26 ก.ค. 2020 เวลา 10:22 • ประวัติศาสตร์
"นามพระราชทาน"
มงคลสูงสุดในการบิน
ก่อนที่จะเดินขึ้นเครื่องสิ่งหนึ่งซึ่งผมและนักบิน
และลูกเรือหลายท่านทำเป็นประจำคือ การยกมือขึ้นมาวันทยาหัตถ์หรือไหว้ แสดงความเคารพที่หน้าประตูเครื่องก่อนที่เราจะก้าวขึ้นไปทำหน้าที่
1
ถามว่าเหตุผลที่พวกเราทำเช่นนั้นคืออะไร?
เรากำลังแสดงความเคารพสูงสุดต่อ 3 สถาบันหลักคือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
กล่าวคือ...
ชาติ
เครื่องบินทุกลำมีธงไตรรงค์ประทับอยู่บนแพนหางเราเหมือนตัวแทนของประเทศไทยนำธงไตรรงค์ไปโบกสะบัดไปทั่วโลก
ครั้งหนึ่งมีเรื่องราวประทับใจ ผู้โดยสารสุภาพสตรีท่านหนึ่งที่รอการมาถึงของเครื่องบินหลังจากที่เที่ยวบินยกเลิกจากสถานการณ์การระบาดของ covid-19 ทำให้เธอต้องตกค้างอยู่ที่สนามบินเป็นเวลานาน
เมื่อเห็นเครื่องการบินไทยและธงไตรรงค์เคลื่อนที่เข้ามาจอดเธอกล่าวว่าน้ำตาเธอถึงกับไหลออกมา
"บนเครื่องการบินไทย
ความรู้สึกเหมือนอยู่บนแผ่นดินไทย.."
ศาสนา
เครื่องบินส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดจะมีการเจิมโดยพระภิกษุสงฆ์เกจิอาจารย์ซึ่งเป็นที่เคารพยิ่งเครื่องบิน
บางลำจะมีองค์พระเล็กๆประดิษฐานอยู่ที่ทางตอนหน้าของเครื่องบิน เบื้องหน้าของนักบินทั้งสอง
พระมหากษัตริย์
1
นามพระราชทาน
การบินไทยเริ่มต้นก้าวแรกในวันที่ 1 พฤษภาคม
พ.ศ. 2503 โดยทำการเปิดฝูงบินปฐมฤกษ์ด้วยเครื่องบินชุดแรกของการบินไทยนั่นคือ เครื่องบินใบพัดแบบ Douglas DC-6B ความจุ 60 ที่นั่ง จำนวน 3 ลำ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามเครื่องบินทั้งสามลำ ตามชื่อของวีรสตรีไทย 3 ท่าน ว่า
“สุรนารี” (Suranaree) “เทพสตรี” (Thep Satri) และ “ศรีสุนทร” (Sri Sunthorn) และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินมา
ทรงเจิมเครื่องบินทุกลำด้วยพระองค์เอง จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปยังภายในเครื่องบิน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พนักงานประจำเครื่องบินทั้ง 3 ลำเข้าเฝ้าฯ และพระราชทานแผ่นจารึกนามพระราชทานทั้ง 3 นาม สำหรับนำไปประดับที่ส่วนหัวของเครื่องบินเพื่อเป็นสิริมงคล นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณสูงสุดที่มีต่อการบินไทยตลอดมา
4
ที่มาบทความจาก Facebook: Thai Airways
ผมมีโอกาสบินกับ Boeing 777-200 นามพระราชทาน "ปัตตานี" เป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะปลดประจำการ นำพวงมาลัยขึ้นมาไหว้พระประจำเครื่องครับ
หลังจากนั้นก็ได้ทรงพระราชทานนามสำหรับเครื่องบินของการบินไทยต่อมาอีกหลายลำ
ซึ่งชื่อพระราชทานแต่ละลำล้วนไพเราะและมีความหมายอย่างยิ่ง
ยกตัวอย่างเช่น
ฝูงบิน Boeing 747-400
โบอิ้ง 747-4D7 รหัสเครื่อง HS-TGW
นามพระราชทาน "วิสุทธิกษัตริย์"
ฝูงบิน Boeing 777
โบอิ้ง 777-3D7/ER รหัสเครื่อง HS-TKW
นามพระราชทาน "มุกดาสยาม"
1
ฝูงบิน Boeing 787
โบอิ้ง 787-8 ดรีมไลเนอร์ รหัสเครื่อง HS-TQB
นามพระราชทาน "จตุรพักตร์พิมาน"
ฝูงบิน Airbus A380
แอร์บัส เอ380-841 รหัสเครื่อง HS-TUD
นามพระราชทาน "พยุหะคีรี"
ฝูงบิน Airbus A350
แอร์บัส เอ350-941(XWB) รหัสเครื่อง HS-THB
นามพระราชทาน "วิเชียรบุรี"
ฝูงบิน Airbus A330
แอร์บัส เอ330-343X รหัสเครื่อง HS-TEN
นามพระราชทาน "สุชาดา"
Photo : Richard Vandervord
เป็นเพียงส่วนหนึ่งของนามพระราชทานอันไพเราะ
นามอันเป็นมงคลยิ่งของเครื่องบินบริษัทการบินไทย
โอกาสพิเศษ
หลังจากที่มีโอกาสได้ไปคุยกับน้องกู๊ด
จากเพจ Good Stories ผมได้พูดถึงนามพระราชทานของเครื่องบินลำหนึ่งคือ "ดารารัศมี"
ผมมีเรื่องราวประทับใจของเครื่องบินลำนี้
Boeing 747 นามพระราชทาน "ดารารัศมี"
มาเล่าให้ท่านฟัง
เรื่องที่ท่านฟังแล้วท่านจะประทับใจ
ติดต่อฟังในรูปแบบพ็อดคาสท์คืนนี้นะครับ
(และติดตามอ่านในรูปแบบบทความพรุ่งนี้)
กัปตันหมี
โฆษณา