11 มิ.ย. 2020 เวลา 05:07 • ธุรกิจ
เมื่อธนาคารท้าชน Startup Unicornในสังเวียน Food Delivery
## เกิดอะไรขึ้น ##
ธนาคารไทยพาณิชย์เปิดตัว Robinhood แอปพลิเคชัน Food Delivery เพื่อช่วยเหลือร้านอาหารที่เผชิญความยากลำบากในช่วง Covid-19 โดยชูจุดเด่นสามอย่าง
2
ไม่มีค่าธรรมเนียม (GP)
ไม่มีค่าสมัครแรกเข้าของร้านอาหาร
ร้านอาหารได้รับเงินทันทีภายใน 1 ชั่วโมง
เจ้าของร้านอาหารไม่จำเป็นต้องเป็นลูกค้าของ SCB ก็สามารถใช้บริการนี้ได้ Robinhood จะส่งอาหารถึงลูกค้าโดยผ่านความร่วมมือกับ Scootar
## หมายความว่าอย่างไร? ##
ถึงแม้ว่าทาง SCB จะบอกว่า Robinhood นั้นเข้ามาในตลาดในรูปแบบ CSR หรือการช่วยเหลือสังคมโดยไม่แสวงหาผลกำไร อย่างไรก็ตามการมาของ Robinhood นั้นย่อมสร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั้งวงการ Food Delivery เพราะ Robinhood Business Model นั้นถือว่าเป็นการ Disrupt วงการนี้เลยก็ว่าได้
Robinhood ไม่เพียงแต่ไม่เก็บค่าธรรมเนียมแต่ยังส่งเงินให้กับเจ้าของร้านค้าภายในเวลา 1 ชั่วโมง นี่มันคือการเอา Freemium Model มาใช้ในธุรกิจมีรายได้หลักมาจากค่าธรรมเนียม เรียกได้ว่า Robinhood แหวกแนวจริงๆครับ
1
แล้ว SCB ได้อะไรจากการทำแบบนี้ละ? สิ่งที่ SCB จะได้ก็คือข้อมูลการทำธุรกรรมของร้านอาหารภายในแพลตฟอร์ม ซึ่ง SCB สามารถรู้ได้อย่างชัดเจนว่าร้านอาหารร้านไหนเป็นร้านที่ยอดขายดีมีศักยภาพเติบโต SCB ก็จะไปเสนอขายหรืออนุญาติปล่อยสินเชื่อให้กับร้านอาหารเหล่านั้น และเมื่อ SCB รู้อยู่แล้วว่าร้านเหล่านี้คือลูกค้าชั้นดี หนี้เสียก็จะมีน้อยมากทำให้บริษัทสามารถรักษาผลกำไรได้
1
ในทางกลับกันร้านไหนที่ยอดขายไม่ค่อยดี SCB เองอาจจะมีนโยบายที่รัดกุมมากขึ้นในการปล่อยสินเชื่อซึ่งก็จะช่วยลดความเสียหายได้หากร้านอาหารเหล่านั้นเกิดชำระหนี้ไม่ไหวขึ้นมา
อย่างไรก็ตาม Robinhood จะอยู่รอดในตลาดได้ก็ต้องมีความสามารถในการแข่งขัน ในมุมมองของ THINK FUTURE เราสามารถแบ่งความสามารถในการแข่งขันของ Food Delivery Platform ออกได้เป็นสามอย่างคือ
1. ความสามารถในการดึงดูดร้านอาหาร
Robinhood น่าจะดึงดูดร้านอาหารได้เยอะมากเพราะร้านอาหารไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้ Robinhood เลยในขณะที่ต้องจ่ายประมาณ 30% ให้กับ Food Delivery Platform เจ้าอื่น แต่มันยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าร้านอาหารจะต้องจ่ายอะไรให้ Robinhood ไหมถ้าอยากจะทำโปรโมชันต่างๆ และเมื่อมีร้านอาหารในแอปเยอะมันก็จะดึงดูดผู้บริโภคเข้ามาเอง
2
2. ความสามารถในการดึงดูดผู้บริโภค
ถึงแม้ว่า Robinhood จะดึงดูดผู้บริโภคเข้ามาได้มากแต่ว่าจะปิดการขายได้มั้ยนั้นคืออีกเรื่องหนึ่ง สมัยนี้ผู้บริโภคฉลาดในการซื้อมากขึ้น บางทีเจอร้านที่ถูกใจในแอปนึงแต่ก็ต้องเช็คกับอีกแอปนึงก่อนเพื่อดูว่าร้านไหนโปรดีกว่า ในส่วนนี้ Robinhood อาจจะเสียเปรียบเจ้าอื่นๆเพราะเงินลงทุนของ Robinhood มาจากงบ CSR ของ SCB ดังนั้นเราสามารถมั่นใจได้เลยว่า Robinhood น่าจะไม่ปั้มเงินจัดโปรโมชันลดราคาเพื่อเพิ่มฐานผู้ใช้แบบที่ Food Delivery เจ้าอื่นทำกัน
4
จำนวนเงินลงทุนเพียง 100 ล้านบาทมันเทียบไม่ได้เลยกับงบในการทำตลาดของเจ้าตลาดเช่น Grab อ้างอิงข้อมูลงบการเงินจาก DBD บริษัทแกร็บแท็กซี่ (ประเทศไทย) จำกัด มีค่าใช้จ่ายในการขายและบริการเท่ากับ 2,006,005,905 บาทในปี 2562 อย่างไรก็ตามการที่ Robinhood ไม่เก็บค่าธรรมเนียมก็อาจจะทำให้ราคาอาหารถูกลงและแข่งเรื่องราคากับเจ้าอื่นไหวก็เป็นได้
