21 มิ.ย. 2020 เวลา 02:00 • ประวัติศาสตร์
มหากฎบัตร ‘แมกนา คาร์ตา’ กฎแรกของโลก ที่บอกให้ทุกคนเท่าเทียม
WIKIPEDIA PD
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
คอนเส็ปท์เรื่องกฎหมายและความเท่าเทียมของบุคคลภายใต้กฎหมาย
ไม่ใช่เรื่องที่เก่าแก่มากเท่าไหร่ ความเชื่อว่าคนทุกคนเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย ยังเป็นแนวคิดที่ไม่ได้รับการยอมรับในหลาย ๆ ที่บนโลก ถึงบางคนนั้นจะพยายามสมมติว่าคนทุกคนเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมายก็ตาม
ขอแนะนำให้รู้จักกับกฎบัตรแมกนา คาร์ตา หรือ The Great Document ที่ถูกเขียนขึ้นมาเมื่อ800 ปีที่แล้ว ‘แมกนา คาร์ตา’ ถูกรังสรรค์ขึ้นมาเพื่อบังคับให้กษัตริย์ยอมรับ“กฎหมาย” และยอมรับว่าแม้แต่กษัตริย์เองก็ยังต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย
WIKIPEDIA PD
ก่อนที่จะมี Magna Carta กษัตริย์คือกฎหมาย คำสั่งและความต้องการของกษัตริย์นั้นถือเป็นที่สุด
พระเจ้าจอห์น กษัตริย์อังกฤษในศตวรรษที่ 12 ว่ากันว่าพระเจ้าจอห์นนั้นได้เป็นกษัตริย์โดยไม่ได้ตั้งใจ พระองค์เป็นน้องคนสุดท้อง แต่พี่ ๆ ดันตายกันหมด เลยจำต้องมาเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ในช่วงที่พระเจ้าจอห์นครองราชย์นั้นสถานการณ์ไม่สู้ดีนัก เพราะรับศึกหลายด้านบัลลังก์ไม่ค่อยจะมั่นคง แถมยังถูกเปรียบเทียบกับพระเจ้าริชาร์ดใจสิงห์ หรือ Richard the Lion Heart พี่ชายที่เป็นกษัตริย์องค์ก่อน พระเจ้าริชาร์ดใจสิงห์เป็นกษัตริย์นักรบ มีความดุดัน แล้วก็ทำสงครามกับฝรั่งเศสเกือบตลอดในช่วงที่ครองราชย์ และสวรรคตในที่รบด้วยอีกต่างหาก
พระเจ้าจอห์น (WIKIPEDIA PD)
พระเจ้าริชาร์ดใจสิงห์ (WIKIPEDIA PD)
และนอกจากนี้ในช่วงต้นของการครองราชย์ พระเจ้าจอห์นก็มีความขัดแย้งกับพระสันตะปาปาในเรื่องการแต่งตั้งพระสังฆราชแห่งเคนเทอเบอรี่ ซึ่งเป็นตำแหน่งทางศาสนจักรที่สำคัญมาก ๆ อีกต่างหาก ทรงมีค่าใช้จ่ายเยอะเพราะต้องไปทำสงคราม อันเป็นหน้าที่ของพระเจ้าแผ่นดินในสมัยนั้นคือการแผ่ขยายราชอาณาจักรซึ่งถ้าไม่รบไว้ก่อน พวกดินแดนที่ไปตีได้มาแล้วก็จะพากันประกาศเอกราชทำให้เสียหน้าและเสียเงิน
พระสันตะปาปา (WIKIPEDIA PD)
แต่พระเจ้าจอห์นนี้ไม่ค่อยประสบความสำเร็จในการรบสักเท่าไหร่ เรียกว่าไปรบแล้วขาดทุน เพราะลงทุนไปทำสงครามแต่แพ้ทำให้ไม่สามารถถอนทุนคืนได้เลย สภาพคล่องทางการเงินจึงย่ำแย่ และวิธีการหาเงินที่คิดได้ในตอนนั้นก็คือเก็บภาษีในอัตราที่สูงมาก
อังกฤษเมื่อ 700 ปีที่แล้ว มีระบบการปกครองแบบศักดินาหรือ feudal system นั่นก็คือจะมีไพร่ติดที่ดิน ทำงานให้เจ้าของที่ดินแลกกับความคุ้มครอง พวกไพร่เหล่านี้ก็จะทำไร่ทำนาให้กับขุนนางเจ้าของที่ดิน พวกขุนนางเจ้าของที่ดินก็เก็บเกี่ยวความร่ำรวยจากที่ดินแล้วก็เสียภาษีต่อให้กับกษัตริย์
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
ระบบศักดินา หรือ feudal system (WIKIPEDIA PD)
เรื่องก็คือกษัตริย์นี่เก็บภาษีเยอะขึ้นเรื่อย ๆ เท่านั้นยังไม่พอ บางทีก็ยึดทรัพย์ขุนนางไปเสียดื้อ ๆ หรือถ้าหากมีใครไม่พอใจก็จะถูกจับไปขัง บางทีจะไม่ขังคนที่กระด้างกระเดื่องโดยตรง แต่ไปขังญาติพี่น้องลูกหลานแทน
ในที่สุดพวกขุนนางก็ทนไม่ไหว รวมตัวกันไปยึดกรุงลอนดอนแล้วก็บังคับให้กษัตริย์เจรจาและเซ็นเอกสารชุดหนึ่งก็คือ ‘แมกนา คาร์ตา’ นี่เอง เนื้อหาของ ‘แมกนา คาร์ตา’ นั้นเป็นภาษาละตินยาวมาก มีความยาวเป็นภาษาอังกฤษถึง4500 คำเลยทีเดียว โดยมากเป็นการความพยายามในการที่จะจำกัดอำนาจของกษัตริย์ ให้กษัตริย์ยอมรับว่ามีบางสิ่งบางอย่างที่เรียกว่ากฎหมายและแม้แต่กษัตริย์เองก็ต้องทำตัวอยู่ในกรอบของกฎหมายนี้
(WIKIPEDIA PD)
ซึ่งจะว่าไปแล้วใน ‘แมกนา คาร์ตา’ นี้สิ่งที่เหล่าขุนนางระบุมาว่าเป็นกฎหมายก็ค่อนข้างจะเป็นสิ่งที่มีความเฉพาะตัวและละเอียดพอสมควรเลยทีเดียว เช่น ห้ามให้ “ใครก็ตาม” บังคับให้ชาวเมืองต่าง ๆ สร้างสะพานข้ามแม่น้ำ ยกเว้นว่าที่ตรงนั้นเคยมีสะพานมาแล้วแต่เก่าก่อน ซึ่งก็มีความละเอียดนั่นก็เพราะพระเจ้าจอห์นชอบไปล่าสัตว์ในที่แปลก ๆ เมื่อตัวเองจะไปล่าสัตว์ตรงไหนก็จะบังคับให้คนแถวนั้นสร้างสะพานข้ามเข้าไปในป่า และที่สำคัญเป็นการรับสั่งเฉยๆ ไม่ได้ช่วยออกเงิน ทำให้เดือดร้อนไปถึงขุนนางประจำท้องถิ่นที่ต้องควักเงินจ่าย และยังไม่นับความเดือดร้อนของราษฎรที่ต้องถูกเกณฑ์แรงงานมาสร้างสะพานโดยที่ไม่ได้ค่าแรง ทั้งหมดทั้งมวลนี้คือที่มาของกฎข้อนี้
และยังมีกฎบางข้อที่ละเอียดกว่านี้อีกซึ่งระบุไว้ว่าพระเจ้าจอห์นจะต้องปล่อยบุคคลหลายต่อหลายคนให้เป็นอิสระ เพราะพระเจ้าจอห์นจับคนไปขังไว้เป็นจำนวนมาก มันจึงเป็นข้อกฎหมายที่ละเอียดมาก
(WIKIPEDIA PD)
อย่างไรก็ตาม พระเจ้าจอห์นก็ยอมลงนามใน ‘แมกนา คาร์ตา’ ด้วยความจำใจ แต่เพียงไม่นานต่อมา พระองค์ก็ไปล็อบบี้พระสันตะปาปาซึ่งก็เป็นคนที่ทรงอำนาจมากในยุคกลางให้ประกาศยกเลิก ‘แมกนา คาร์ตา’ ฉีกสัญญาที่ทรงลงนามไว้ไปเสียเลย
หลังจากนั้นก็เลยเกิดสงครามกลางเมืองระหว่างกษัตริย์และขุนนาง จะว่าไปแล้วมันก็ไม่ใช่ความผิดของพระเจ้าจอห์นอย่างเดียว เพราะทางฝ่ายขุนนางเองก็ไม่ได้ทำตามหน้าที่ของตัวเองที่สัญญาไว้เช่นกัน เช่น ไม่ยอมถอนกำลังออกจากลอนดอน เข้ายึดปราสาทบางแห่งของพระเจ้าจอห์นแล้วไม่ยอมคืน เป็นต้น
จนถึงจุดหนึ่งเหล่าขุนนางถึงขนาดไปเอารัชทายาทบัลลังก์ฝรั่งเศสมาจะให้เป็นพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษด้วยซ้ำ ต่อมาพระเจ้าจอห์นตายด้วยโรคบิด พระเจ้าเฮนรี่ที่ 3ซึ่งเป็นรัชทายาทของพระเจ้าจอห์นก็ได้ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินโดยได้รับการสนับสนุนโดยเหล่าขุนนางให้ขึ้นครองราชย์
(WIKIPEDIA PD)
ที่พระเจ้าเฮนรี่ที่ 3 ได้รับการสนับสนุนก็เพราะพระเจ้าเฮนรี่มีพระชนม์เพียง9 พรรษา เหล่าขุนนางก็จะได้เข้าไปเป็น “ที่ปรึกษา” ของพระเจ้าแผ่นดินที่ทรงพระเยาว์ ดังนั้นพระเจ้าเฮนรี่ภายใต้คำแนะนำของขุนนางก็ได้ประกาศใช้ ‘แมกนา คาร์ตา’ อีกครั้ง เพื่อความสงบและปลอดภัยของราชบัลลังก์ หลังจากนั้น ‘แมกนา คาร์ตา’ ก็ได้รับการประกาศอีกหลายครั้ง มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระเจ้าแผ่นดินอีกหลายพระองค์ จนในที่สุดก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายอังกฤษจนถึงปัจจุบัน
