31 ส.ค. 2020 เวลา 14:15 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ปรับระดับความยากขึ้นมาอีกนิดนะคะ สำหรับบทความนี้จะนำเสนอเกี่ยวกับ มูลค่าที่แท้จริงของหุ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกร้องขอมาค่ะ แต่เนื่องจากเรื่องนี้ค่อนข้างมีความซับซ้อนหน่อย ผู้เขียนจึงพยายามย่อและปรับภาษาแบบง่ายๆ หวังว่าผู้อ่านจะสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้นนะคะ
มูลค่าที่แท้จริงของหุ้น คืออะไร
1
คือ มูลค่าที่ควรจะเป็นตามปัจจัยพื้นฐานของบริษัทนั้นๆ โดยอิงตามผลการดำเนินงาน และโอกาสการเติบโตในอนาคต ซึ่งโดยทั่วไปมักจะคำนวณจากการคาดการณ์ตามแนวโน้มฐานะการเงินและผลการดำเนินงานในอนาคตของบริษัท
ตัวอย่างเช่น
👉 หุ้นตัวไหนก็ตามที่มีผลประกอบการดี และมีโอกาสเติบโตสูง หุ้นตัวนั้นก็จะมีมูลค่าที่แท้จริงสูง
👉 แต่ถ้าหุ้นตัวไหนที่ผลประกอบการแย่ ผันผวนจนคาดการณ์ได้ยาก และไม่มีโอกาสเติบโตเท่าไหร่นัก มูลค่าที่แท้จริงก็จะต่ำลงตามไปด้วย
และมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น ก็ยังสามารถเปลี่ยนไปได้ ตามผลการดำเนินงานที่เปลี่ยนแปลงไป เราจึงต้องคอยประเมินมูลค่าหุ้นอยู่เสมอ เพื่อจะได้ไม่เสียโอกาสในการลงทุน หรือโอกาสในการทำกำไร ก่อนที่หุ้นจะปรับตัวลง
สำหรับนักลงทุนด้วยปัจจัยพื้นฐาน หรือนักลุงทุนเน้นคุณค่า (Value Investment) สิ่งสำคัญที่ควรประเมิน คือ การคำนวณหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้น เพื่อที่จะสามารถนำมาเปรียบเทียบกับ ราคาหุ้นในตลาดได้
สำหรับสูตรในการคำนวณ จะแบ่งประเภทใหญ่ๆ ได้ 3 ประเภท คือ
👉 การเปรียบเทียบกับหุ้นตัวอื่นๆ ที่คล้ายกัน
👉 การคิดลดเงินปันผล
👉 การคิดลดกระแสเงินสด
ซึ่งแต่ละวิธีก็จะมีความยากง่ายต่างกันไป
ในที่นี้จะขอกล่าวถึงวิธี การคิดลดเงินปันผลนะคะ ซึ่งมีสูตรคำนวณ คือ
มูลค่าที่แท้จริง = เงินปันผลปีหน้า /( ผลตอบแทนที่พอใจ- อัตราการเติบโตของปันผลต่อปี )
3
ตัวอย่าง
สมมุติว่า เราคาดว่าจะได้ปันผล 10 บาทต่อหุ้น ผลตอบแทนที่พอใจเราคิดว่า 15% ต่อปี หรือเท่ากับ 0.15 และอัตราการเติบโตของปันผลเท่ากับ 10% ต่อปีหรือเท่ากับ 0.10 ดังนั้น มูลค่าที่แท้จริงเท่ากับ 10 /(0.15-0.10) เท่ากับ 200 บาทต่อหุ้น
เมื่อนักลงทุนหามูลค่าที่เหมาะสมออกมาได้แล้ว ก็จะต้องประเมินต่อว่า ราคาในปัจจุบันกับมูลค่าที่วิเคราะห์ออกมาได้ ห่างกันมากน้อยแค่ไหน
2
เช่น หากปัจจุบันหุ้น X มีราคา 100 บาท และมีมูลค่าที่แท้จริง 150 บาท แปลว่า ราคาตลาดตอนนี้มีส่วนลดถึง 50% เมื่อเทียบกับมูลค่าที่ควรจะเป็น หากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดในอนาคต ราคาหุ้นอาจไปไม่ถึง 150 บาท แต่อย่างน้อยด้วยราคาที่เราซื้อมันมีส่วนลดเยอะมาก ก็จะช่วยลดความเสี่ยงตรงนี้ได้
แต่หากราคาหุ้นปัจจุบันคือ 100 บาท และมีมูลค่าที่แท้จริงที่ 120 บาท เท่ากับว่าเรามีส่วนเผื่อความปลอดภัยเพียง 20% เท่านั้น ส่วนลดที่เราได้มันอาจน้อยเกินไปจนไม่คุ้มกับความเสี่ยงหากราคาหุ้นลดลง เป็นต้น
สรุปการวิเคราะห์ มูลค่าหุ้นที่แท้จริง
📌 ถ้าราคาหุ้นในตลาดต่ำกว่า มูลค่าหุ้นที่แท้จริง (Intrinsic Value) มาก อาจจะเรียกหุ้นตัวนั้นเป็น หุ้นคุณค่า ก็ได้ และสามารถพิจารณาลงทุนในหุ้นตัวนั้น เพื่อรอเวลาที่ราคาหุ้นจะปรับตัวขึ้นมาที่ ราคาที่แท้จริง หรือราคาที่ควรเป็น เราก็จะได้กำไรจากการที่หุ้นปรับตัวขึ้นมาหามูลค่าที่แท้จริงนั่นเอง
📌 แต่ถ้าราคาหุ้นตัวนั้นสูงกว่า มูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value) ก็ควรหลีกเลี่ยง หรือถ้ามีหุ้นอยู่ก็ควรพิจารณาขายทิ้ง เพราะอย่างไรเสีย ราคาหุ้นก็จะปรับตัวลงมาหามูลค่าที่แท้จริงอยู่ดี
อย่างไรก็ตาม มูลค่าที่แท้จริงนั้น เกิดจากการคาดการณ์อนาคต ซึ่งมีโอกาสที่เราจะประเมินผิดพลาดได้ เพราะฉะนั้น ในการใช้งานมูลค่าที่แท้จริง เมื่อวิเคราะห์ออกมาได้แล้ว สิ่งสำคัญคือ ส่วนลดเพื่อความปลอดภัยที่ต้องมากพอจนคุ้มกับความเสี่ยงนั้นได้
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
ที่มา :
ช่องทางอื่นในการติดตาม เพจลงทุนในบัญชีและภาษี
ขอบคุณทุกกำลังใจที่มีให้เสมอนะคะ 🙏🙏😘😘

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา