29 ส.ค. 2020 เวลา 01:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
การรู้จักตัวเองว่าเป็นนักลงทุนประเภทไหน จะช่วยให้เราประสบความสำเร็จอย่างไร
นักลงทุนในหุ้นอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ เลยก็คือ
1. 👉นักเก็งกำไร👈 โดยจะใช้วิธีการวิเคราะห์ทางเทคนิค ดูแนวโน้มกราฟราคา เช่น เมื่อราคาหุ้นถึงแนวรับเขาจะเข้าซื้อ เมื่อถึงแนวต้านก็จะรีบขาย หรือ การเก็งกำไร แบบมือโปรอย่างนักลงทุนสถาบัน ที่จะมีผู้ที่เชี่ยวชาญ ในการคาดการณ์ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจแบบใดควรซื้อหรือขายหุ้น
2. 👉นักลงทุน👈 โดยจะถือหุ้นที่มีพื้นฐานดีระยะยาว เขาจะไม่มีวันขายหุ้นตัวนั้น ถ้าพื้นฐานของหุ้นไม่แย่ลงอย่างถาวร หรือค้นพบหุ้นตัวใหม่ที่ดีกว่า และลงมาในราคาที่เหมาะสม
Cr. : freepik, pixabay
แต่ก็อาจจะยังมีนักลงทุนมือใหม่หลาย ๆ คน หรือมือเก่าเองก็ตาม เมื่อซื้อหุ้นไปแล้ว ราคาหุ้นขึ้นหรือลง โดยที่ตนเองคาดไม่ถึง มักจะรู้สึกกระวนกระวายใจ หรือหาเหตุผลที่ย้อนแย้งกัน ไม่เป็นไปตามกลยุทธ์ที่เราวางไว้ตั้งแต่แรก มาตัดสินใจในการถือหุ้นต่อไป หรือขายหุ้นออกไป ยกตัวอย่างเช่น
👉"ตนเองเป็นนักเก็งกำไร"
แต่กลับไม่ขายหุ้นออกไป เมื่อราคาหุ้นดิ่งลงจนถึงจุด Cut loss (ขายตัดขาดทุน) ที่ตนเองตั้งไว้ กลับมาหาเหตุผล อ่านงบการเงินใหญ่เลย จนราคาดิ่งลงไปเรื่อย ๆ และราคาอาจไม่กลับมาที่เดิมอีกแล้ว เพราะเป็นหุ้นที่พื้นฐานไม่ดีอยู่แล้ว และแย่ลงเรื่อย ๆ (เรียกว่าติดดอย🏔️)
หรือเมื่อราคาหุ้นพุ่งแรงจนถึงจุดขายที่ตนเองตั้งไว้ กลับไม่ขาย รออีกหน่อย เผื่อราคาขึ้นไปอีก สุดท้ายราคาหุ้นก็ดิ่งลงอย่างรวดเร็วจนติดลบ และต้อง Cut loss ไป
👉"ตนเองเป็นนักลงทุนระยะยาว"
แต่กลับขายหุ้นออกไป เมื่อเห็นว่าราคาหุ้นพุ่งแรงถึง 10 % ภายในไม่กี่วัน และให้เหตุผลว่าราคาชนแนวต้านแล้ว ต้องรีบขายเดี๋ยวไม่มีโอกาสขายได้ในราคาแบบนี้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปราคาหุ้นขึ้นไป 20% 50% จนถึง 100% ซะงั้น (เรียกว่าขายหมู🐷)
หรือ เมื่อเห็นว่าราคาดิ่งลงแรงเกิน 10 % ภายในไม่กี่วัน และให้เหตุผลว่าต้อง Cut loss เพราะกลัวราคาหุ้นล่วงอีก
แต่ที่จริงแล้วเมื่อเราวิเคราะห์แล้วว่าหุ้นตัวนี้เป็นหุ้นที่ดีน่ะ แต่ราคาลงไปแรง ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤต แต่ส่งผลต่อบริษัทในระยะสั้น ๆ เหตุการณ์นี้เราควรดีใจว่าเราได้โอกาสซื้อของดีในราคาที่ถูก
💥เมื่อเราเข้ามาในตลาดหุ้น ต้องถามใจตัวเองก่อนว่าเราจะเป็นนักลงทุนแบบไหน หรือคาดหวังอะไรจากตลาดหุ้น เราควรทำตามแผนตัวเองที่วางไว้ตั้งแต่แรก ถ้ามาเปลี่ยนตรงกลางทาง เราจะไม่มีวันสำเร็จได้ครับ
“อาจเปรียบได้เหมือนกับการขุดหาทองที่ใช้แรงจับพลั่ว แล้วเหวี่ยงลงดินอีกแค่ครั้งเดียวก็พบสิ่งที่ตนปรารถนาแล้ว แต่สุดท้ายกลับคิดว่าตำแหน่งที่ขุดไม่มีทองอยู่จริง จึงไปขุดที่อื่น”
อ้างอิง
-บทนำ หนังสือ เพาะหุ้นเป็นเห็นผลยั่งยืน เขียนโดย กวี ชูกิจเกษม
-รูปสุดท้าย httpsi2.wp.comwww.joemartinfitness.comwp-contentuploads201212dont-give-up.jpg
จบแล้วครับช่วยกด 👍 ❤️ ติดตาม เพื่อเป็นกำลังใจในการเขียนบทความต่อไปด้วยนะครับ🥰
โฆษณา