ที่พระเจ้าเฮนรี่ที่ 3 (WIKIPEDIA PD)
แม้ว่าจะยาวและมีความละเอียดสูงมาก ขนาดที่รู้เลยว่าเขียนมาเพื่อจัดการกับใคร แต่ก็มีบางข้อใน ‘แมกนา คาร์ตา’ ที่ถือว่าเป็นความคิดที่ล้ำสมัยมากและยืนยงในกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกจนกลายเป็นความคิดหลัก ๆ ในกฎหมายสมัยใหม่ เช่น เสรีชนทุกคนมีสิทธิ์ได้รับความยุติธรรมและมีสิทธิ์ถูกตัดสินโดยลูกขุนที่เป็นคนในระดับเดียวกัน และ ไม่มีความผิดโดยไม่มีกฎหมาย แม้ว่าคำว่า “เสรีชน” จะหมายถึงคนไม่กี่คนในอังกฤษยุคศตวรรษที่13
ก็ตาม เพราะคนส่วนมากเป็นไพร่ติดที่ดิน แต่ไอเดียเรื่องการเข้าถึงความ
ยุติธรรมและไม่มีความผิดโดยไม่มีกฎหมายนั้น ก็คือหลักการของกฎหมาย
สมัยใหม่ นอกจากนี้ ‘แมกนา คาร์ตา’ ยังเป็นเอกสารและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ยืนยันว่า แม้แต่กษัตริย์ก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย กฎหมายคือสิ่งที่ไม่ว่าจะเป็นพระเจ้าแผ่นดิน หรือ คนที่จนกรอบที่สุดก็ต้องเคารพเหมือนกัน
ในสมัยก่อน กฎหมายคือสิ่งที่คนที่แข็งแรงที่สุดในเผ่าต้องการ คือ กูใหญ่ สิ่งที่กูต้องการคือกฎหมาย พูดง่าย ๆ คือ ใครใหญ่คนนั้นก็ปกครองเอาตามอำเภอใจ มาเป็น นี่คือกฎหมาย ทุกคนตั้งแต่หัวหน้าเผ่าผู้ยิ่งใหญ่ และ คนที่จนกรอบที่สุดในสังคมก็ต้องเคารพสิ่งนี้เหมือน ๆ กัน มันคงเป็นคอนเส็ปท์ที่พลิกฟ้าพลิกแผ่นดิน
(WIKIPEDIA PD)
‘แมกนา คาร์ตา’ ยังเป็นพื้นฐานของแนวคิดสิทธิมนุษยชนพื้นฐาน ความคิดที่ว่า มนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกันในสายตาของกฎหมาย ไม่ใช่แนวคิดที่ติดตัวเรามาตั้งแต่แรกเริ่มอารยธรรมมนุษย์ แม้ว่า ‘แมกนา คาร์ตา’ แต่ดั้งเดิมจะเป็นการต่อรองทางอำนาจระหว่างกษัตริย์กับขุนนาง ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับประชาชนธรรมดาเลย แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของหลักคิดที่ยืนยงยาวนานมาจนถึงทุกวันนี้ ‘แมกนา คาร์ตา’ เพิ่งฉลองอายุครบ800 ปี ไปเมื่อปี 2015 นี่เอง
รัฐธรรมนูญอเมริกัน คำประกาศสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ นักวิชาการบางท่านกล่าวว่า กฎหมายสูงสุดของ1 ใน 3 ของประเทศต่าง ๆ บนโลกนี้ ล้วนได้รับแรงบันดาลใจจาก ‘กฎบัตรแมกนา คาร์ตา’ ทั้งสิ้น
ทุกวันนี้ ‘กฎบัตรแมกนา คาร์ตา’ ที่เป็นฉบับดั้งเดิมยังมีอยู่สามถึงสี่ฉบับ ทั้งหมดอยู่ในอังกฤษ แล้วก็มีฉบับต่อ ๆ มาบางฉบับอยู่ที่รัฐสภาอเมริกัน บางฉบับอยู่ที่รัฐสภาของออสเตรเลียก็มี ถือเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่มีความหมายเชิงสัญลักษณ์สูงมาก
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
“แมกนา คาร์ตา” กฎแรกของโลก ที่บอกให้ทุกคนเท่าเทียม [VDO]
(WIKIPEDIA PD)
(WIKIPEDIA PD)
(WIKIPEDIA PD)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา