29 ก.ค. 2020 เวลา 12:09 • สุขภาพ
"เมาค้าง คืออะไร?"
เมาค้าง คือกลุ่มอาการไม่พึงประสงค์จากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
โดยอาการเมาค้างจะเกิดขึ้นเมื่อระดับแอลกอฮอล์ในเลือดลดลงซึ่งตรงกับช่วงเช้าอีกวันหลังจากที่ดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักในคืนก่อน
ทั้งนี้
ชนิดของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และปริมาณที่ดื่มเข้าไปก็ส่งผลให้เกิดอาการเมาค้างที่แตกต่างกัน หากร่างกายได้รับปริมาณแอลกอฮอล์มาก ก็จะทำให้เกิดอาการเมาค้างมากขึ้นตามไปด้วย
2
"ผู้ที่เกิดอาการเมาค้างจะปรากฏอาการ ดังนี้"
- ปวดศีรษะและกล้ามเนื้อตามร่างกาย
- คลื่นไส้ อาเจียน และปวดท้อง
- กระหายน้ำ
- อ่อนเพลียอย่างมาก
- นอนหลับไม่สนิท
- เวียนศีรษะ หรือรู้สึกว่าสิ่งรอบตัวหมุนไปมา
- ไวต่อแสงและเสียง
- ตัวสั่น
- อารมณ์ไม่มั่นคง เช่น รู้สึกซึมเศร้า กังวล หรือหงุดหงิดกวนใจ
- ไม่มีสมาธิจดจ่อ
- ชีพจรเต้นเร็ว
#สาระจี๊ดจี๊ด
หากเกิดอาการเมาค้างที่รุนแรงมาก อาจเป็นสัญญาณของภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษ ซึ่งถือว่าอันตรายต่อชีวิต ต้องนำส่งโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาอย่างเร่งด่วน
"อาการเมาค้างที่รุนแรงนั้นมักปรากฏอาการ ดังนี้"
- สับสนมึนงง
- อาเจียน
- เกิดอาการชัก
- หายใจแผ่วเบา โดยหายใจเข้าออกน้อยกว่า 8 ครั้งต่อนาที
- หายใจไม่ปกติ โดยเว้นช่วงหายใจแต่ละครั้งนานกว่า 10 วินาที
- ตัวเขียวหรือผิวซีด
- อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ
- ไม่ได้สติ
- หมดสติและไม่ฟื้นขึ้นมา ซึ่งเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้
"วิธีป้องกันอาการเมาค้าง"
ก่อนดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกครั้ง ผู้ดื่มควรปฏิบัติ ดังนี้...
- ควรรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตหรือไขมันรองท้องก่อน จะช่วยให้ร่างกายชะลอการดูดซึมแอลกอฮอล์ รวมทั้งดื่มน้ำเปล่าระหว่างดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และไม่ดื่มตอนท้องว่าง
- จำกัดปริมาณการดื่ม ไม่ควรดื่มเยอะเกินที่ร่างกายจะรับได้ ทั้งนี้ ผู้ที่ดื่มเป็นประจำทุกสัปดาห์ควรรักษาระดับแอลกอฮอล์ไม่ให้สูงเกินไป จำกัดแล้วไม่เกิน 14 แก้ว (Units) ต่อหนึ่งสัปดาห์ ทั้งนี้ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์แต่ละชนิดก็มีปริมาณหน่วยบริโภคที่แตกต่างกัน ควรงดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์สัปดาห์ละ 3-4 วัน
- ดื่มให้ช้าลง โดยดื่มเพียงหนึ่งแก้วหรือในปริมาณที่น้อยกว่านั้นในแต่ละชั่วโมง
- เลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สีเข้ม เนื่องจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สีเข้มมีส่วนผสมของคอนจีเนอร์มาก ส่งผลให้ผู้ดื่มเกิดอาการเมาค้างอย่างรุนแรง
- ดื่มน้ำเปล่าหนึ่งแก้วทุกครั้งหลังดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หนึ่งอึก หรือจะผสมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับเครื่องดื่มอื่น ๆ ก็จะช่วยให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้น้อยลง ทั้งนี้ น้ำเปล่าจะช่วยให้ผู้ดื่มไม่เกิดภาวะขาดน้ำ
- รับประทานสารสกัดจากกระบองเพชรพริกคลีแพร์ (Prickly Pear) ก่อนดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะช่วยบรรเทาอาการเมาค้างให้ทุเลาได้ โดยสารสกัดนี้มีโปรตีนที่ช่วยยับยั้งอาการอักเสบจากฤทธิ์แอลกอฮอล์
- งดสูบบุหรี่ระหว่างดื่ม เนื่องจากจะทำให้นอนไม่หลับ ทั้งนี้ การสูบบุหรี่จะทำให้อาการเมาค้างแย่ลง
"เทคนิค แก้เมาค้าง (Hang Over)"
#สาระจี๊ดจี๊ด
จากงานวิจัยมากมาย ระบุว่า...
ไม่มียาลดการเมาใด ๆ หรือยาสูตรสำเร็จแก้อาการเมาค้างได้ผล 100%
ดีที่สุดคือ "ดื่มแต่น้อย"
ส่วนวิธีที่มักนิยมใช้แก้อาการ เมาค้าง เช่น...
- ดื่มน้ำเปล่าครั้งละ 1-2 แก้ว บ่อยๆ เพื่อให้ร่างกายปวดปัสสาวะ และน้ำจะพาสารตกค้างจากแอลกอฮอล์ออกมากับปัสสาวะ บางคนอาจดื่มชาร่วมด้วย เพราะชามีฤทธิ์ขับปัสสาวะอ่อน ๆ
- รับประทานอาหารจำพวก ข้าวต้ม โจ๊ก อาจพอช่วยลดอาการเมาค้างได้บ้าง
- ดื่มน้ำผักและผลไม้ปั่น รสออกเปรี้ยวหวาน อาจช่วยได้ เนื่องจากเราสูญเสียวิตามินแร่ธาตุจากการดื่มแอลกอฮอล์ จนทำให้มีอาการอ่อนเพลีย หรืออาจใช้วิตามินชนิดเม็ดฟู่ละลายน้ำดื่มก็สามารถทำได้ไม่มีข้อห้าม
- สำหรับผู้ที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน การดื่มน้ำขิง ชามินต์ อาจช่วยลดอาการเหล่านี้ได้
- วิตามินอาหารเสริม ที่อาจช่วยบรรเทาอาการได้ เช่น วิตามินบีรวม วิตามินซี แมกนีเซียม และกรดอะมิโนแอล-ซีสเทอีน (L-Cysteine)
- หากมีอาการปวดหัว ตัวร้อน ร่วมด้วย สามารถทานยาแก้ปวดกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ได้ เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟ่น หรือยาตัวอื่นๆ ในกลุ่มเดียวกัน ทั้งนี้ควรปรึกษาเภสัชกร หรือแพทย์ก่อนซื้อยา เพื่อซักถามประวัติการแพ้ยาอย่างละเอียดก่อนทาน
- สำหรับกาแฟนั้น อาจไม่ได้ช่วยทำให้อาการแฮงค์ดีขึ้น แต่อาจทำให้เราตื่นตัว แต่ถ้าร่างกายยังพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือนอนน้อย เมื่อหมดฤทธิ์กาแฟ จะทำเพลียหนักมากกว่าเดิมถ้ายังฝืนทำงานต่อ
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
พิสูจน์อักษรโดย วาลีพ
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา