22 มิ.ย. 2020 เวลา 15:30 • ไลฟ์สไตล์
นอนไม่หลับ...ปรับพฤติกรรมช่วยท่านได้!
นอนหลับยาก ตื่นกลางดึก นอนหลับไม่สนิท หลากหลายอาการที่เกิดขึ้น เกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกัน แต่ส่งผลเสียต่อสุขภาพและการดำเนินชีวิตประจำวันของท่านได้เช่นเดียวกัน ท่านสามารถป้องกันปัญหานอนไม่หลับเหล่านี้ได้อย่างไร
นอนไม่หลับ...ปรับพฤติกรรมช่วยท่านได้!
นอนไม่หลับ คืออะไร?
นอนไม่หลับ ประกอบด้วยหลายอาการด้วยกัน ได้แก่ การนอนหลับยากในช่วงเริ่มต้น (difficulty falling asleep) หรือการคงการนอนหลับอยู่ตลอดจนตื่น (staying asleep) หรือไม่สามารถนอนได้อย่างมีคุณภาพ (achieving quality sleep) ถึงแม้จะมีโอกาสและระยะเวลาในการนอนเพียงพอ ทำให้เกิดความบกพร่องในช่วงเวลากลางวัน ได้แก่
1. อ่อนเพลีย
2. เหนื่อยง่าย
3. ขาดสมาธิในการทำงาน
4. มีปัญหาด้านความจำและความสนใจในการทำกิจกรรมหรือการเรียน
5. มีความกังวลในการนอนหลับในตอนกลางคืน
6. อารมณ์ผิดปกติหรือหงุดหงิดง่าย
นอนไม่หลับ เกิดจากอะไร?
1. อาการนอนไม่หลับ อาจเกิดจากปัจจัยทางด้านร่างกายและจิตใจ หรือโรค ประจำตัวที่เป็นเหตุให้นอนไม่หลับเรื้อรัง โดยอาการนอนไม่หลับชั่วคราว อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น
2. นาฬิกาชีวภาพของร่างกายถูกรบกวน เช่น อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเมื่อ ร่างกายยังปรับจังหวะเวลาให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ที่มีเวลา (time zones) แตกต่างกันไม่ได้ เนื่องจากร่างกายยังเคยชินกับเวลาในสภาพแวดล้อม เดิมอยู่ (jet lag) หรือการทำงานที่ต้องเปลี่ยนเวลาการนอนอยู่เสมอ เป็นต้น
3. ปัญหาสิ่งแวดล้อมในการนอน เช่น เสียงดังรบกวน มีแสงสว่างมากเกินไป อุณหภูมิที่ร้อนหรือเย็นเกินไป หรือคับแคบเกินไป
4. ปัจจัยทางด้านจิตใจ เช่น ความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า
5. อาการเจ็บป่วย เช่น ภาวะกรดไหลย้อน โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหอบหืด ไอ โรคพาร์กินสัน ไทรอยด์เป็นพิษ โรคข้อ หรือเนื้องอก เป็นต้น
6. การดื่มเครื่องดื่มบางชนิด เช่น ชา กาแฟ หรือแอลกอฮอล์ แม้ว่า แอลกอฮอล์จะทำให้รู้สึกง่วงแต่กลับรบกวนการหลับลึกและทำให้ตื่นกลาง ดึกได้
7. อายุที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผู้สูงอายุ มีการทำงานของร่างกายที่เสื่อมลง ระดับฮอร์โมนที่ลดง โรคประจำตัวที่รบกวนการนอน และการรับประทานยา หรืออาหารเสริมบางชนิด
นอนไม่หลับ วินิจฉัยได้อย่างไร?
แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยหาสาเหตุของอาการนอนไม่หลับที่เกิดขึ้น โดยอาจแตกต่างกันในคนไข้แต่ละคน ได้แก่
1. การตรวจสอบทางด้านร่างกาย เพื่อหาปัจจัย หรือโรคที่ทำให้นอนไม่หลับ อาจมีการเจาะเลือดเพื่อตรวจสอบภาวะไทรอยด์เป็นพิษที่อาจเป็นปัจจัยให้ นอนไม่หลับ หรือหลับได้ไม่มีประสิทธิภาพ
2. สอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการนอน โดยให้ผู้ป่วยทำแบบสอบถามและจดบันทึกพฤติกรรมการนอน
3. การตรวจคุณภาพการนอนหลับ (Sleep Study) ในกรณีที่สาเหตุอื่นๆ ไม่ชัดเจน หรือมีความผิดปกติด้านการนอนอื่นๆ เช่น นอนกรนดังผิดปกติ หายใจลำบาก และสงสัยว่าจะหยุดหายใจขณะหลับ กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข เป็นต้น
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา