31 พ.ค. 2020 เวลา 13:07 • ปรัชญา
ปรัชญามาธยมิกะ
Episode 1
นาคารชุนหรือที่กลุ่มนักปรัชญาตะวันออกนิยมเรียกว่า อารยนาคารชุน เป็นผู้ก่อตั้งสำนักมาธยมิกะ (ทางสายกลาง) เป็นนักตรรกวิทยาที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่ง
1
เกิดที่วิทารภะ ปัจจุบัน เรียกว่า เพราร์ ในมหาโกศล
ในระหว่างรัชสมัยของพระเจ้าสาตวาหนะแห่งราชวงศ์อานธระ
นาคารชุนเป็นนักปรัชญาที่รุ่งเรื่องอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๒
หรือ ๖๐๐ – ๗๐๐ ปี หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน
ท่านนาคารชุน /เครดิตภาพ: https://www.gotoknow.org
ข้อมูลในคัมภีร์พระไตรปิฎก ภาษาจีนบอกว่า
ท่านนาคารชุนมีชีวิตอยุ่ถึง พ.ศ. ๙๐๐ โดยประมาณ
ความคิดของนาคารชุนมีอิทธิพลต่อแนวความคิดของนักปรัชญาในพระพุทธศาสนายุคใหม่เป็นอย่างมาก นาคารชุนไม่ใช่พวก “นัตถิกวาทิน” หรือ “อุจเฉทวาทิน”
เทียบ ท่านนาคารชุนในตะวันออก กับคานท์ (Immanuel Kant) และ เฮเกล(Georg Wilhelm Friedrich Hegel)นักปรัชญาในฝั่งตะวันตกนั้น
แม้ว่าจะมีชีวิตอยู่ต่างยุคต่างสมัยกัน
แต่ก็มีวิธีการในทางปรัชญาคล้ายคลึงกัน
นั่นก็คือ ทั้งนาคารชุน คานท์ และเฮเกล
ต่างก็อาศัยวิภาษวิธีเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงความจริงทางปรัชญา
อิมมานูเอล ค้านท์ (Immanuel Kant)
แต่วิภาษวิธีของเฮเกลกับของนาคารชุนต่างกันในแง่ที่
วิภาษวิธีของเฮเกลเป็นการเคลื่อนที่จากความคิดที่ต่ำกว่าและมีสารัตถะน้อยกว่าไปยังความคิดที่สูงกว่าและมีสารัตถะมากกว่า
จนในที่สุดก็ไปถึงความเป็นจริงสูงสุดโดยการใช้อัชฌัตติกญาณ
ที่อยู่เหนือประสบการณ์
สำหรับนาคารชุนนั้นวิภาษวิธีเป็นการใช้เหตุผลวิพากษ์
เพื่อพิสูจน์ความเป็นศูนยตา
ซึ่งนำไปสู่การปลดเปลื้องจิตให้หลุดพ้นจากการยึดถือในทุกทฤษฎี
และเข้าถึงความหลุดพ้นในที่สุด
เกออร์ค วิลเฮ็ล์ม ฟรีดริช เฮเกล (Georg Wilhelm Friedrich Hegel)
ค้านท์กับนาคารชุนได้แบ่งความรู้ออกเป็น ๒ ระดับเหมือนกันคือ
ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์และความรู้เหนือประสบการณ์
แต่การเขาถึงความจริงต้องอาศัยอัชฌัติติกญาณเพียงอย่างเดียว
แม้จะมีนักปรัชญาหลายท่านใช้คำนี้เรียกสำนักมาธยมิกะก็ตาม แนวคิดพื้นฐานแห่งปรัชญานาคารชุนก็คือว่า “ในโลกนี้ ไม่มีอะไรคงอยู่ นอกจากสาระหนึ่งเดียวที่เป็นการสำแดงตัวออกมาของสัสสตภาวะ (sub specie Aeterntiatis)”
ทรรศนะของนาคารชุนไม่ใช่รูปแบบที่เป็นพระพุทธศาสนาดั้งเดิม แต่ก็ไม่ได้ขัดแย้งกับพระพุทธศาสนาดั้งเดิมทั้งหมด
แต่นาคารชุนคือนักปรัชญาที่มีแนวความคิดค่อนข้างจะแปลกใหม่
มีแนวทรรศนะที่แยกออกจากแนวความคิดที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาดั้งเดิมแล้วก้าวมาสู่ที่สุดโต่งอีกด้านหนึ่ง นี่เขาล่ะ...
โดยใช้วิธีการปฏิเสธต่อปัญหาทุกอย่าง
บางกรณีก็ไม่สอดคล้องกับแนวความคิดในคัมภีร์พระพุทธศาสนาดั้งเดิม
ประเด็นปัญหาที่นาคารชุนชอบหยิบยกขึ้นมาอภิปรายและเสนอคำตอบไว้
นับว่าเป็นปัญหาที่หนักสำหรับนักศึกษาปรัชญายุคใหม่
ซึ่งแม้แต่นักปรัชญาตะวันตกเองก็พยายามมาเป็นเวลานานที่จะหาคำตอบที่ชัดเจน ลักษณะการวิเคราะห์ปัญหาของนาคารชุน
บางครั้งก็ทำให้คุนคุยด้วย เกิดความหงุดหงิดขัดเคือง
เพราะลีลาวิเคราะห์ที่กวนโอ้ย..และยืดยาว
เครดิตภาพ: https://www.bkkvariety.com
นาคารชุนถือกำเนิดขึ้นในตระกูลพราหมณ์ เป็นบุตรของพราหมณ์ซึ่งครึ้งหนึงได้รับคำทำนายว่าจะไม่สามารถมีบุตรได ถ้าไม่จัดพิธีเลี้ยงนักบวช ๑๐๐ คน
ท่านนาคารชุนเป็นคนมีรูปรางลักษณะงดงาม
แต่ชีวิตวัยเด็กค่อนข้างจะลำบากยากเข็ญเพราะคำทำนายของพวกหมอดู
พราหมณ์ผู้เป็นบิดาได้ฟังคำทำนายว่า “ถ้าจะให้บุตรมีอายุยืนอยุ่ได้ถึง ๗ เดือน ต้องจัดพิธีเลี้ยงนักบวชอีกเป็นครั้งที่ ๒
และถ้าจะให้บุตรมีอายุยืนอยุ่ได้ถึง ๗ ปี ต้องจัดพิธีเลี้ยงนักบวชเป็นครั้งที่ ๓”
ก่อนที่ นคารชุนจะมีอายุครบ ๗ ปี มารดาบิดาจึงตัดสินใจให้นาคารชุน
ออกบวชแล้วจาริกแสดงบุญ เหอะลูกเอ้ย...
เอนเตอร์เทนพวกนักบวชไม่ไหว จัดงานเลี้ยงบ่อยเกิ๊น (นี่ว่าเอง)
นารชุนพร้อมกับคนรับใช้เดินทางรอนแรมมาถึงมหาวิทยาลัยนาลันทา
และได้บวชเป็นบรรพชิตในพระพุทธศาสนา
ตามแบบกาลจักรของสำหนักสุขาวดี...
ต่อจากนั้นจึงได้ฝากตัวเข้าเรียนวิชากับท่านราหุลภัทระซึ่งเป็นอธิการบดีแห่งมหาวทิยาลับนาลันทาในยุคนั้น
นาลันทา/ เครดิตภาพ: https://th.wikipedia.org
นาคารชุนศึกษาพระเวทเป็นอันดับแรก
หลังจากศึกษาพระเวท ๔ จบแล้วก็ลาสิกขาไปใช้ชีวิตเป็นฆราวาส
ประกอบอาชีพโดยใช้เวทมนต์คาถาที่ร่ำเรียนมา
ขณะที่อยู่มหาวิทยาลัยนาลันทา
เชี่ยวชาญในอิทธิปาฎิหาริย์ หายตัวได้
 
วันหนึ่งหายตัวเล็ดลอดเข้าไปในบ้านของผู้อื่นและถูกจับได้
ทำให้เกือบต้องเสียชีวิต อย่างไรก็ตามนาคารชุนอยุ่รอดปลอดภัยได้เพราะนับถือพระพุทธศาสนา ต่อมา ได้เรียนพระไตรปิฎกจนแตกฉาน และได้ไปเรียนต่อปิฎกที่ ๔ ณ ภูเขาหิมาลบัย
ปิฎกที่ ๔ นี่เองทำให้นาคารชุนมีความแตกฉานในลัทธิมหายานอย่างมาก
ตำนานบอกว่า ขณะที่ศึกษาอยู่ ณ มหาวิทยาลัยนาลันทา นาคารชุนชอบศึกษาวิธีเล่นแร่แปรธาตุ รู้จักวิธีการเสกสิ่งของต่างๆ ให้เป็นทองคำ และเกิดเหตุการณ์ณ์ข้าวยากหมากแพง
