20 ก.ค. 2020 เวลา 06:07 • สุขภาพ
สวัสดีค่ะเพื่อนๆ กับวันที่อากาศสบายๆอีก๑วัน
วันนี้ ดิชั้นจะชวนกันมาคุยด้วยเรื่องที่.. วิชาก๊าน..วิชาการ... ข้างเตียงผ่าตัด กันอีกสักหนน่าจะดี ว่ามั้ยคะเพื่อนๆ ...
💗🥰🌈
เคยรู้มาบ้างมั้ยคะ..? ว่าน้ำหนักตัวของผู้ป่วยที่มาผ่าตัด ก็คืออีก ๑ประเด็นสำคัญ ในการวางแผนการรักษาเพื่อมาเตรียมการผ่าตัดและดมยาสลบ
'บอกสิเออ เธอจะเอาเท่าไหร่ เอาเท่าไรไม่เอาอ้วนเท่าไร ? บอกสิเอ้อเธอจะเอาเท่าไร ...... ไม่อ้วนเอาเท่าไหร่..?!?' 🎶🎼🎀
และถ้าหากไม่อ้วน ช่วยมาให้ไว เพราะชาวประชาในห้องผ่าตัด ชอบสุดๆเลยล่ะค่ะ
แล้วเพื่อนๆสงสัยกันบ้างมั้ยคะ ว่าทำไม..? ชาวห้องผ่าตัดถึงมีประเด็นกับน้ำหนักตัวของผู้ป่วย ☘😊🦋
งั้นเริ่มจากกรณีง่ายๆก่อนค่ะ แบบว่าพอผ่าตัดเสร็จใหม่ๆ ผู้ป่วยจะยังงงๆกับฤทธิ์ยาสลบ ก็เป็นหน้าที่ของจนท.ภายในห้องผ่าตัดนี่ล่ะค่ะ
ที่ต้องเป็น'พลยก'คือ ช่วยกันยกผู้ป่วยจากเตียงผ่าตัดลงในเปลผู้ป่วยเพื่อเข็นไปสังเกตอาการต่อที่ห้องพักฟื้น
และที่เด็ดกว่านั้นคือ ถ้าเป็นผู้ป่วยที่ต้องผ่าตัดในท่านอนคว่ำขึ้นมา จะยิ่งท้าทายมากๆสำหรับทุกๆคนโดยเฉพาะคนดมยา
เพราะนอกจากจะรับบทพลยกช่วงลำตัวส่วนบนของผู้ป่วยแล้ว
เรายังต้องระวังทั้งอุปกรณ์ช่วยหายใจ & อุปกรณ์ติดตามสัญญานชีพทั้งหลายทั้งปวง ที่โยงมาจากตัวผู้ป่วยด้วย
ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยในการเฝ้าระวัง & การช่วยหายใจของผู้ป่วย ตลอดการผ่าตัดน่ะสิคะเพื่อนๆ ✌💕🥰
Cr. Unsplash
ส่วนตัวเคยเจอะเองเลยค่ะ ชายฉกรรจ์พร้อมด้วยน้ำหนักตัวเกือบ ๒ร้อยโล มาผ่าตัดกระดูกสันหลัง
ถือว่าเป็นอีก ๑ผลงานสุดพีคของชาวห้องผ่าตัด ทั้งตอนดมยาเสร็จ
แล้วต้องยกผู้ป่วยจัดท่าคว่ำเตรียมผ่าตัด และอีกครั้งตอนจัดท่ากลับมาหงายหลังการผ่าตัด
เฮ้อออ... ผ่านพ้นไปได้ดี ยกเสียแต่ จนท.ทุกๆฝ่ายมีอาการเคล็ดขัดยอกกล้ามเนื้อสันหลังกันถ้วนทั่วหน้า เท่านั้นล่ะค่ะ ๕๕ ☘😎🎯
นอกจากที่ว่าข้างต้นแล้ว คนอ้วนจะถือเป็นปัญหาท้าทายอันดับต้นๆ ต่อการวางแผนเพื่อดมยาสลบด้วยสิคะ
แม้กระทั่งตำราด้านวิสัญญีแพทย์แทบทุกเล่ม ต้องมีบท 'Anesthesia in Obesity' และการเรียนการสอนก็ต้องมีคาบวิชาที่ว่าเป็นบทเรียนประจำทุกๆปี
จะไม่ยกบทวิชามาให้ในBd นี้หรอกค่ะเพื่อนๆ แต่จะขอแบบรวบรัดว่า
ไม่ว่าจะดมยาสลบรึว่าบล็อคหลังก็ตาม
ความหนักจากน้ำหนักตัวของคนอ้วนมักจะย้ายมาสร้างความหนักใจให้หมอดมยาด้วยเสมอๆค่ะ 😅☔🤣
ถ้าเลือกวิธีบล็อคหลัง ก็เริ่มจากต้องหาเข็มบล็อคหลังชนิดยาวเป็นพิเศษ เผื่อเอาไว้ด้วย
ก็เข็มมาตรฐานมันยาวไปไม่ถึงชั้นน้ำไขสันหลังนี่ค่ะ เฮ้อออ..... แล้วกว่าจะบล็อคกันได้
เราก็ต้องสำแดงสกิลขั้นสุดถึงจะสำเร็จ เพราะมันหาตำแหน่งสันหลังยากนี่คะ ก็เจ้าชั้นไขมันเล่นกลบซะเรียบเลย ง่ะ
เคยมีหน๑ น้องโทรมาขอความช่วยเหลือจากอีกปีกตึกของห้องผ่าตัด ให้มาช่วยบล็อคหลังคนไข้ผ่าตัดคลอดที่มาด้วยน้ำหนักเกือบจะ ๑๕๐ กก. ..!!!
