1 ก.ย. 2020 เวลา 05:20 • สุขภาพ
สัญญาณไม่สู้ดี! อาจารย์หมอจุฬาฯ อัพเดทโควิดเมียนมาเพิ่ม 50% ถอด 2 ชนวนเสี่ยงต่างชาติเข้าไทย
1
เป็นอีกหนึ่งอาจากหมอที่คอยเตือนสถานการณ์โคโรนาไวรัสอยู่ตลอดตั้งแต่มีการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ในเมืองไทย และล่าสุด รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ลงในเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า "สถานการณ์ทั่วโลกล่าสุด 1 กันยายน 2563 ติดเพิ่มกันอีก 239,012 คน รวม 25,593,545 คน เสียชีวิตไปแล้ว 853,493 คน
1
อเมริกา ติดเพิ่ม 36,850 คน รวม 6,206,223 คน
บราซิล ติดเพิ่ม 45,961 คน รวม 3,908,272 คน
อินเดีย ติดเพิ่ม 68,770 คน รวม 3,687,939 คน คาดว่าอีก 10 วันจะแซงบราซิลขึ้นที่ 2
รัสเซีย ติดเพิ่ม 4,993 คน รวม 995,319 คน พรุ่งนี้รัสเซียจะแตะ 1,000,000
เปรูแซงแอฟริกาใต้ขึ้นอันดับ 5 ไปแล้ว ต่อด้วยเม็กซิโกติดเพิ่มอีกสี่พันกว่า
สเปน สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมัน อิหร่าน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ล้วนติดกันเพิ่มหลักพันถึงหลายพัน
หลายประเทศในยุโรป รวมถึงแคนาดา ปากีสถาน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ติดเพิ่มกันหลักร้อยถึงเฉียดพัน
ที่น่าเป็นห่วงมากคือ เมียนมาร์ตอนนี้ติดเพิ่มอีก 107 คน
ส่วนจีน สิงคโปร์ ออสเตรเลีย ติดกันหลักสิบ มาเลเซีย ฮ่องกง นิวซีแลนด์ และเวียดนามติดกันต่ำกว่าสิบ
...เมียนมา ตอนนี้อัตราการเพิ่มของเคสติดเชื้อสะสม 2 เท่าใน 8 วัน...ในขณะที่จำนวนการเพิ่มของเคสติดเชื้อใหม่รายวัน สูงขึ้น 18% ทุก 2-3 วันมาแล้วสองรอบ...และเพิ่มขึ้น 50% แบบขึ้นลงมาแล้วสามขยัก...วิเคราะห์จำนวนเคสติดเชื้อใหม่ต่อสัปดาห์ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมาพบว่า เพิ่มขึ้นจากน้อยกว่า 1 คนต่อวัน ขึ้นเป็น 3 คนต่อวัน ไปเป็น 14 คนต่อวัน และสัปดาห์ล่าสุดเพิ่มไปเป็น 59 คนต่อวัน...ขึ้นแบบ exponential
ดังนั้นหากประมวลความทั้งหมดแล้ว เมียนมาร์น่าจะกำลังเจอการระบาดใหม่ที่หนักทีเดียว ไทยเราเองอาจต้องพิจารณาให้ความช่วยเหลือด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการตรวจคัดกรอง และการดูแลรักษาหากเพื่อนบ้านเราต้องการ นอกจากนี้ควรพิจารณาปิดด่าน ไม่ให้เกิดการเดินทางข้ามชายแดน รวมถึงการป้องกันเรื่องการลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายด้วย
เมื่อเช้าสนทนากันที่บ้าน คุยกันว่าตุลาคมจะเป็นอย่างไร?
ผมฉุกคิดอยู่สักครู่ และตอบด้วยน้ำเสียงเรียบๆ ว่า "หากดูตามข้อมูลวิชาการที่เรามีในมือ คงจะมีการระบาดได้"
ที่สนทนาไปนั้น มองตามความจริงดังนี้
หนึ่ง กลุ่มเป้าหมายต่างๆ ที่อนุญาตให้เข้ามานั้น ทยอยเข้ามาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และสัปดาห์ก่อนก็เริ่มเห็นการติดเชื้อในแทบทุกกลุ่มเป้าหมายแล้วทั้งนักธุรกิจนักลงทุน ผู้ป่วยต่างชาติและผู้ติดตาม รวมถึงผู้เชี่ยวชาญหรือแรงงานฝีมือ แต่ตรวจพบระหว่างการกักตัวในสถานที่ที่เตรียมไว้โดยรัฐ หรือโรงพยาบาล แต่หากจำนวนเคสมากขึ้นเรื่อยๆ อาจเริ่่มเห็นการหลุดจากกรอบการกักตัว 14 วัน แม้จะดำเนินการตรวจตามมาตรฐานไปแล้ว อย่างที่เคยคาดการณ์ไว้ 100,000 คน จะมีติดเชื้อราว 500 คน และมีโอกาสหลุด 65 คน โดยหากดูพิสัยที่เป็นไปได้ทั้งหมดของโอกาสหลุดรอดจากระบบ จะอยู่ระหว่าง 9-65 คนครับ ตอนนี้ไม่ทราบว่าจำนวนที่ทยอยเข้ามานั้นมีมากน้อยเพียงใดแล้ว เพราะไม่ได้ตามอัพเดต แต่หากแตะหนึ่งหมื่น ก็มีโอกาสหลุด 1 คนได้ และเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนที่คาดประมาณ
1
สอง ความเสี่ยงจากโรคล้อมไทย เพื่อนบ้านมีการระบาดถ้วนหน้า มีโอกาสทะลักเข้ามาในไทยผ่านช่องทางต่างๆ ได้ และที่น่ากังวลคือ การลักลอบเข้ามาของแรงงานต่างด้าว ซึ่งตบมือข้างเดียวไม่ดัง แรงงานต่างด้าวอยากเข้ามา แต่คงจะยากหากไม่ได้รับความช่วยเหลือของคนที่เกี่ยวข้อง ทั้งนายจ้าง หรือเจ้าหน้าที่...หากมี...
และหากเข้ามาแล้ว มักทำงานในหลายลักษณะ เช่น ที่บ้าน ที่บริษัทห้างร้าน หรือที่โรงงานอุตสาหกรรม การระบาดจึงสามารถปะทุได้หลายรูปแบบ และเกินกว่าที่รัฐจะมีกำลังตรวจสอบได้ กว่าจะรู้ตัวก็มักจะระบาดแบบระเบิดขึ้นมาทันทีทันใด หาต้นตอได้ยาก
สาม ความเสี่ยงจากฝ่ายธุรกิจการเมืองที่พยายามผลักดันสุดลิ่มทิ่มประตู กับนโยบายฟองสบู่ท่องเที่ยว แปลงร่างแปลงกายในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะโมเดลเกาะสวรรค์ หรือโมเดลจังหวัดร่ำรวยตามภูมิภาคต่างๆ โดยหารู้ไม่ว่า จะนำหายนะมาเยือนอย่างรวดเร็ว กลายเป็นแดนดงโรคโดยยากที่จะกู้คืนมาได้
2
...ถามว่า ประเมินเช่นนี้แล้วจะทำอย่างไรดี?
คงทำได้เพียงเล่าให้พวกเราฟัง และชวนให้ทุกคนตั้งอยู่บนความไม่ประมาท อดทน อดออม ใช้ชีวิตอย่างมีสติ พอเพียง ยืนบนขาตนเอง ลดการพึ่งพาต่างชาติ ป้องกันตนเองอยู่เสมอ
ใครเคยชินกับการใช้แรงงานต่างด้าวมาช่วยทำงานบ้าน หากเลี่ยงไปก่อน และฝึกทำงานบ้านเอง ก็จะช่วยลดความเสี่ยงลงมาได้ เพราะหากไม่มี demand ย่อมไม่มี supply
ส่วนธุรกิจอุตสาหกรรมนั้น จำเป็นต้องใช้แรงงานต่างด้าว ก็ควรทำอย่างถูกกฎหมาย ใครยังใช้แบบไม่ถูกกฎหมายก็รีบพาไปขึ้นทะเบียนและไปตรวจให้เรียบร้อย เพราะแรงงานราคาถูกนั้นอาจประหยัดได้บ้างตอนนี้ แต่หากแจ็คพอตระบาดขึ้นมา ธุรกิจนั้นจะได้รับผลกระทบมหาศาล ได้ไม่คุ้มเสียครับ
ในขณะที่สิ่งที่อยากฝากถึงรัฐบาล ท่านนายกรัฐมนตรี ศบค. และสมช. นั้นคือสิ่งที่ยืนยันมาตลอด เห็นถึงความจำเป็นด้านการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ตอนนี้สถานการณ์ระบาดทั่วโลกรุนแรงมาก ยังไม่ถึงเวลาที่จะเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ไม่ว่าจะรูปแบบใดก็ตาม จำเป็นต้องชะลอไปก่อนอย่างน้อย 6 เดือนครับ เราประหยัดเงินส่วนอื่นๆ มาประคับประคอง พัฒนารูปแบบธุรกิจท่องเที่ยวไทยให้ปลอดภัย ลดการพบปะ เปลี่ยนการบริการแบบอดีตมาเป็นการออกแบบการขายประสบการณ์ เน้นคุณค่า ไม่เน้นปริมาณ และใช้เวลาพัฒนาแรงงานคนของเราให้มีทักษะใหม่ ซึ่งใช้เวลา 6 เดือนนี้แหละทำให้คนและระบบเปลี่ยนไปจากอดีต ก็จะเป็นการสร้างความยั่งยืนให้แก่ประเทศได้เวลาเกิดเหตุการณ์วิกฤติในอนาคต
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือสมบัติล้ำค่าของชาติไทย ที่ต้องยึดถือปฏิบัติ นำมาใช้ในวิกฤตินี้ครับ
ประเทศไทยต้องทำได้
ด้วยรักต่อทุกคน"
โฆษณา