8 ส.ค. 2020 เวลา 15:27 • สุขภาพ
SFTS ไวรัสเห็บ คือ อะไรกันแน่
ภาพจากไทยรัฐ และ TNN
ได้ข่าวไวรัสใหม่ของจีน มาทำความรู้จักกันดีกว่า ว่าน่ากลัวแค่ไหน อาการเป็นอย่างไร ป้องกัน รักษากันอย่างไรดี
SFTS ย่อมาจาก Severe fever with thrombocytopenia syndrome “ไม่ใช่โรคใหม่” โรคนี้มีรายงานมาตั้งแต่ 2007 แล้ว เป็นโรคติดเชื้อที่มีพาหะเป็นเห็บ
ไวรัสตัวนี้คล้ายกับ Bhanja virus ที่ทำให้เกิดไข้ และเยื่อหุ้มสมองอักเสบในคน (มาจากเห็บหมัดเหมือนกัน) ชื่อเค้าตอนนี้ก็คือ SFTS virus เลย
ที่ผ่านมาพบเชื้อนี้ในประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี มักพบแถบชนบท
1
แม้จะพบตั้งแต่ปี 2007 แต่เราเรียกว่าโรคอุบัติใหม่ เพราะเรารู้จักเค้าได้ไม่นาน ซึ่งจริงๆอาจจะมีนานแล้วแต่เพิ่งรู้ว่าเกิดจากเจ้าไวรัสตัวนี้ก็เป็นได้
เดือนที่พบก็มักเป็นช่วงพค.ถึง กค. เนี่ยแหละ เพราะช่วงนี้จะมีการทำฟาร์มกันเยอะขึ้น และเห็บก็เลยเพิ่มขึ้น
1
อุบัติการณ์การเกิดโรคสูงสุดในประเทศจีน คือ 0.12 – 0.73 ต่อแสนประชากร
รองลงมาคือ เกาหลีใต้ (0.07 ต่อแสนประชากร)
และญี่ปุ่น (0.05 ต่อแสนประชากร)
2
ในช่วงปี พ.ศ.2556 - 2559 พบผู้ป่วยถึง 7,419 ราย เสียชีวิต 355 ราย อัตราการตายเฉลี่ยร้อยละ 5.35
1
ยังไม่มีรายงานโรคนี้ในประเทศไทย แต่คิดว่าเดิมเราอาจจะวินิจฉัยไม่ได้ก็เป็นได้ เพราะถ้าเราไม่ได้ส่งตรวจ PCR ไวรัสตัวนี้ ก็จะไม่รู้ว่าเป็นเค้า
เห็บสายพันธุ์นี้ชื่อ Haemaphysalis longicornis ซึ่งก็คือเห็บหมาเห็บแมวบ้านเราเนี่ยแหละ
****ขอแก้ไขข้อมูล จากคุณหมอหมาหมอแมว แจ้งว่า เห็บพันธุ์นี้ ไม่ใช่เห็บที่พบในหมาแมวบ้านบ้านเรา แต่เป็นที่พบจาก import ปศุสัตว์ที่เอาเข้ามา****
ภาพจาก wikipedia
การติดต่อของโรค
1
เชื้อ SFTSV ติดต่อโดยมีเห็บ (tick) เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ
ผู้ป่วยส่วนหนึ่งมีประวัติถูกเห็บกัดก่อนเกิดอาการ แต่บางคนก็ไม่ได้ประวัติ เพราะไม่รู้ตัวว่าโดนกัด
เชื้อชนิดนี้มีวงจรการติดต่อแบบ เห็บ - สัตว์มีกระดูกสันหลัง แล้วก็ถ้าเห็บตัวอื่นมากัด ก็รับเชื้อไปได้ ทำให้มีการวนเวียนของเชื้อระหว่างเห็บและสัตว์ที่เป็นรังโรค
ส่วนสัตว์ที่เป็นรังโรค ได้แก่ แพะ แกะ หมู วัว ควาย สุนัข แมว ไก่ นกบางชนิด หนู และสัตว์ป่าชนิดต่างๆ
1
ยังไม่มีข้อมูลการก่อโรคในสัตว์ คือสัตว์เป็นรังโรคได้ ที่อ่านดู แมวดูเป็นสัตว์ที่จะเป็นแหล่งโรคที่สำคัญ เพราะเจอเชื้อไวรัสปริมาณสูงในแมว
การติดต่อจากคนสู่คนยังไม่มีหลักฐานชัดเจน ถ้าจะเกิด การติดต่อนั้นควรจะเป็นการติดต่อทางเลือด หรือสารคัดหลั่ง
ลักษณะอาการทางคลินิก และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ (ตารางที่ 1)1,10
การดำเนินโรคมีทั้งหมด 3 ระยะ1 คือ 
ระยะไข้ (fever stage) 
ระยะ multiple organ failure 
ระยะฟื้นตัว (convalescence)
1
ระยะไข้ (fever stage) 
จะพบช่วงสัปดาห์แรก ลักษณะอาการ คือ มีไข้สูง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ต่อมน้ำเหลืองโต มีอาการทางระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายเหลว เหมือนอาการไวรัสที่ไม่เฉพาะเจาะจง ถ้าเจาะเลือดจะเริ่มพบเกร็ดเลือดต่ำ เม็ดเลือดขาวต่ำ
ระยะที่อวัยวะล้มเหลวหลายระบบ
ระยะนี้จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 5 ของโรค จะพบ ตับ หัวใจ ปอด และไต มีความผิดปกติ ที่พบมักมีอาการเลือดออก
ความผิดปกติทางระบบประสาทที่พบได้เช่น สับสน ชักเกร็ง
ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารที่พบ ได้แก่ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายเหลว ปวดท้อง ตับอักเสบ
ค่าเกล็ดเลือดมักจะต่ำต่อเนื่อง
ระยะฟื้นตัว
ระยะนี้จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 11 - 19 ของโรค อวัยวะต่างๆเริ่มกลับมาเป็นปกติ โดยอาการจะดีขึ้นเป็นลำดับ ผลเลือดต่างๆจะค่อยๆกลับมาปกติ ใช้ระยะเวลาประมาณ 3 - 4 สัปดาห์
ความรุนแรงของโรค
ไม่ใช่ทุกคนที่เป็นจะต้องรุนแรง จริงๆก็อาจจะไม่มีอาการก็ได้ หรืออาจจะเป็นรุนแรงก็ได้ ปัจจุบันเชื่อว่าขึ้นกับปริมาณไวรัสในร่างกาย
2
อัตราการเสียชีวิต จัดว่าค่อนข้างสูง คือ 5%
จริงๆถ้าโรคนี้เกิดที่บ้านเรา อาการก็คล้ายๆไข้เลือดออกเหมือนกัน ดังนั้น ถ้าแพทย์เจอ แล้วตรวจเลือดไม่พบเชื้อไข้เลือดออก ก็อาจต้องระวังโรคนี้ ซึ่งต้องส่ง PCR, IgG, IgM ต่อไวรัสตัวนี้
การรักษา ไม่มียาจ้า ประคับประคองตามอาการไป
การป้องกัน ก็คือการกำจัดเห็บให้สัตว์ของท่านนั่นเอง และป้องกันเห็บกัด
แต่ถ้าเห็บกัดแล้ว เจอจังๆ ให้เอาออก โดยการคีบหรือดึงหัวออกมาตรงๆ พยายามอย่าไปบี้ท้อง หรือบิดออก เพราะอาจทำให้ส่วนปากของเห็บคาอยู่ในผิวหนัง ซึ่งทำให้มีอาการแพ้เพิ่มขึ้นได้
โฆษณา