3 ก.ค. 2020 เวลา 13:00
เรื่องราวของ "ปืนใหญ่สำคัญทั้ง 8 กระบอก แห่งกรุงรัตนโกสินทร์" ที่ตากแดดตากฝนอยู่หน้ากระทรวงกลาโหม
การรบในทุกสมรภูมิของทหารไทยทั้งอดีตและปัจจุบัน ทหารทั้ง 17 เหล่าของกองทัพบก
มีอยู่หนึ่งเหล่า ถูกขนานนามว่าเป็น "ราชาแห่งสนามรบ" เหล่าที่ว่านั้น คือ
"ทหารปืนใหญ่"
ในโอกาสนี้เจาะเวลาหาอดีตจึงขอพาท่านผู้อ่านย้อนอดีตพาไปรู้จัก "ปืนใหญ่” 8 กระกระบอกสำคัญที่วางไว้อยู่หน้ากระทรวงกลาโหม หรือ ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่มีชื่อว่า "พิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่โบราณ"
ปืนใหญ่มีความสำคัญต่อการกู้ชาติกู้บ้านเมืองมาเนิ่นนาน สันนิษฐานว่าปืนใหญ่น่าจะเข้ามาตั้งแต่สมัยปลายสุโขทัย ถึง ต้นอยุธยา เพราะมีบันทึกจากฝั่งจีนและตำราพิชัยสงคราม ฮินดูโบราณ เกี่ยวกับการประดิษฐ์ดินดำมาประยุกต์ใช้ในสงคราม
ส่วนหลักฐานที่ชัดเจนเกี่ยวกับการนำปืนใหญ่มาใช้ในสงคราม คือ ในรัชสมัยสมเด็จพระราเมศวร ครั้งอยุธยายกทัพประชิดนครเชียงใหม่และใช้ปืนใหญ่ยิงกำแพงเมืองจนได้รับความเสียหาย ดั่งที่ปรากฏบนพระราชพงศาวดารกรุงเก่า
"ฝ่ายเจ้าหน้าที่ยิงปืนใหญ่ กำแพงพังกว้าง ๕ วา"
จากการสันนิษฐานเหตุการณ์ที่ปรากฎบนพงศาวดาร กรุงศรีอยุธยาน่าะได้รับวิทยาการองค์ความรู้เรื่องปืนใหญ่มาจากจีนและอินเดียก่อนหน้าที่ชาวตะวันตกจะเข้ามาเสียอีก
และการเข้ามาของชาวตะวันตกยังได้นำยุทธภัณฑ์ต่างๆ ปืนใหญ่จึงถูกใช้มาอย่างต่อเนื่องและถูกพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพให้รุนแรงขึ้น รวมทั้งเป็นสินค้าสำคัญให้แก่ราชสำนักอยุธยาและธนบุรีเรื่อยมา
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ การเตรียมการป้องกันศึกในพระนครนั้นยังมีความสำคัญ กรุงรัตนโกสินทร์ในช่วงนั้นขาดแคลนปืนใหญ่ โดยผลกระทบจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 แม้ว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี จะทรงหล่อปืนใหญ่เพิ่มเติมและจัดการรวบรวมปืนใหญ่ไว้ที่ส่วนกลางจำนวนมาก แต่ยังคงไม่เพียงพอต่อศึกสงครามที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง
สงครามเก้าทัพ
ช่วงหลังสงครามเก้าทัพ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยดฟ้าจุฬาโลกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ภาวะสงครามกับพม่ายังคงดำเนินต่อไป พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดหาปืนใหญ่มารักษาพระนครเพิ่มขึ้น และมีพระราชดำริให้สร้างปืนใหญ่ขนาดใหญ่ (ปืนใหญ่มีหลายขนาด) โดยมีการจัดสร้างหล่อปขึ้นหน้าโรงละครใหญ่บริเวณริมประตูวิเศษไชยศรี พระบรมหาราชวัง ใน พ.ศ.2329
ปืนใหญ่สำคัญ(ขนาดใหญ่)ที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในมัยรัชกาลที่ 1 มีทั้งหมด 7 กระบอก ได้แก่
1.นารายณ์สังหาร 2.มารประไลย 3.ไหวอรนพ 4.พิรุณแสนห่า 5.พลิกพระสุธาหงาย 6.พระอิศวรปราบจักรวาฬ 7.พระกาลผลาญโลก
1
ภาพประกอบจากหนังสือ วิวัฒนาการแห่งศัสตราวุธในกองทัพบกไทย
- ปืนนารายณ์สังหาร -
