2 ก.ค. 2020 เวลา 03:37 • การเมือง
ก็บอกแล้วว่า สถานะของ”กลุ่ม 4 กุมาร” ดำรงอยู่อย่างที่เรียกว่าดำเนินไปในแบบ”ทวิ-ลักษณะ” นั่นก็คือ ดำรงอยู่อย่างเป็นจุดแข็งและจุดอ่อนไปในขณะเดียวกัน
เป็นจุดแข็งเพราะว่า”กลุ่ม 4 กุมาร”ดำรงอยู่กับคสช.และกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตั้งแต่หลังรัฐประหารเมื่อปี 2557
และต่อเนื่องมาหลังการเลือกตั้งในเดือนมีนาคม 2562
ในเมื่อประโยคที่ติดปากของคสช. ติดปากของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา คือ เรามา”ถูกทาง”แล้ว คำตอบสุดท้ายก็คือ ผลงานและความสำเร็จ
ความสำเร็จของคสช. ความสำเร็จของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอ ชา จึงย่อมมี”กลุ่ม 4 กุมาร”เป็นฐานรองรับอันหนักแน่นและมั่นคง
ขณะเดียวกัน สถานะอันเป็น”จุดอ่อน”ที่สะท้อนว่า ที่คิดว่าเป็นผลงานและความสำเร็จนับแต่หลังรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 เป็นต้นมานั้นไม่เป็นความจริง
สภาพโดยทั่วไป บทสรุปเช่นนี้มักจะมาจาก”ภายนอก”จากพรรคเพื่อไทย จากพรรคอนาคตใหม่
แต่ระยะหลังกลับดังจาก”ภายใน”พรรคพลังประชารัฐ
สภาพของปัญหาและความขัดแย้งอันเกิดขึ้นและดำรงอยู่กับรัฐบาล ในขณะนี้อาจยังดังมาจาก”ภายนอก”ไม่ว่าจะจากพรรคเพื่อไทย ไม่ว่าจะจากพรรคก้าวไกล
แต่ก็ดังเพียงแผ่วๆเมื่อเปรียบเทียบกับความอึกทึกก้องที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะจาก”ภายใน”พรรคพลังประชารัฐ
รูปธรรมหนึ่งซึ่งสำคัญเป็นอย่างมาก คือ ปฏิบัติการ”ปลด”คนสำคัญของ”กลุ่ม 4 กุมาร”ออกจากตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคถึงขนาดปลด นายอุตตม สาวนายน นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์
ออกจากทั้งตำแหน่งหัวหน้าพรรค และตำแหน่งเลขาธิการพรรคหมดสิ้นเหี้ยนเต้
ตั้งเป้าหมายว่าเมื่อจัดการจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค ตำแหน่งเลขาธิการพรรคแล้วย่อมสะเทือนไปยังตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระ ทรวงการคลัง ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
แต่แล้วที่หมายมาดกลับไม่เป็นไปตามความคาดคิด
ปรากฏว่าคนที่ออกมายืนขวางอย่างแข็งกร้าวและรุนแรงกลับเป็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ทุกสายตาจึงมองไปยัง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ
เป็น พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ซึ่งเคยเป็นประธานยุทธศาสตร์และปัจจุบันเป็นหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ
โฆษณา