1 มิ.ย. 2020 เวลา 03:00 • สุขภาพ
ไทยแลนด์ only 😏ขนมนี้มีแค่ที่ไทย❓‼️ แต่ทำไมพ่วงชื่อต่างประเทศ😱
โอ้ย.. หิวขนม หลายคนเวลาหิว ต้องการน้ำตาลมาเติมเต็มเคโรลี่ในร่างกาย ออกไปตลาดตามหาของกินขนมจุกจิก กินเล่น(อย่างจริงจัง) กันหน่อย แต่สังเกตเห็นได้ว่า ทำไม่ขนมบางอย่างมันมีชื่อแปลกๆ เหมือนมาจากต่างประเทศแต่ไปประเทศนั้นก็ไม่มีขาย เอ้อ ยังไง มาดูกันว่ามีของกินหรือว่าขนมอะไรบ้าง แล้วทำไมไปตั้งชื่อแบบนั้นนนนนนน
ขนมโตเกียว
ขนมประจำตลาดไทย ดังไกลยันต่างแดน ตลาดใดไม่มีขนมโตเกียวขายอย่างเรียกว่าตลาดเลย (ฮา) ขนมที่เราฮิตกินกันติดลมบนกันอยู่บ่อยๆ บางที่ก็มาขายหน้าโรงเรียนมั้งละ ขายในตลาดมั้งละ หน้าคอนโดก็มีเข็นมาขาย แต่รู้หรือเปล่า ขนมโตเกียว ไม่มีขายในโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น (อ้าว) แล้วใครตั้งละเนี้ย ก็ว่าไปญี่ปุ่นไปหาซื้อไม่เห็นมี ขนมโตเกียวที่เรารู้จักกันรู้หรือไม่ว่ามีมาเป็นเวลากว่า 50 ปี แล้ว ที่มาที่ไปเขาว่ากันว่า มาจากเป็นการดัดแปลงเอาแป้งของขนมโดะระยะกิ ของญี่ปุ่นมาดัดแปลงทำเป็นขนม (ขนมที่โดเรมอนชอบกินนะเหลาะ) โดยมีการใส่ไข่ ใส่ใส้กรอก หรือ ใครชอบขนมหวานก็ใส่ครีม สมัยนี้มีหลายใส่มาก แล้วแต่แม่ค้าพ่อค้าจะดัดแปลงกันเอาเองเลย เริ่มต้นขายที่ห้าง ไดมารู แถวราชประสงค์ ห้างสัญชาติญี่ปุ่นนี้เป็นห้างที่มีชื่อเสียง ทำให้คนขายต้องการให้ขนมที่ตัวเองขายในห้าง ขายดี จึงเอาชื่อเมืองโตเกียวประเทศญี่ปุ่น ที่ใครๆก็รู้จักมาตั้งเป็นชื่อขนมให้สอดคล้องกับห้างไดมารูที่เป็นห้างญี่ปุ่น และเรียกติดปากมาจนทุกวันนี้
ลอดช่องสิงค์โป
1
ลอดช่องน้ำกระทิ เป็นขนมไทยมานานแล้ว แต่ลอดช่องสิงคโปร์ละเป็นลอดช่องของประเทศสิงคโปร์เหรอ แล้วเราไปเอาขนมเค้ามาใช่ไหม คำตอบคือ ใช่และไม่ใช่จ้า เมื่อประมาณปี 2504 มีลอดช่องร้านหนึ่งชื่อว่า สิงคโปร์โภชนา ตั้งอยู่หน้าโรงหนังสิงคโปร์ หรือโรงหนังเฉลิมบุรี แถวเยาวราช เป็นที่รู้จักกันดีในย่านนั้นว่า ลอดช่องหน้าโรงหนังสิงคโปร์ นั้นอร่อยมาก ทำให้ทุกคนนิยมมาทาน นานๆ เข้าด้วยความขี้เกียจของคนไทย (คนประเทศอื่นก็เหมือนกัน) ก็เลย ตัดทอนให้มันสั้นลง เหลือแค่ ลอดช่องสิงคโปร์ จนเรียกกันมาจนถึงทุกวันนี้ แต่พื้นเพเดิมขนมชนิดนี้เป็นขนมของกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรียกว่า เชนเดล(ภาษาชวา) เป็นขนมพื้นบ้าน มีทั้งใน อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า เวียดนาม และรวมถึงสิงคโปร์ แต่เดิมไม่ได้ทานกับกระทิหรือน้ำแข็งอย่างที่เราคุ้นเคย แต่จะมีแค่ส่วนที่เป็นขนมสีเขียวๆเท่านั้นจ้า
ข้าวผัดอเมริกา
ท้าวความกันไปเมื่อครั้งคุณหญิงสุรีพันธ์ มณีวัต(ภรรยานายวิลาศ มณีวัต บรรณาธิการ น.ส.พ.ชาวกรุง คนแรก) ขณะทำงานเป็นผู้จัดการร้านราชธานีภัตตาคาร ซึ่งเป็นร้านอาหารประจำสนามบิน ของกรมรถไฟในสนามบินดอนเมือง เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน มีการยกเลิกอาหารเช้าของสายการบินแห่งหนึ่ง ซึ่งอาหารส่วนใหญ่เป็นอาหารเช้าแบบ อเมริกัน ทำให้ ไข่ดาว ใส้กรอก แฮม เหลือ ไม่ได้รับประทาน คุณหญิงสุรีพันธ์จึงนำข้าวผัดที่มีอยู่มาผัดกับอาหารเช้าแบบอเมริกันเพื่อรับประทาน นายทหารอากาศไทยที่เห็นเข้าก็สั่งทานด้วย เมื่อทหารอเมริกันมาเห็นและถามถึงชื่อข้าวผัดดังกล่าว คุณหญิงสุรีพันธ์ ตั้งชื่อว่า ‘อเมริกัน ฟรายด์ ไรซ์’ หรือ ‘ข้าวผัดอเมริกัน’ เราจึงได้อาหารไทยแบบอเมริกัน ทานกันติดปากจนทุกวันนี้
ขนมจีน
ขนมจีนที่เรารับประทานอยู่นี้ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับประเทศจีนแต่อย่างใด และดูไม่เห็นเหมือนขนมตรงไหน เพราะมันเป็นอาหารคาวชัดๆ ทำไมเรายังเรียกมันว่าขนมละ ขนมจีน ไม่ได้เป็นขนมของคนจีน และมันเป็นของกินประเภทอาหารคาวจากเมืองมอญตะหาก ชาวมอญจะเรียกขนมจีนที่เราทานว่า “คนอมจิน” คนอมแปลว่า จับกันเป็นก้อน จินแปลว่าทำให้สุก เนื่องจากการทำขนมจีนนั้นทำจากแป้งหมักให้เป็นก้อนเหลวๆ แล้วบีบให้เป็นสายลงในน้ำร้อน (สุกครั้งที่หนึ่ง) จะได้เป็นเส้นขนมจีนอย่างที่เราเห็นกัน จากนั้นเราก็ทำน้ำซุปขนมจีน เป็นแกงเขียวหวาน น้ำยาป่า หรือน้ำเงี้ยว เป็นต้น แล้วเอาเส้นขนมจีนใส่ (สุกครั้งที่สอง) ดังนั้นขนนจีนจึงต้องสุกสองครั้ง จึงเรียนก คนอมจิน ตามภาษามอญ นั้นเอง
เอาหละ จบแค่นี้ก่อน เดี๊ยวมาเล่าใหม่ อย่าลืมติดตาม เพจน้อยๆ นี้ด้วยนะจ๊ะ แล้วเจอกันใหม่รอบหน้านะ จะหาอะไรสนุกๆ มาเล่าให้ฟังใหม่ สวัสดี
โฆษณา