เป็นปืนใหญ่กระสุนวิถีราบ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นคู่กับปืนพญาตานีที่นำกลับมาจากปัตตานีครั้งสงครามเก้าทัพ ปืนนารายณ์เป็นปืนที่มีลวดลายอยู่บริเวณลำกล้อง ตัวลำกล้องสั้นกว่าปืนพญาตานี แต่รังเพลิงกว้างหนากว่า และใช้กระสุนขนาดใหญ่กว่า
1
- ปืนมารประไลย และ ปืนไหวอรนพ -
เป็นปืนกระสุนวิถีราบ โปรดเกล้าให้สร้างขึ้นคู่กัน เพื่อเตรียมป้องกันพระนคร ปืนมารประไลยเป็นปืนขนาดใหญ่ มีน้ำหนักมาก ยาว 5.5 เมตร เป็นปืนใหญ่ที่มีลำกล้องยาวที่สุดที่สร้างขึ้นของไทย โดยมีความยาวเป็นรองแค่เพียงปืนพญาตานีซึ่งยึดมาจากปัตตานีเท่านั้น
ส่วนปืนไหวอรนพ มีความยาว 4.68 เมตร แต่ลำกล้องจะมีขนาดเท่ากับปืนมารประไลย คือ 17 เซนติเมตร
3
- ปืนพระอิศวรปราบจักรวาฬ และ ปืนพระกาลผลาญโลก -
เป็นปืนกระสุนวิถีราบ โปรดเกล้าให้สร้างขึ้นคู่กัน มีรูปร่างลักษณะและลวดลายประดับคล้ายปืนใหญ่ยุโรป ปืนใหญ่ทั้งสองมีความคล้ายกันมาก ทั้งลวดลาย สัดส่วน และลำกล้อง (ดูภาพบนประกอบ)
12
- ปืนพระพิรุณแสนห่า และ ปืนพลิกพระสุธาหงาย -
โปรดเกล้าฯ ให้สร้างคู่กัน มีรังเพลิงแบบเฮาวิตเซอร์ (Howitzer หมายถึง ปืนใหญ่วิถีกระสุนโค้ง) มีห่วงสำหรับจับยกสี่ห่วง ปืนใหญ่ทั้งสองมีลวดลายศิลปะประดับแบบกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ปากกระบอกถึงท้ายปืน
1
ในการสร้างปืนใหญ่(ขนาดใหญ่)สำหรับป้องกันพระนครครั้งนี้ สันนิษฐานว่าน่าจะมีช่างชาวยุโรปเป็นที่ปรึกษา เนื่องจากลายประดับและลักษณะบนตัวปืน มีศิลปะมาจากทางยุโรปอย่างชัดเจน ดังเช่นปรากฎบนปืนพระอิศวรปราบจักรวาฬ และ ปืนพระกาลผลาญโลก
อีกกระบอกสำคัญ คือ ปืนใหญ่พญาตานีที่กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาถ ได้ยึดมาจากปัตตานีคราวยกทัพไปปราบหัวเมืองมลายู แต่นำกลับมาถวายรัชกาลที่ 1 ได้เพียงหนึ่งกระบอกจากสามกระบอกเท่านั้น อีกสองกระบอกจมน้ำไป ปืนพญาตานีมีความยาว 6.82 เมตร (ยาวที่สุดในบรรดาปืนใหญ่หน้ากระทรวงกลาโหม) เป็นอีกหนึ่งกระบอกที่สำคัญ และมีขนาดยาวสุด
8
ภาพเขียน:การขนปืนใหญ่พญาตานีลงเรือกลับกรุงเทพฯ
พญาตานี : http://oknation.nationtv.tv/blog/5141020029/2009/08/14/entry-1
พญาตานีมีอายุเก่าแก่หลายร้อยปี ตั้งแสดงในตำแหน่งประธานของกลุ่มปืนใหญ่หน้ากระทรวงกลาโหม เป็นภาพสะท้อนความรุ่งเรืองของรัฐปัตตานีในอดีต
อย่างไรก็ตามปืนใหญ่ทั้ง 40 กระบอกที่วางเรียงรายอยู่หน้ากระทรวงกลาโหม ยังมีอีกหลายกระบอกซึ่งเคยช่วยแผ่นดินผ่านศึกผ่านเรื่องราวมานับครา
จึงอยากเป็นส่วนหนึ่งในการบอกเล่าถึงเรื่องราว และขอส่งต่อปืนใหญ่ให้คนรุ่นหลังได้ทราบความเป็นมา รวมทั้งคุณค่าที่ควรอนุรักษ์ไว้ตราบนานเท่านาน......
❤️กดไลค์ กดแชร์ ติดตามเป็นกำลังใจ❤️
🙏ขอบพระคุณครับ🙏
อ้างอิง:
- หนังสือ ปืนใหญ่ที่โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์สำราญ วังศพ่าห์ ; พ.ศ.2526
- หนังสือ วิวัฒนาการแห่งศัสตราวุธในกองทัพบกไทย ที่ระลึกเนื่องในโอกาสจัดงานสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ; พ.ศ.2549
โฆษณา