16 มิ.ย. 2020 เวลา 07:39 • ไลฟ์สไตล์
คนไร้ศาสนา แนวโน้มของผู้คนในอนาคตที่ไม่พึ่งพาศาสนา
## เกิดอะไรขึ้น ##
ข้อมูลจากองค์กรพิวหรือ The Pew Forum on Religion and Public life ได้เปิดเผยผลสำรวจเกี่ยวกับจำนวนคนไม่นับถือศาสนาทั่วโลกซึ่งมีมากถึง 1,100 ล้านคน ซึ่งในปี 2562 ที่ผ่านมาได้พบว่าแนวโน้มของผู้ที่นับถือศาสนาลดลง โดยจำนวนคนไร้ศาสนามากที่สุดอยู่ที่จีนซึ่งมีมากถึง 700 ล้านคน (51% ของประชากรเลยทีเดียว) อเมริกา 51 ล้าน คนส่วนในไทยมีประมาณ 190,000 คน
1
## หมายความว่าอย่างไร? ##
แนวคิดของการเป็นคนไม่มีศาสนากำลังเกิดขึ้นในยุคที่อินเทอร์เนตเฟื่องฟู หากเราค้นหาคนไร้ศาสนาใน Facebook, Pantip หรือแม้แต่ Google เราจะได้พบกับกลุ่มคนและคนมากมายที่กล่าวว่าตัวเองนั้นเป็นคนไร้ศาสนา
กลุ่มคนเหล่านี้มีมุมมองต่อศาสนาที่แตกต่างจากคนที่นับถือศาสนาเช่น
ศาสนานั้นไม่ใช่สิ่งจำเป็นต่อชีวิต ชีวิตสามารถสมบูรณ์ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีศาสนา
ศาสนานั้นมีความเชื่อและความงมงายที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ทางวิทยศาสตร์
มีบุคคลทางศาสนามากมายที่ประพฤติตนไม่น่านับถือ การไม่มีศาสนาคือการเป็นอิสระจากกรอบของศาสนา
แนวคิดในลักษณะนี้เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลกมากน้อยต่างกันไปแต่ปฎิเสธไม่ได้ว่าอินเทอร์เนตเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้บุคคลเหล่านี้ต่างออกมาแสดงตัวตนกันในโลกโซเชียลและอาจจะมากขึ้นในอนาคต
นอกจากนี้ในปี 2015 University of chicaco ได้เปิดเผยงานวิจัยที่นำกลุ่มตัวอย่างของเด็กอายุ 5-12 ปีมาทำวิจัยเกี่ยวกับกลุ่มคนที่มีศาสนาและไม่มีศาสนา ผลทดสอบนั้นต่างจากที่หลายคนคาดคิด คือเด็กที่โตมาในครอบครัวที่ไม่มีศาสนานั้น กลับมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นมากกว่า เด็กที่โตมาในครอบครัวที่มีศาสนา
โดยเด็กที่ไม่มีศาสนานั้นมีแนวโน้มจะแบ่งของเล่นให้ผู้อื่นมากกว่าเด็กที่ได้รับรู้เรื่องราวทางศาสนา ด้วยการที่เด็กที่โตมาในครอบครัวไม่มีศาสนานั้นมีแนวโน้มที่จะไม่ตัดสินคนอื่น ในขณะที่ด็กที่โตมาในครอบครัวที่มีศาสนานั้นมักจะถูกทำโทษเมื่อทำพฤติกรรมใดๆที่แตกต่างจากแนวคิดทางศาสนาที่คิดว่าเป็นเรื่องที่ดี นี่ทำให้เกิดการตัดสินผู้อื่นด้วยมุมมองทางศาสนา
## มีผลกระทบอย่างไร? ##
ศาสนานั้นเป็นสิ่งที่อยู่กับมนุษย์มาช้านานทั้งในสังคมและประวัติศาสตร์ ศาสนานั้นไม่ได้มีอิทธิพลเพียงแค่ความเชื่อเท่านั้น แต่มันยังมีอิทธิพลไปทุกภาคส่วนไม่ว่าจะ วัฒนธรรม ศิลปะ ดนตรี การศึกษา ตลอดจน การเมืองหรือเศรษฐกิจ
ปัจจุบันประเทศไทยยังมีศาสนาประจำชาติเป็นศาสนาพุทธและอยู่ในแผนการศึกษาภาคบังคับ แต่อย่างไรก็ตามในบัตรประจำตัวประชาชนรุ่นใหม่ของคนไทยนั้นจะไม่มีช่องที่ระบุศาสนาอีกแล้ว
ในอดีตนั้นจะมีช่องให้ระบุศาสนาซึ่งบางครั้งเราจะได้ยินข่าวแปลกของคนที่ใส่ศาสนาแปลกๆลงไปเช่น วิหารเจได พันธมิตรหมวกฟาง หรือแม้แต่ลัทธิเบคอนที่มีคนนับถือจริงทั่วโลก
การเปลี่ยนแปลงความเชื่อทางศาสนาของผู้คนจึงมีอาจเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งหลายอย่างมากกว่าที่ใครคาดคิด ในอนาคตศาสนาอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ผู้คนพึ่งพา วัดหรือศาสนสถานอาจจะไม่มีคนไปปฎิบัติธรรมในวัดหยุดแต่อาจะกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแทน
References
โฆษณา