2
อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ User Experince แอป Food Delivery เจ้าใหญ่ๆในตลาดอย่าง GrabFood ได้ใช้เวลาหลายปีในการขัดเกลาแอปให้ใช้งานง่ายสำหรับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการหาร้าน ซื้อของ จ่ายเงิน และรอรับของ Robinhood ที่เพิ่งเปิดตัวมายังเสียเปรียบคู่แข่งในจุดนี้
3. ความสามารถในการส่งอาหาร
ถึงแม้ว่า GrabFood หรือเจ้าอื่นๆจะไม่ได้มีฟลีทรถและพนักงานขับรถเป็นของตัวเอง แต่ด้วยความที่บริษัทเหล่านี้ดำเนินธุรกิจในไทยมาซักพักแล้วจึงได้มีเครือข่ายของรถยนต์และมอเตอร์ไซค์พร้อมคนขับขนาดใหญ่ จึงมีความพร้อมที่จะรับออเดอร์จำนวนมหาศาลจากลูกค้าได้ Robinhood ซึ่งมาทีหลังไม่มีความสามารถในการขนส่งอาหารปริมาณมากจึงได้จับมือกับ Scootar เพื่อกำจัดจุดอ่อนตรงนี้
แต่ถ้าเรามามองดูศักยภาพในการขนส่ง Scootar มีชื่อเสียงในการเป็นแมสเซ็นเจอร์ส่งเอกสาร ลูกค้าที่เป็นสำนักงานส่วนใหญ่ชอบใช้ Scootar เพราะพนักงานรู้เรื่องดีไม่ต้องกำกับมาก แต่ถ้าเราพูดถึงการส่งอาหารที่ไม่ได้มีอะไรซับซ้อนราคาคือปัจจัยที่สำคัญ อ้างอิงจากราคาเริ่มต้นในการส่งของของ Grab มีราคาถูกกว่า Scootar ถึง 30 บาท นอกจากนี้จำนวนรถของ Scootar ก็ไม่ได้มีเยอะเหมือน Food Delivery Platform เจ้าอื่นๆ ดังนั้นมันจึงเป็นความท้าทายของ Robinhood ที่จะต้องหาวิธีส่งอาหารที่มีประสิทธฺภาพมากกว่านี้
3
## มีผลกระทบอย่างไร? ##
สำหรับผู้บริโภค: การแข่งขันกันระหว่าง Big Bank ที่ต้องการจะสร้าง Data Platform กับ Startup Unicorn ที่สร้างร้านอาหารออนไลน์จะกลายเป็นผลดีกับผู้บริโภคที่จะได้สินค้าและบริการที่มีคุณภาพดีขึ้นในราคาที่ถูกลง
1
สำหรับ SCB: ถึงแม้ว่า Robinhood จะยังไม่เปิดใช้งานแต่จากกระแสในโซเชียลก็ชี้ให้เห็นว่ามีคนสนใจเป็นจำนวนมาก เราต้องมาลุ้นอีกทีในปลายเดือนหน้าว่า Robinhood จะออกมาดีตามที่หวังหรือไม่ ตอนนี้มันยังเร็วเกินไปที่จะบอกว่า Robinhood จะโหดแค่ไหนในสังเวียนนี้ แต่ THINK FUTURE มองว่ามันยากมากๆที่จะแข่งขันในตลาดนี้ด้วยงบเพียง 100 ล้านบาท แต่ไม่แน่ความไวรัลของ Robinhood อาจจะทำให้ SCB คุ้มทุนไปแล้วในแง่ของการทำ Marketing กับงบก้อนนี้แล้วก็เป็นได้?
สำหรับ GrabFood และ Food Delivery เจ้าอื่นๆ: ในระยะสั้นแล้ว THINK FUTURE คิดว่าลูกค้าบางส่วนของ Food Delivery Platform ต่างๆอาจหันไปลองใช้ Robinhood หนึ่งอาจเพราะต้องการลองของใหม่แต่อีกเหตุผลคือประเด็นทางสังคมในแง่ของการคิดค่าธรรมเนียมที่คนส่วนใหญ่มองว่า Food Delivery Platform นั้นคิดค่าธรรมเนียมแพงไปเหมือนเป็นการเอาเปรียบเจ้าของร้านอาหาร
ในช่วงเปิดตัว Robinhood THINK FUTURE คาดว่าจะต้องมีการแชร์ต่อๆกันของผู้บริโภคว่าสั่งอาหารผ่าน Robinhood เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยซึ่งอาจส่งผลเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ให้คนสั่งกันมากขึ้น
แต่ในระยะยาวแล้วกระแสโซเชียลจะเริ่มจางหายไป สิ่งที่จะกลับมามีผลต่อผู้บริโภคจริงๆก็คือคุณภาพและความคุ้มค่าของสินค้าและบริการ เราก็ต้องมาดูกันว่า Robinhood จะทำได้ดีพอ GrabFood และ Food Delivery เจ้าอื่นๆหรือไม่ ผู้บริโภคจะเป็นคนตัดสินเอง
2
โฆษณา