ศีลธรรมของคอมมิวนิสต์เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ในการทำลายระบบชนชั้น
ซึ่งทำให้พวกกรรมกรรวมตัวกันได้
เพื่อต่อสู้กับนายทุนผู้แสงหาผลประโยชน์ส่วนตัว
ดังนั้น พวกนิยมลัทธิมาร์กซ์ จึงไม่รีบร้อนที่จะใช้วิธีการใดๆ
แต่จะใช้วิธีการแทรกซึมทีละน้อย
แนวคิดของคอมมิวนิสต์
จึงมีลักษณะตรงกันข้ามกับจริยศาสตร์ของ
มหาตมคานธี(Mahatma Gandhi)
คือถือว่า...
"วิธีการที่ดีที่สุดนั้นจะต้องถูกกำหนดโดยจุดมุ่งหมายที่ดีที่สุดเหมือนกัน"
แหล่งอ้างอิง
1. ศ.ดร.กีรติ บุญเจือ, ชุดพื้นฐานแก่นปรัชญาปัจจุบัน.
2. ศ.ดร.วิทย์ วิศทเวทย์, ปรัชญาทั่วไป มนุษย์โลกและความหมายของชีวิต.
3. สุรพงษ์ ชัยนาม, มาร์กซ์และสังคมนิยม.
4. จิตร ภูมิศักดิ์, คาร์ล มาiร์กซ์ Karl Marx,Biography.
-วิรุฬหก-

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา