7 มิ.ย. 2020 เวลา 12:24 • ปรัชญา
เวลาคืออะไร มีอยู่จริงหรือไม่? Part2
What is real time there? ตอนที่2
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เห็นต่างจากนิวตัน
ไอน์สไตน์(Albert Einstein) ตั้งทฤษฎีและมีการทดลองยืนยันว่า
เวลาไม่ใช่สิ่งสัมบูรณ์ (Absolute) อัตราการเดินของนาฬิกาช้าลง
เมื่อความโน้มถ่วงมีความแรงขึ้น
หรือเมื่อนาฬิกาเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วสัมพัทธ์กับผู้สังเกตุ
อัตราการเดินของนาฬิกาที่เป็นไปอย่างสัมพัทธ์
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein)
ทำให้เราทราบว่า ทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ “เวลา” (Time) ขึ้นอยู่กับทั้งความเร็วสัมพัทธ์ และ ความเข้มของสนามโน้มถ่วง
ผมขอยกตัวอย่างจากกรณีศึกษาละกัน ไปช้าๆครับ
เอาเคสเกี่ยวกับฝาแฝดคู่หนึ่งละกัน จะเรียกว่าปฏิทรรศน์ฝาแฝด (Twin Paradox)ก็ได้ เพื่อเสริมความเข้าใจ
สมมุติว่า มีแฝดคู่หนึ่ง ให้ชื่อนายA กับนายB
แฝดคนหนึ่ง (นาย A) เดินทางไปในอวกาศด้วยความเร็วใกล้เคียงความเร็วแสง ในขณะที่แฝดอีกคนหนึ่งอยู่นิ่งบนโลกไม่ได้เคลื่อนที่ (นาย B )
นาย B สังเกตุการเคลื่อนที่ของยานอวกาศอยู่บนโลก
โดยที่บนโลกนั้นเคลื่อนที่ได้ช้าลง เพราะนาย Aที่อยู่ในยาน เดินทางไปด้วยความเร็วใกล้เคียงแสง เวลาของนาย A จึงผ่านไปน้อยกว่า
ในขณะที่นาย B อยู่นิ่งและโลกหมุนรอบตัวเอง
ด้วยความเร็วที่น้อยกว่าความเร็วแสง
เวลาจึงผ่านไปยาวนานกว่า ดังนั้นเมื่อนาย A เดินทางกลับมายังโลก
เขาจะพบว่าคู่แฝดของตนแก่ลงไปมากกว่าเขา นายA ยังฟิตปั๋งหล่อเฟี้ยว
แต่นายB กลายสภาพเป็นโก๋แก่ อะไรทำนองนี้
หรือถ้าใครปิ๊งเด็ก แต่กลัวข้อหาพรากผู้เยาว์ ถ้ามีตังค์แบบอีลอน มัสก์ ก็ลองนั่งยานออกไปนอกโลกสักวันสองวัน พอกลับมาอายุคงพอกันละ ขอแต่งงานได้เลย ก็ว่ากันไป...
1
Twin Paradox เครดิตภาพ: https://rhapsodyinbooks.wordpress.com
แม้ว่าจะขัดกับสามัญสำนึกหรือความรู้สึกระดับชาวบ้านร้านตลาดแบบเราๆ แต่นักวิทยาศาสตร์ เขาทดลองจริงจังหลายครั้งละ มันเป็นแบบนั้นจริงๆ
2
ผู้เขียนก็แปลกใจแล้วตั้งข้อสังเกตุ เวลาดูหนังแล้วก็เอาแนวคิดทฤษฎีของไอน์ไสไตน์ มาเทียบๆดูก็ไม่ถึงกับวิค้งวิเคาระห์อะไร ไอ้หนังประเภทซุปเปอร์ฮีโร่ ท่องอวกาศ ดังๆก็ อเวนเจอร์ เอ็นเกมส์(Avengers: Endgame) เป็นต้น ฉากที่เฮียโทนี่ (iron man) ติดแหงกอยู่บนอวกาศเป็นเดือน แล้วแครรอล แดนเวอร์ (Cap Marvel) ไปช่วยกลับมา ตอนแบกยานกลับมาถึงโลกเนี่ย
1
ภาพยนต์เรื่อง: Avengers: Endgame
ไหงพรรคพวก อย่างเมียพี่แก หรือกัปตันอเมริกาและคนอื่นๆ ไม่แก่ตายล่ะ ฉากแบบนี้พลอตเรื่องหลุดๆแบบนี้ในหนังแนวนี้มีเยอะ เออ... แต่ถ้าคิดจุกจิกหยุุมหยิม ตรรกะเยอะดูหนังก็คงไม่สนุกล่ะ ช่างเถอะ
หนึ่งตัวอย่างในทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปอธิบายว่าว่า นาฬิกาที่อยู่ใกล้วัตถุที่มีมวลมาก เช่น โลก จะเดินช้ากว่านาฬิกาที่อยู่ห่างออกไป
นาฬิกาที่ฐานของหอคอยอยู่ใกล้โลกมากกว่า เวลาเดินช้ากว่าบนยอดหอคอย
ตัวอย่างของปรากฏการณ์นี้สมมติให้มีคู่แฝดอีกเช่นกัน นายA อาศัยอยู่บนภูเขาลูกหนึ่งที่ตั้งสูง ในขณะที่แฝดอีกคนคือนาย B อยู่ที่ระดับนํ้าทะเล
นาย A จะแก่ตัวเร็วกว่า เมื่อทั้งคู่พบกันคนหนึ่งจะแก่กว่าอีกคน
กรณีนี้ความต่างของอายุจะมีค่าน้อยมาก
แต่จะปรากฏความแตกต่างของอายุชัดเจนหากแฝดคนใดคนหนึ่งเดินทางไปในยานอวกาศด้วยความเร็วใกล้แสง หนีห่างไปจากความเข้มของแรงโน้มถ่วงของโลก
**ก็คือในสภาวะสุญญากาศจะไม่มีความเข้มของสนามโน้มถ่วงของโลกคอยเหนี่ยวรั้งเวลาอะไรทำนองนั้น***
หรือหากแฝดคนนั้นตกลงไปในหลุมดำ เวลาของนาย A จะหยุดนิ่ง ในขณะที่เวลาของ นาย B ยังคงเดินไปปกติบนโลก เพราะเวลาจะหยุดนิ่งในหลุมดำ
จากคำอธิบายอัตราการเดินของนาฬิกาทั้ง ๒ ทำให้เราสามารถรับรู้ได้ว่า เมื่อวัตถุใดๆ มีมวลและดำรงอยู่ในห่วงเวลาใดๆ สิ่งที่จะตามมาก็คือแรงโน้มถ่วง
แรงโน้มถ่วงนี้เองที่เป็นตัวทำให้ปริภูมิเวลา หรือ กาลอวกาศ (Space-time)
เกิดการบิดงอ เนื่องจากตามทฤษฎีสัมพัทธภาพให้ภาพแก่เราว่าในเอกภพอันว่างเปล่านั้นเสมือนผืนผ้าใบ เมื่อมีวัตถุที่มีมวล จะทำให้ผืนผ้าใบบุ๋มลงไป และบริเวณที่ยุบตัวบุ๋มลงไปทำให้วัตถุที่มีมวลน้อยกว่าเกิดการโคจรรอบวัตถุมวลมาก
จักรวาลเหมือนแผ่นยาง มวลวัตถุน้อยกว่าถูกดึงด้วยแรงของวัตถุที่มีมวลมากกว่า เกิดการเคลื่อนที่เป็นวงโคจรรอบวัตถุมวลมาก
ปรากฏการณ์นี้ยังใช้ได้กับคำอธิบายเกี่ยวกับการมองเห็นดวงดาวบนท้องฟ้า
ภาพดวงดาวที่เราเห็นนั้น บางทีแล้วเราไม่ได้มองเห็นมันอยู่ตรงหน้าเราในแบบเส้นตรง มันอาจอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ใช่เส้นตรง
แต่เนื่องด้วยแสงจากดาวดวงนั้นเคลื่อนที่มาใกล้กับดวงอาทิตย์แล้วดันถูกมวลหรือแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ไปหักเหเส้นทางเดินของแสงที่กำลังเดินทางมา ส่งผลให้เรารับรู้ตำแหน่งของดาวดวงนั้นผิดไปจากความเป็นจริง
เป็นเหตุผลว่าเรามักมองเห็นอดีตของดวงดาวต่างๆ ตามระยะห่างที่ตั้งของเรา ก็เพราะว่าแสงใช้เวลาในการเดินทางนานมากจากดาวดวงใดๆ ก่อนจะมากระทบกับประสาทการรับรู้ภาพของเรา
ยกตัวอย่างง่ายๆ ว่าถ้าดวงอาทิตย์เกิดกระเด็นหลุดไปจากสุริยะจักรวาลในทันทีทันใด มนุษย์เราในฐานะผู้สังเกตที่อยู่บนโลกจะยังไม่มีใครรู้ว่าดวงอาทิตย์ได้จากพวกเราไปแล้ว จนกว่าจะใช้เวลาอีก ๘.๓ นาทีต่อมา ถึงรับรู้ได้ว่าดวงอาทิตย์กระเด็นหลุดไป เพราะนั่นคือเวลาที่แสงเดินทางจากดวงอาทิตย์ถึงโลกนั่นเอง
2
ในวรรณกรรมทางศาสนาเรื่องหนึ่งซึ่งคิดว่าหลายท่านคงจะได้เคยฟังหรือเคยอ่านกันมาบ้าง เรื่องกามนิตและวาสิฎฐี ภาคสวรรค์ ท่านผู้แต่งเขียนได้พรรรณาบรรยายเมื่อทั้งกามนิตย์และวาสิฎฐี ไปบังเกิดในพรมโลก เป็นดวงดาวสองดวง ในมุมมองของคนบนโลกที่มองออกไป
ภาพประกอบหนังสือเรื่อง "กามนิต-วาสิฏฐี" วาดโดย ช่วง มูลพินิจ
ประเด็นคือเทพบุตรกามนิตหรือเทพธิดาวาสิฎฐีก็แล้วแต่เนี่ย จะสื่อสารส่งไลน์หากัน เวลาของสองท่านนั้นความรู้สึกก็เหมือนกับเราๆทั่วไปนี่แหละ
แต่มุมมองที่สังเกตุการณ์บนโลก
ไอ้ข้อความที่เขาแชทส่งกันแค่คลิ๊กเดียวเนี่ย มันผ่านไปหลายล้านปีเลยนะครับ
โดยที่เรื่องทำนองนี้จะมีปรากฎให้เห็นในชาดกหรือวรรณกรรมของทางพุทธเราไม่น้อยเลย
อย่างเช่นเรื่องของนางปฏิปูชิกา เป็นเทพธิดา หมดบุญแล้วลงมาเกิดเป็นคนอายุเกือบร้อยปี ระหว่างนั้น หมั่นสั่งสมบุญ เฝ้าอฐิษฐาน ขอให้ได้กลับไปเจอเทพบุตรสุดที่รักอีก เมื่อตายแล้วกลับสวรรค์ไป ปรากฏว่าเวลาผ่านบนสวรรค์ผ่านไปแค่นาทีสองนาทีเท่านั้น แหมมๆๆ
ใครบอกว่า ศาสนาเป็นเรื่องของคนล้าสมัย นี่มันปรัชญาวิทยาศาตร์ชัดๆเลย มีเรื่อง Being มี Space & time สุดขอบจักรวาล อะไรทำนองนี้มีเยอะลองไปหาอ่านดูครับ สนุกน่าขนลุกทีเดียวล่ะ...
ต่อกันในPart3ครับเหลืออีกนิดหน่อย
แหล่งอ้างอิง
1. ศรพราหมณ์ วรอุไร,บริบทเรื่องเวลาและพื้นที่กับการรับรู้ของมนุษย์.
2. สมภาร พรมทา, ความเร้นลับของเวลา.
3. Scientific American, เรื่องของเวลา ,แปลโดยปิยบุตร บุรีคำ.
4. Karl Adolph Gjellerup(คาร์ล แอดอล์ฟ เกลเลอโรป), กามนิต.
-วิรุฬหก-
1
โฆษณา