31 ส.ค. 2020 เวลา 14:19 • การเมือง
พระราชอำนาจเบื้องเเรกประชาธิปไตย (หลัง 2475) EP.2/...
พระราชอำนาจในการยับยั้งพระราชบัญญัติ
ตามรัฐธรรมนูญเเห่งราชอาณาจักรสยาม ฉบับวันที่ 10 ธันวาคม 2475ในกรณีที่พระมหา-กษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยร่างพระราชบัญญัติที่สภาฯ ได้ลงมติเห็นชอบด้วยเเล้ว ก็จะพระราชทานคืนมายังสภาภายในหนึ่งเดือน นับเเต่วันที่นายกฯ ทูลเกล้าฯถวาย หรือ
มิได้พระราชทานคืนมาภายในกำหนกหนึ่งเดือน ตามมาตรา 39 บัญญัติว่า
“ สภาจะต้องปรึกษากันใหม่เเละออกเสียงลงคะเเนนลับโดยวิธีเรียกชื่อ ถ้าสภาลงมติตามเดิมไซร้ ให้นำร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพรปรมาภิธัยพระราชทานลงมาภายในสิบห้าวัน ให้ประกาศพระราชบัญญัตินั้น ใช้บังคับเป็นกฏหมายได้ ”
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าการที่ให้สภาฯ ล้มล้างคำคัดค้านของประมุขของชาติได้ ควรจะต้องให้ปรากฏเเน่ชีดว่าราษฎรมีความเห็นด้วยกับนโยบายหรือกฏหมายนั้นจริงๆ โดยมีวิธีการต่างๆ เพื่อสอบความเห็นของราษฎร เช่น วิธี plebiscite ที่ใช้กันในบางประเทศ หรือใจะใช้วิธีการลงมติด้วยเสียงข้างมาก 2 ใน 3 หรือ 3 ใน 4
เพื่อลบล้างการคัดค้านร่างกฏหมายที่ประมุขใช้สิทธิคัดค้าน (Veto) ซึ่งพระองค์ได้ทรงเห็นว่ารัฐธรรมนูญนั้น ให้พระราชอำนาจในการคัดค้านจริง เเต่การนับเสียงข้างมากธรรมดา (simple majority) นั้นเท่ากับว่าไม่ได้ทำให้การคัดค้านของประมุขเเห่งรัฐมีความหมายอะไรเลย
โดยธรรมดาเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสภาฯ มีสมาชิกซึ่งรัฐบาลเเต่งตั้งขึ้นเองถึงครึ่งหนึ่งนั้น ก็หมายความว่า สภาอาจลบล้างคำคัดค้านของพระมหากษัตริย์ได้โดยเสียงของสมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งจริงเพียง 1 เสียง ซึ่งก็เพราะว่า สภาอาจสนับสนุนโยบายซึ่งราษฎรไม่ได้เห็นด้วยจริงๆ หรือไม่ต้องการเลย ถ้าต้องการฟังเสียงราษฎรจริงๆเเล้ว จะต้องมีเสียงข้างมาก 3 ใน 4 เพื่อลบล้างคำคัดค้าน
โดยที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าควรเเเก้รัฐธรรมนูญมาตรา 39 นี้ให้เป็น ความว่า
“ ถ้าสภาฯ ลงมติตามเดิมโดยมีเสียงข้างมาก 3 ใน 4 ของจำนวนสมชิกทั้งหมด เเต่ ถ้าสมาชิกสภาฯมาจาการเลือกตั้งโดยตรงทั้งหมดเเล้ว ก็ไม่ทรงรังเกียจที่จะให้สภาที่มาจากประชาชนลงมติด้วยเสียงข้างมากธรรมดา "
ซึ่งการที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว นั้นทรงคัดค้านเช่นนี้ ไม่ใช่เพราะต้องการอำนาจ ดังพระราชดำรัส ดังนี้
"ข้าพเจ้ารู้สึกว่าเป็นผู้ที่ต้องรับบาปรับความซักทอดเเละรับผิดชอบโดยไม่มีอำนาจเลยจะเหนี่ยวรั้งการกระทำของรัฐบาลหรือของสภาฯ มิได้เลย เเต่ถ้ารัฐบาลทำอะไรที่ไม่ถูกใจคน ข้าพเจ้าก็ถูกติเตียนว่า ทำไมปล่อยให้ทำไปได้ ทำไมไม่ห้าม ซึ่งเป็นของน่ารำคาญเต็มทน” เป็นต้น
พระราชประสงค์ข้างต้น รัฐบาลไม่เห็นพ้องด้วยพระราขดำริเเละสนองพระราชกระเเสว่า
“ ตามที่ทรงมีพระราชชดำริจะให้เเก้รัฐธรรมนูญมาตรา 39 เเละทรงกล่าวถึงวิธีต่างๆ นั้นเห็นว่าวิธีอย่างประเทศสวิส ซึ่งมีการให้ลงคะเเนนทั้งประเทศ (plebiscite) นั้นจะนำมาใช้ในประเทศสยามในเวลานี้ยังไม่ถนัด เพราะการศึกษา ของเรายังไม่เเพร่หลายเเละราษฎรยังไม่สันทัดเคยชินต่อการปกครองระบอบนี้ จึงควรงดวิธีนี้ไว้ก่อน ส่วนวิธีที่ให้สภาฯ ลงมติมีเสียงข้างมาก 2 ใน 3 หรือ 3 ใน 4 จึงจะลบล้างเสียงคัดค้นของประมุขได้นั้น ในเรื่องนี้เป็นเรื่องของสภา ส่วนทางรัฐบาลนั้นเห็นว่า ในทางปฏิบัติเป็นมาเเล้วสำหรับพระราชบัญญัติที่ททรงคัดค้านนั้น บรรดาสมชิกที่ไปเป็นรัฐมนตรีเเละเลขานุการรัฐมนตรีทั้งหมด ตลอดจนผู้เเทนราษฎรประเภทที่ 2 บางคนที่ไปประชุมก็นิ่งไม่ลงมติ (abstention) เสีย ดังจะเห็นได้จาหผลเเห่งการลงมติที่ผ่านๆมา ”
อ้างอิง : ส่วนหนึ่งของหนังสือ พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในทางกฏหมายรัฐธรรมนูญ ; ธงทอง จันทรงศุ
โฆษณา