🤗 โมฆียะกรรม..เป็นอย่างไร 🌾
✍ความสมบูรณ์แบบของแต่ละคนเมื่อเกิดมาล้วนแตกต่างและยากที่จะเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นนิสัย ฐานะความเป็นอยู่ ครอบครัว และอื่น ๆ อีกมากมาย แต่เรายอมรับความไม่สมบูรณ์แบบ เหล่านั้นได้หรือไม่ หรือ แสวงหาความสมบูรณ์แบบให้ชีวิตเพื่อเติมเต็มด้วยวัตถุ หรือแสวงหาความสมบูรณ์แบบเพื่อเติมเต็มชีวิตด้วยความสุขทางใจ ก็อยู่ที่เราจะคิดว่าอย่างไหนจะจีรังยั่งยืนกว่ากัน...🌻
🍂ความสมบูรณ์ของนิติกรรมอยู่ที่เจตนา ของผู้ทำนิติกรรม มีทั้งนิติกรรมที่เป็นโมฆะ ซึ่งได้ทำเสนอบทย่อไว้ก่อนหน้านี้ วันนี้ ว่าจะกล่าวบทไปถึง ...คำว่า
" โมฆียะกรรม " เราอาจจะคุ้นชินกับคำว่า " โมฆะ" เพราะความหมายง่าย ๆ คือเสียไปเลย ซึ่งตรงกันข้ามกับโมฆียะ เพราะนิติกรรมหรือสัญญาที่เป็นโมฆียะ นั้น นิติกรรมหรือสัญญาที่ทำนั้นยังสมบูรณ์อยู่ คือบังคับได้อยู่ จนกว่าจะมีการบอกล้าง นิติกรรมหรือสัญญานั้น โดยผู้มีสิทธิบอกล้างตามกฎหมายฝ่ายเดียว ที่จะใช้สิทธิบอกล้างให้นิติกรรมเป็นโมฆะ ฉะนั้นการบอกล้าง ก็คือ การแสดงเจตนา ทำลายนิติกรรมหรือสัญญา ที่เป็นโมฆียะแต่สมบูรณ์ ให้เป็นไม่สมบูรณ์หรือโมฆะ
นั้นเอง🤭
📚แล้วใครบ้างที่มีสิทธิบอกล้าง บุคคลดังกล่าวกำหนดอยู่ในมาตรา 175 คือ
1 ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้เยาว์ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่ผู้เยาว์จะบอกล้างก่อนที่ตนจะบรรลุนิติภาวะ ก็ได้ถ้าได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม
2 บุคคลที่ศาลสั่งเป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ เมื่อบุคคลนั้นพ้นจากการเป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ แล้ว
3 บุคคลผู้แสดงเจตนาเพราะสำคัญผิด หรือถูกกลฉ้อฉล หรือถูกข่มขู่
4 บุคคลวิกลจริตซึ่งขณะบอกล้างจริตของบุคคลนั้นไม่วิกลแล้ว🌲
🌿เมื่อบอกล้างแล้ว ผลจะเป็นเช่นไร คำตอบ ก็คือเมื่อบอกล้างแล้ว นิติกรรมสัญญานั้นก็จะกลายเป็นโมฆะ มาแต่เริ่มแรก และคู่กรณีหรือคู่สัญญา ก็กลับสู่ฐานะเดิม ถ้าเกิดเหตุ อันพ้นวิสัยที่จะกลับคืนได้ก็ให้ค่าเสียหายชดใช้แทน ตาม มาตรา 176 แต่การบอกล้างต้องชัดแจ้งต่อคู่กรณีที่ทำนิติกรรมและมีตัวตนอยู่แน่นอน เช่น แจ้งทางไปรณีย์ตอบรับ หรือในปัจจุบัน การแจ้งทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ไลค์ ,แมสเซนเจอร์ เป็นต้น🌺
👍เมื่อบอกล้างได้ก็ให้ สัตยาบันได้เช่นเดียวกัน ตามมาตรา 177 การให้สัตยาบัน คือ การรับรองผลแห่งโมฆียะกรรมนั้นว่า ให้มีผลสมบูรณ์ตลอดไป และจะกลับมาใช้สิทธิบอกล้างอีก ตามมาตรา 176 อีกไม่ได้แล้ว และบุคคลที่ระบุไว้ในมาตรา 175 ข้างต้นก็คือ ผู้ที่จะให้สัตยาบัน และเมื่อให้สัตยาบันแล้ว ก็ให้ถือว่าสมบูรณ์ มาแต่เริ่มแรก ส่วนวิธีการให้สัตยาบัน ก็เช่นเดียวกับการบอกล้าง หรือจะให้สัตยาบันโดยปริยายก็ได้ เช่นรู้แล้วว่านิติกรรมเป็นโมฆียะ แต่ก็ปล่อยให้เป็นอยู่เช่นนั้น
เช่น ทำบันทึกข้องตกลงชำระหนี้เนื่องจากถูกข่มขู่ทำให้นิติกรรมนั้นเป็นโมฆียะ เมื่อการข่มขู่ผ่านพ้นไปแล้ว แทนที่จะบอกล้างบันทึกข้อตกลงนั้น แต่กลับชำระดอกเบี้ยตามบันทึกข้อตกลง ถือว่า ได้ให้สัตยาบันแก่นิติกรรมนั้นแล้ว ภายหลังจะมาบอกล้างอีกไม่ได้ ....นะครับ.เฮ้อพูดมากเหนื่อย. 😥
🚤โมฆียะกรรมหลักโดยย่อ ซึ่งจริงแล้วมีรายละเอียดมากมายครับ ค่อย ๆ ดูไปดีกว่า พอดีวันนี้พอมีเวลาบ้างเลยมานั่งค้นนั่งทำบทความด้วยเวลาอันน้อยนิด เพื่อนก็มาปรึกษาให้ช่วยตั้งชื่อร้านให้หน่อยอีก..
เพื่อนผมจะเปิดร้านขายชา ครับ ถามว่าทำไม่ไมเปิดร้านกาแฟ เพราะเจ๊ง มาแล้ว ครับ ร้านนี้เป็นร้านที่ 5 เริ่มแรก ขายเหล้า แล้วมาขายนมสด ฯ เจ๊งทุกร้าน แล้วก็มาร้านนี้อีกแล้ว
เพื่อน " มึงช่วยตั้งชื่อร้านให้กูหน่อย จะเปิดร้านน้ำชา "
ผม " มึงยังไม่เข็ดอีกเรอะ ร้านที่ 5 แล้วนะ "
เพื่อน " เออ..ๆ ช่วยกูหน่อย เอาแบบเป็นมงคลสุด ๆ นะ จะได้รุ่ง ๆ "
ผม " ได้..กูมีอยู่ชื่อนึง รุ่งแน่ ๆ "
เพื่อน " ชื่อไรวะ "
ผม " พอกัน Tea...." 🤩
ภาพจาก pixabay
🤫ค่อย ๆ อ่าน นะครับอ่านไม่จบวันนี้ พรุ่งนี้อ่านต่อก็ได้ครับ หรือจะ อ่านย่อหน้าละวันก็ได้ครับ...ฮา.ๆๆ ช่วงนี้งานทั้งเยอะทั้งยุ่งเลยต้องค่อยๆ เคลีย มีเวลานิดหน่อยเพื่อเขียนบทความก็เอาครับ ..อยากเขียนเช่นเดิม..🤗
บุญรักษาทุก ๆ ท่านครับ รักษาสุขภาพนะครับ
💦 ฝากกดไลค์,กดแชร์,ติดตามกันบ้างนะครับผม 🍁
โฆษณา