23 มิ.ย. 2020 เวลา 12:43 • ความคิดเห็น
ความสูญเสียทางเศรษฐศาสตร์จากการประเมินที่ผิดพลาด
ก่อนหน้านี้เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้อ่านบทความที่เคท
วิเคราะห์คร่าวๆถึงอัตราการติดเชื้อ covid-19 ในไทยว่าเราจะไม่มีทางเห็นตัวเลขหลักหมื่น (ซึ่งหลายคนก็มองว่าเคทประมาทไปแต่สรุปผลก็เป็นอย่างที่เห็น)
ซึ่งวิธีการคิดของเคทแม้จะแปลกแตกต่างจากนักสถิติทั่วไป แต่ก็เป็นอันแน่ชัดแล้วว่า การประเมินของเคท ใกล้เคียงกับบริบทที่เกิดขึ้นจริงในไทย การประเมินใดๆนั้น เคทมักวางหลักการประเมินด้วยสมการหลายๆด้านหลายๆมิติ นำมาตั้งเป็นสมการ (แล้วสรุปออกมา) มันจะต่างจากการตั้งสมการเฉพาะแบบแนวดิ่งหรือเส้นตรง เพราะการประเมินด้วยแนวเส้นตรงนั้น มันทำให้เราพลาดบริบทหลายอย่างไป การโฟกัสด้านใดด้านนึงมากไปก็ทำให้เราติดหล่มได้
อย่างวันนี้นักวิชาการทางการแพทย์หลายท่านก็ยอมรับแล้วว่า เขาประเมินความเสียหายทางเศรษฐกิจต่ำไป โอเค...ก็เป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องโทษกันค่ะ เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เพราะเรื่องนี้ไม่ง่ายเลย (นี่คือลักษณะของการประเมินเฉพาะด้าน)
ทีนี้เคทจะสรุปคร่าวๆเรื่องที่เราพลาดไปนะคะ จะโยงไปสู่เรื่องการลงทุนนะคะ เพื่อให้ทุกท่านได้นำไปประยุกต์ใช้ในการลงทุนค่ะ (เคยเขียนวิธีการไปบ้างแล้ว)
ข้อผิดพลาดที่ผ่านมา คือ เราไม่ได้สร้างแบบจำลองเปรียบเทียบค่ะ !!
ยกตัวอย่าง ในเบื้องต้นนั้น เมื่อแต่ละจังหวัด หรือแต่ละรัฐ มีอำนาจในการจัดการดูแลของตนเอง การที่จะดำเนินกิจการเชิงเปรียบเทียบย่อมทำได้ง่ายและเห็นผลได้ชัด ขออธิบายตรงนี้แค่พอสังเขปนะคะ กล่าวคือ จังหวัดแต่ละจังหวัด สามารถออกแบบการทดลองเปิดเมืองได้ก่อนโดยที่ไม่ต้องจัดการตามประกาศพร้อมเพรียง ข้อเสียของประกาศปฏิบัติพร้อมเพรียงทำให้เราไม่สามารถบันทึกการเปรียบเทียบเชิงสถิติได้
ดังนั้นสิ่งสำคัญคือ ตัวแปร หรือ สมการที่ใช้ในการเปรียบเทียบค่ะ
ในเชิงเศรษฐศาสตร์นั้น เราจะวางสมการหลักๆไว้ 2 ทางคือ แบบที่ได้ประโยชน์มากที่สุด ( Maxzimize Benefit ) กับ แบบที่เสียหายน้อยที่สุด (Minimize Loss)
ทีนี้กลับมาที่เรื่องของการลงทุน เราจะเห็นว่า นักลงทุน หรือ ผู้จัดการกองทุน ที่ช่ำชองก็จะมีวิธีการประเมินรูปแบบการลงทุนต่างๆ โดยยึดเอาหลักการ 2 หลักนี้ไว้ โดยการเลือกแต่ละแบบนั้น ก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละคน ซึ่ง แต่ละคนก็จะใช้ข้อมูลทางสถิติที่ตนเองถืออยู่มาประเมินเปรียบเทียบพิจารณาตัดสินใจ ว่าจะเลือกแนวทางไหนดี แต่นักลงทุนทั่วไปที่เคทพบเจอส่วนใหญ่จะขาดสิ่งนี้ กล่าวคือ ตัดสินใจโดยไม่มีข้อมูลรองรับ ทำให้การตัดสินใจหลายอย่างใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล
อย่างในช่วงสภาวะที่ตลาดผันผวนหรือค่อนไปในทางวิกฤต นักลงทุนอาจจะต้องมองเรื่องของ รูปแบบการลงทุนที่เสียหายน้อยที่สุด มากกว่าที่จะ มองรูปแบบของการได้ผลกำไรสูงสุด พอเห็นภาพใช่ไหมคะ
ดังนั้นเนี่ย สมการและตัวแปร แต่ละสภาวการณ์ที่เราเลือกหยิบยกมาใช้ ก็ต้องคำนึงถึงความสอดคล้องให้ดี แน่นอนว่า สิ่งที่เราเลือกอาจจะไม่ถูก แต่มันก็ไม่ผิดแน่นอนเพราะเราเลือกบนพื้นฐานของ เหตุผลและข้อมูล
นักลงทุนที่ดีควรจัดทำบันทึกสถิติของตนเองไว้ให้ดี และทำบันทึกสถิติของตลาดควบคู่ไปด้วย และเคล็ดลับอีกสิ่งที่เคทเคยทำมาคือ การทำบันทึกอารมณ์ ใช่ค่ะ การบันทึกอารมณ์นั้นสำคัญมาก เพื่อให้เราตรวจสอบสภาพจิตใจ สภาวะความผันผวนของจิตใจเราเอง ว่าแต่ละช่วงเวลานั้น เรารู้สึกอย่างไร และผลลัพธ์ของเหตุการณ์คืออะไร จะได้ไปรับปรุงและพัฒนาตัวเองได้เสมอ
วันนี้ขอฝากไว้เพียงเท่านี้นะคะ
ป.ล. เนื้อหาบทความนี้บางส่วนถอดมาจาก The Mew Theory
มิ้วๆนะ
โฆษณา