1 ก.ค. 2020 เวลา 05:44 • ธุรกิจ
KTC กับสินเชื่อผู้บริโภค... อีกหนึ่งธุรกิจที่มีบทบาทสำคัญในการเติบโต
เมื่อพูดถึงแบรนด์บัตรเครดิตที่ได้รับความนิยมในท้องตลาดแล้วนั้น เราคงจะปฎิเสธไม่ได้เลยว่า KTC นั้นคือหนึ่งในผู้ทำธุรกิจบัตรเครดิตที่น่าจับตามองอยู่ไม่น้อยเลย
เนื่องจากว่า KTC มีสัดส่วนทางการตลาดในบัตรเครดิตอยู่ที่ 10.6% หรือคิดเป็นจำนวนบัตรเครดิตทั้งหมด 2.51 ล้านใบ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นฐานลูกค้าที่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อเดือน
ซึ่งถ้าหากว่าเพื่อนๆได้ติดตามราคาของ KTC กันมาสักพักก็จะเห็นได้ว่า พอมีข่าวเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยและความกังวลในตัวของ NPL ออกมาแล้วนั้น ราคาหุ้นก็ได้ร่วงลงมาจากที่ระดับ 39 บาทอย่างรวดเร็ว
โดยที่ KTC หรือบมจ. บัตรกรุงไทย นั้นก็จะทำธุรกิจหลักๆอยู่ 2 อย่างก็คือธุรกิจบัตรเครดิตและธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งรายได้กว่า 60% ก็จะมาจากธุรกิจบัตรเครดิต และ KTC นั้นก็มีถือหุ้นใหญ่คือ KTB หรือธนาคารกรุงไทยอยู่เป็นอันดับ 1 ในสัดส่วน 49.29% นั่นเองครับ
💰รายได้และกำไรย้อนหลังของ KTC
ปี 2560 รายได้ 16,531 ล้านบาท
กำไร 3,304 ล้านบาท
ปี 2561 รายได้ 17,713 ล้านบาท
กำไร 5,139 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 18,979 ล้านบาท
กำไร 5,524 ล้านบาท
และล่าสุด ไตรมาส 1 ปี 2563
รายได้ 5,669 ล้านบาท
กำไร 1,641 ล้านบาท
ก็จะเห็นได้จากงบการเงินนะครับว่า KTC ก็จัดว่าเป็น Growth stock และบริษัทที่มีการเติบโตของกำไรอยู่ทุกๆปี ซึ่งแผนการเติบโตในก้าวต่อไปหลังจากธุรกิจสินเชื่อไม่มีหลักประกันแล้วนั้น KTC ก็จะเริ่มขยับไปยังธุรกิจสินเชื่อทะเบียนรถ แล้วต่อยอดไปยังพิโก และนาโนไฟแนนซ์ตามลำดับเพื่อสร้างการเติบโตใหม่
ตรงนี้หลายๆคนก็อาจจะมีความกังวลในเรื่องของความเสี่ยงกับธุรกิจใหม่ แต่ทางคุณ “ระเฑียร ศรีมงคล” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของทาง KTC นั้นก็ได้ชี้แจงว่า สินเชื่อที่ไม่มีหลักประกันคือประเภทที่เสี่ยงมากที่สุดอยู่แล้ว ดังนั้นการขยายธุรกิจไปยังสินเชื่อชนิดอื่นๆก็จะไม่ถือว่าเป็นการเพิ่มความเสี่ยง ในทางกลับกันอาจจะลดความเสี่ยงลงด้วย
โดยจุดแข็งของ KTC ในมุมมองของคุณระเฑียรนั้นคือความ จริงใจและโปร่งใส เพราะในช่วง 7-8 ปีที่ผ่านมา KTC แทบจะไม่ค่อยได้ปล่อยโฆษณาหรือโปรโมชั่นอะไรมากมาย แต่กลับมีการเติบโตของผู้ใช้งานเฉลี่ยอยู่ที่ราวๆปีละ10% ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมาจากความจริงใจและความเชื่อใจระหว่าง KTC และลูกค้า
ส่วนในเรื่องของ Digital Distuption เขาก็ยังมีความมั่นใจเช่นเคยว่า เทคโนโลยี ไม่ได้เข้ามา Disrupt ธุรกิจของ KTC เนื่องจากว่าทางบริษัทสามารถใช้มันให้เกิดประโยชน์ได้หลากหลาย และทุกวันนี้ลูกค้าบางส่วนของบริษัทก็ใช้มือถือในการจ่ายเงินกันอยู่แล้ว ดังนั้นคำว่า “บัตรเครดิต” จึงไม่ได้มีอยู่แค่ในรูปแบบของบัตร แต่หมายถึงรูปแบบในการขำระเงิน
สุดท้ายนี้ อัตราการทำกำไร ก็ยังเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินธุรกิจของ KTC แต่ในอนาคตอาจจะมีการแบ่งกำไรบางส่วนมาเพื่อสร้างฐานให้กับธุรกิจใหม่อย่างเช่นสินเชื่อทะเบียนรถ “KTC พี่เบิ้ม” ที่ทางผู้บริหารคาดว่าจะเติบโตได้เกือบเท่าธุรกิจเดิมได้ภายในระยะเวลา 5 ปีกันเลยทีเดียว
เรียกได้ว่าเป็นเป้าหมายที่ค่อนข้างท้าทายอยู่เหมือนกันนะครับสำหรับ KTC อีกทั้งยังต้องมาเจอกับ Covid-19 ในระหว่างทางที่ต้องไปให้ถึงฝันอีก ยังไงก็ต้องมาเอาใจช่วยกันครับกับหุ้นบัตรเครดิตอีกตัวหนึ่งที่เคยได้สร้างผลตอบแทนให้กับนักลงทุนกันมามากมายหลายปีแล้ว
KTC จะสามารถสร้างเหมืองแร่แห่งใหม่ไว้รองรับการเติบโตในอนาคตกับธุรกิจ “สินเชื่อ” ได้ตามที่หวังไว้ได้หรือไม่??
ขอเพียงส่วนแบ่งทางตลาดเพียงไม่กี่ % ในสนามที่มีการแข่งขันอย่างเข้มข้น KTC ก็จะสามารถเติบโตได้เป็นเท่าตัวจากเดิม แต่มันจะง่ายดายหรือยากลำบากขนาดไหน ?
เรื่องนี้คงต้องมาติดตามกันต่อไป สวัสดีครับ
ติดตามบทความดีๆของพวกเราได้ทาง WEBSITE
หรือ FACEBOOK เพจ หุ้นพอร์ทระเบิด
และช่องทางใหม่ YouTube ‼️
- - - -
ผู้สนับสนุน
สนใจเปิดพอร์ท หุ้น TFEX SBL BLOCKTRADE กับโบรคเกอร์ KTBST
ค่าธรรมเนียมเรทพิเศษ
พร้อมรับสิทธิพิเศษมากมาย
- ทีมงานมืออาชีพคอยให้บริการ
- โปรแกรม EFIN//ASPEN
- โปรแกรม SUPPORT อื่นๆเช่น MT4//MODEL TRADE//KTBST SMART และอื่นอีกมากมาย
กรอกรายละเอียดได้เลย 👇
โฆษณา