โอ้ววว..ว้าววว...
เข้าไปเนี่ยะเจอะขนาดตัวคนไข้ก็อึ้งแล้ว แต่พอเห็นประดาเข็มที่ผ่านการใช้ไป แต่ block failure ที่วางอยู่มิต่ำกว่า ๕ เล่ม บอกถึงความเหงื่อตกกีบของน้องเค้าจริงๆ แถมสีหน้าเจ้าตัวก็หน้านิ่วคิ้วผูกกันอยู่ข้างเตียงคนไข้ เห็นเห็นใจจุงทั้งหมอทั้งคนไข้เบย แฮ่ๆ 💉💊🏹
Cr. Unsplash
แต่พอจะให้ดมยา ก็ไม่ธรรมดาหนักเข้าไปอีกค่ะ สำหรับคนไข้อ้วนๆ เพราะมักจะมีปัญหาทางเดินทางใจอุดกั้นง่ายกว่าคนทั่วไป แถมพอหลับไปแล้วการช่วยเปิดทางหายใจก็ยากกว่าปกติ
และที่พีคกว่า ก็คือการใส่ท่อช่วยหายใจในคนอ้วนถือเป็น ๑ ในความท้าทายสำหรับต้นๆ ของวิสัญญีแพทย์ทีเดียวเลยล่ะค่ะ
เริ่มชักจะพล่ามยาวแระ อิอิ งั้นจะสรุปง่ายๆเลยค่ะว่า คนอ้วนมีโอกาสที่จะเสี่ยงต่อการขาดออกซิเจนในเลือด ( hypoxemia ) ได้สูง เมื่อเทียบกับคนปกติ 🦋💉🎯
เพราะ ทางเดินหายใจอุดกั้นง่ายกว่า แถมยังตัองใช้เวลานานกว่าในการใส่ท่อช่วยหายใจ และ ระดับออกซิเจนในเลือดจะตกกว่าระดับปกติได้รวดเร็วกว่า เมื่อเทียบกับคนที่น้ำหนักตัวปกติ พวกเราชาววิสัญญีคอนเฟิร์มค่ะ 🥰💗✌
หากอยากรู้ว่าน้ำหนักตัวของเรา เริ่มสร้างความหนักใจให้แก่บุคคลากรฯแล้วรึยัง ลองคิดค่า BMI ได้เลยค่ะเพื่อนๆทุกท่าน 🦋🎯
BMI ( Body Mass Index ) รึคือ ดัชนีมวลกาย ที่ใช้น้ำหนักเป็นกก. หารด้วยส่วนสูงเป็นเมตร ๒ หน
ผลที่ได้ ถ้าใกล้ๆเลข ๓๐ คือน่ากังวลใจ และถ้าเกิน ๓๐ คือน่าเป็นห่วง ควรจะลดน้ำหนักเลยล่ะค่ะ คอนเฟิร์ม!!! 🌈😊☘
งั้นขอดิชั้นชวนฟังเพลงปลุกใจให้ลดน้ำหนักกันได้ในเร็ววันนะคะสำหรับผู้ที่มี BMI อันน่าเป็นห่วง 😁🎶😅
หมดเวลาสำหรับดิชั้นในวันนี้แล้ว
ค่อยมาเจอะกันใหม่อีกนะคะเพื่อนๆๆ 💟🎼
c U all kaa...
💕😎🌈
โฆษณา