14 มิ.ย. 2020 เวลา 02:38 • สุขภาพ
กระดูกหัก...รักษาอย่างไร
ภาวะกระดูกหักสามารถจำแนกได้เป็น กระดูกหักแบบปิด (closed fracture) และกระดูกหักแบบเปิด (open fracture) ภาวะกระดูกหักแบบปิดคือชนิดที่ไม่มีบาดแผลเชื่อมต่อระหว่างกระดูกหักไปสู่สภาวะภายนอก
ส่วนภาวะกระดูกหักแบบเปิดคือชนิดที่มีบาดแผลเปิดเชื่อมต่อระหว่างกระดูกหักไปสู่สภาวะภายนอก เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่กระดูก (รูปที่ 1)
หลักการซ่อมแซมตัวเองของภาวะกระดูกหัก
การซ่อมแซมตัวเองหลังเกิดกระดูกหักมีลักษณะเฉพาะและซับซ้อน กระดูกเป็นเนื้อเยื่อที่มหัศจรรย์ สามารถซ่อมแซมตัวเองได้ โดยกระดูกที่ซ่อมแซมแล้วจะมีลักษณะใกล้เคียงกระดูกปกติทุกประการ
กระบวนการซ่อมแซมกระดูกนั้นประกอบด้วย 2 กระบวนการควบคู่กันไป ได้แก่ การซ่อมแซมแบบกระดูกอ่อนเป็นแม่แบบ (endochondral ossification) และการซ่อมแซมโดยการสร้างเนื้อกระดูก (intramembranous ossification)
การซ่อมแซมผ่านกระดูกอ่อน (endochondral ossification) ร่างกายจะสร้างเนื้อกระดูกอ่อน (cartilage) ชนิด hyaline เป็นแบบแม่พิมพ์ก่อนและเริ่มขบวนการสร้างเนื้อกระดูกโดยการแทนที่เนื้อกระดูกอ่อน
การซ่อมแซมโดยการสร้างเนื้อกระดูก (Intramembranous bone formation) เป็นขบวนการสร้างเนื้อกระดูกโดยการแทนที่เนื้อเยื่อชนิด mesenchyme โดยตรง ไม่ต้องผ่านการสร้างกระดูกอ่อน ดังรูปที่ 2
การรักษาภาวะกระดูกหักด้วยวิธีผ่าตัด
พิจารณาเลือกวิธีรักษาด้วยการผ่าตัดในผู้ป่วยที่มีกระดูกหักที่ซับซ้อน การหักแบบไม่มั่นคง กระดูกหักเข้าข้อ กระดูกหักแบบเปิด กระดูกต้นขาหรือกระดูกหน้าแข้งหัก ผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องฟื้นคืนสภาพกลับไปใช้งานได้เร็วที่สุด
เช่น นักกีฬาอาชีพ หรือผู้ใช้แรงงาน การผ่าตัดมีขั้นตอนคือการจัดเรียงกระดูกให้เข้าที่และยึดตรึงกระดูกด้วยอุปกรณ์ชนิดต่างๆ หรือผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมในกระดูกหักบางชนิดที่ไม่สามารถยึดตรึงได้
ข้อดีของการรักษาโดยการผ่าตัด คือ ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวได้เร็ว และสามารถกลับไปทำงานได้ในระยะเวลาอันสั้น ส่วนข้อเสียคือ มีความเสี่ยงจากการดมยาสลบ ความเสี่ยงจากการบาดเจ็บของเส้นเลือดหรือเส้นประสาทจากแผลผ่าตัด แผลติดเชื้อ หรืออาจต้องผ่าตัดซ้ำเพื่อเอาอุปกรณ์ตรึงกระดูกในอนาคต
อ่านบทความนี้ต่อ คลิกด้านล่าง >>
โฆษณา