พวกภิกษุบิณฑบาตไม่พอฉัน นาคารชุนก็ถวายความช่วยเหลือโดยใช้วิชาคาถาอาคมนี่แหละ แต่ภิกษุบางพวกก็ไม่พอใจที่นาคารชุนมีพฤติกรรมลึกลับ ถึงกับไล่เขาออกจากสำนักและสั่งให้สร้างวัดและโรงอุโบสถ ๑ ล้านหลงเพื่อเป็นการไถ่โทษ เอ๊ะยังไง ไล่แล้วก็ใช้งานอีก
 
นาคารชุนเป็นผู้ที่มีความรู้เชี่ยวชาญผิดกับคนธรรมดาทั่วไป
เขาสามารถโต้ตอบปัญหากับเจ้าลัทธิต่งๆ ได้อย่งไม่สะทกสะท้าน
มีตำนานเล่าว่า
ขณะที่นาคารชุนอภิปรายปัญหาอยู่กับท่านศังกราจารญ์
พยานาค ๒ ตัวที่แปลงกายเป็นเด็กเที่ยวอยู่บนโลกมนุษย์
ได้ยินเข้าแล้วหลอน.. สติแตก ได้รีบหนีลงไปภพแห่งนาคทันที ขี้ตกใจมั้ง
นาคารชุนรู้ จึงรีบตามไปยังภพพญานาค พวกนาคได้ต้อนรับปฏิสันถารอย่างดี
ฝากตัวเป็นศิษย์เรียนปรัชญาจากท่านนาคารชุน และให้สัญญาว่าจะชวยหาอุปกรณ์สร้างวัด แต่ขอให้อยู่ร่วมกันในภพนาคต่อไป จะตั้งสำนักอคาเดมีในภิภพบาดาลให้
นาคารชุนอธิยายว่า ตัวเขาเองลงมาที่ภพนาคนี้ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาอุปกรณ์ก่อสร้างวัด
แต่มาค้นหาคัมภีร์ปรัชญาปารมิตา
ซึ่งมีถึง ๑๐๐,๐๐๐ คาถา
นาคารชุน /เครดิตภาพ: https://susannefreeborn.com
บางตำนานบอกว่า นาคารชุนมีอายุยืนถึง ๓๐๐ หรือ ๖๐๐ ปี อุทิศตัวสอนหลักธรรมและเขียนตำราที่หลากหลายนอกเหนือจากคัมภีร์ปรัชญาปารมิตา เช่น ตำราวิชาแพทย์ วิชาเล่นแร่แปรธาตุ วิชาดาราศาสตร์ หลักแห่งตันตระ เป็นต้น รวมทั้งหมด +๑๑ เรื่อง
 
มีผู้วิเคราะห์ว่า ที่เขาได้ชี่อว่า “นาคารชุน” เพราะเหตุหลายประการ เช่น
เพราะเป็นผู้พิชิตเหล่าพญานาค
เพราะเกิดมาพร้อมกับสัจธรรมที่ลึกซึ้ง
เหมือนพญานาคออกมาจากมหาสมุทรที่ลุ่มลึก
เพราะมีหลักปรัชญาที่ลึกซึ่งมีขอบเขตกว้างไกลเหมือนกับมหาสมุทร
เพราะถือกำเนิดที่ใต้ต้นไม้
นักปราชญ์รุ่นหลังหลายท่านพรรณนาลักษณะทางรูปกายของนาคารชุนให้มีส้วนคล้ายกับมหาบุรุษ โดยบอกว่า นาคารชุนมีตาสีแดงสุกส่วงเป็นประกาย มีร่างกายประกอบด้วยมหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการ
แต่แตกต่างจากมหาบุรุษลักษณะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
มีศีรษะแข็งเหมือนหิน อยู่ในฐานะเหมือนหพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๒
(รองจากพระโคดมพุทธเจ้า) สุดจัดจริงๆ
เป็นนักปรัชญาและเป็นอรรถกถาจารย์ผู้ยิ่งใหม่ มีอำนาจ ลึกล้ำยากที่ใครจะหยั่งรู้ได้ เหมือนกับอำนาจของ “อรชุน"” ผู้พิชิตข้าศึกทั้งหมดความยิ่งใหญ่ของนาคารชุนทำให้หลายคนยกย่องเขาไว้ในฐานะเหมือนกับศาสดาองค์หนึ่ง
อรชุนและพระกฤษณะ ในสงครามทุ่งคุรุเกษตร (มหาภารตะ)
นักภารตวิทยาลบางทานนกล่าวว่า
นาคารชุนเป็นพระศิวะ เป็นศิษย์ของราหุลภัทระ พระพุทธศาสนาได้รับอิทธพลมาจากภควัทคีตาและไศวนิกาย ปรัชญาของวนาคารชุนเป็นลักษณะแห่งสตรีเพศแห่งศิวะ
คัมภีร์ปรัชญาปารมิตาถือกันว่าเป็น
“กาล, เป็นไทม์(time)” และตัวศิวะ เองเป็นการแสดงตัวออกมาแห่ง “มหากาล”
บันทึกของสมณะอี้จิงบอกว่า
ดวงอาทิตย์ที่ส่องสว่างแก่บชาวโลกมีอยู่ ๔ ดวง คือ (๑) นาคารชุน (๒) อัศวโฆษ (๓) กุมารภัทระ (๔) อารยเทพ
นักวิเคราะห์ฝ่ายตะวันตกหลายคนคิดว่า เรื่องของนาคารชุนน่าจะเป้นเพียงนิยาย แสดงวีรกรรมทางภูมิปัญญา และปฏิเสธความมีอยุ่จริงของบุคคลที่ชขื่อว่านาคารชุน และบอกว่า ถ้านาคารชุนมีอยู่จริง คนที่มีชื่อนี้จะต้องมีอยู่อย่างน้อย ๓ คน คือ
๑. นาคารชุนแห่งมาธยมิกะ มีชีวิตอยู่ราวศตวรรษที่ ๒
๒. นาคารชุนซึ่งเป้ฯนักเล่นแร่แปรธาตุ มีชีวิตอยู่ราวศตวรรษที่ ๖
๓. นาครชุนแห่งตันตระ มีชีวิตอยุ่ราวศตวรรษที่ ๑๐
ท่านนาคารชุน
บางมติบอกว่า ปราชญ์ที่ซื่อนาคารชุน
ซึ่งเป็นบุคคลในประวัติศ่สตร์ มีอยุ่ ๒ คนเท่านั้น
คือ นาคารชุนผู้ก่อนต้้งสำนักมาธยมิกะ
และนาคารชุนซึ่งเป็นนักเล่นแร่แปรธาตุ
และเป็นอรรถกกถาจารย์แห่งตันตระ
ตำนานทิเบตบอกว่า
ไม่ว่าจะเป็นนรนาคารชุนที่ก่อนต้งสำนักมาธยมิกะ
หรือเป็นอรรถกถาจารย์แห่งตันตระ
เมื่อพิสูจน์จากหลักฐญานโดยทั่วไปแล้ว
สรุปได้ว่า เป็นคนเดียวกันนั่นเอง
เรื่องของนาคารชุนถือเป็นตำนานที่ยิ่งใหญ่
ที่จะต้องมีการหยิบยกขึ้นมา เขียนบทความในให้ติดตามในตอนต่อไป
ถึงเทคนิควิธีวิภาษ“จตุกโกฏิ” และ แนวคิดทฤษฎี "ศูนยตา"
ซึ่งนักเทศนาเซเลบรัฐไทยมักอ้างและพูดติดปากกัน
ท่านนาคารชุนผู้นี้จึงเป็นออริจินอล
ยืนหนึ่งนักปรัชญาสำนักมาธยามิกะนั่นเอง
ติดตามต่อตอนต่อไปนะครับ
แหล่งอ้างอิง
๑. ความจริง “กาลจักร” พระพุทธศาสนาตันตระ ในจำนวน ๔ สาขา คือ (๑). มันตรยาน (๒) วัชรยาน (๓) สหัชยาน (๔) กาลจักรยาน
๒. ปิฎกที่ ๔ ถ้าว่าตามตำนาจทิเบตน่าจะเป็น “ตันตรปิฎก”
๓. ที. ปา. ๑๑/๒๓๕/๒๓๕
๔. ศ.ดร. ระวี ภาวิไล, อภิธรรมสำหรับคนรุ่นใหม่, ๒๕๓๖
๕. เรือโทหญิง สุมาลี ฉิมตระกูล. ทัศนะเรื่องศูนยตาของนาคารชุน.
๖. Jangh, An Introduction to Madhyamaka Philosophy.
๗. Satish Chandra Vidyabhusana , A History of Indian Logic.
-วิรุฬหก-
โฆษณา