11 ก.ย. 2020 เวลา 06:36 • สุขภาพ
มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความมหัศจรรย์แห่งการนอนหลับ😴
เดิมทีเมื่อพูดถึงการนอน หลายคนก็คงคิดว่า ก็แค่ "การนอน" ซึ่งมันก็น่าจะเป็นการที่ร่างกายหยุดพัก กระบวนการต่างๆ ภายในร่างกายก็หยุดพัก และเมื่อเราตื่นระบบต่างๆ ก็เริ่มต้นทำงานอีกครั้ง มันก็น่าจะแค่นั้น ไม่ซับซ้อนอะไร
แต่จริง ๆ แล้วคุณรู้หรือไม่ว่า... ร่างกายเรามหัศจรรย์มากกว่านั้นมาก! ระหว่างที่เรานอนหลับร่างกายจะมีกลไกการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ มีการหลั่งฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโต ช่วยสร้างกล้ามเนื้อ ช่วยกระตุ้นการสร้างมวลกระดูก ช่วย
ส่งเสริมการทำงานของระบบต่างๆ
เจ้าสิ่งนี้ก็ คือ “โกร๊ธฮอร์โมน”
อ้ะอ๊ะ อย่าเพิ่งเข้าใจผิดนะคะ💬
วัยทำงานอย่างเราไม่ได้แก่เกิน โกร๊ธฮอร์โมนหรอกค่ะ
ก่อนหน้านี้เราเองก็เคยเข้าใจผิดเหมือนกัน คิดว่า โกร๊ธฮอร์โมนเนี่ย มีเฉพาะสำหรับเด็กๆ เพื่อให้ร่างกายของเด็กๆเค้าสูงขึ้น โตขึ้น แต่พอได้มาศึกษาเรื่องการนอนเลย
ได้เข้าใจว่า ผู้ใหญ่อย่างเราๆ ก็มีโกร๊ธฮอร์โมนเช่นกัน และปริมาณของมันก็จะลด
น้อยลง ตามอายุ ด้วยน้า (ไม่อย่างนั้น เราคงตัวโตพรวดพราด สูงใหญ่กันเลยที
เดียว)
เจ้าโกร๊ธฮอร์โมนถูกเรียกอีกชื่อหนึ่ง ว่า "ฮอร์โมนแห่งความอ่อนเยาว์" หรือที่เราคุ้นหูว่า “ฮอร์โมนชะลอควมแก่” นั่นเอง
จากเรื่องนี้หมายความว่า ถ้าเราจะนอน ให้ได้ ประโยชน์กับร่างกาย เพื่อให้ร่าง ได้ พัก และซ่อม บำรุง เราก็ต้อง "นอน ให้ได้ โกร๊ธ ฮอร์โมน"
หลายๆ ท่านคงกำลังสงสัย ใช่มั้ยคะ ว่า "การนอนให้ได้โกร๊ธฮอร์โมน เราต้อง
ทำยังไง?”
บอกเลยค่ะไม่ยาก ไม่ยากอย่างที่คิด
"เพราะการนอนเป็นเรื่อง ธรรมชาติ และเราทูกกกคน มีความสามารถในการนอนมาตั้งแต่เกิดอยู่แล้ว"
นอนไม่หลับ หรือ นอนหลับไม่พอ
มีผู้เชี่ยวชาญทางด้านการนอนได้กล่าวไว้ว่า
แค่ "นอนหลับลึก" นอนหลับลึกอย่างเพียงพอ”
ก็พอ!
แล้วทำอย่างไร เราจึงจะหลับลึก?
อันนี้เริ่มมีความเฉพาะสำหรับแต่ละบุคคลแล้วนะคะ เพราะบางคนหลับง่าย ในขณะที่บางคนหลับยาก และมีหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรับประทานอาหาร
ช่วงเวลาที่นอน แสง อุณหภูมิในห้อง และปัจจัยกระตุ้นอื่นๆ อีก
เอาอย่างนี้ละกันค่ะ💬
เรามาสมมติกัน สมมตินะคะ สมมติว่า เราจัดการปัจจัยต่างๆ หมดแล้ว
จินตนาการว่า ห้องนอนเรามีแค่ที่นอน และเครื่องนอน
เราพร้อมมากที่จะนอน เริ่มง่วงแล้ว พร้อมจะหลับทันที
เริ่มเลย... 😴 zzz
คุณคิดว่าเราจะได้โกรธฮอร์โมนมั้ยคะ
คำตอบคือ..ยังค่ะๆ
ถ้าเราหลับลึก = เราอาจะเจอโกร๊ธฮอร์โมน แต่คงน้อยมาก
แต่ถ้าอยากได้โกร๊ธ ฮอร์โมน เราต้องไปตามเวลานัดหมาย!
หมอแอมป์ นายแพทย์ตนุพล วิรุฬหการุญ ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย กล่าวไว้ว่า "การนอนที่ทำให้ โกร๊ธฮอร์โมน เป็นช่วงการนอน 23.00 น. - 1.30 น. และ
เป็นช่วง 3-4 ชั่วโมงแรกของการนอนเท่านั้น”
ช่วงเวลานอนที่มีคุณภาพ
คิดเหมือนกันไม่คะว่า ปกติส่วนใหญ่เรานอนตอน 5ทุ่มอยู่แล้ว ก็ดีน่ะสิ
เราก็ได้ฮอร์โมนทุกวัน ไม่ยากจริงๆ ด้วย แค่การนอนให้ได้โกร๊ธฮอร์โมน
แต่ผิด ผิดค่ะ เข้าใจผิดอย่างแรง!
การนอนยังมีเรื่องลึกซึ้งกว่าแฝงอยู่ในนั้นอีก และมันคือเคล็ดลับที่คุณหมอ และคนที่หน้าเด็กอยากจะเปิดเผย
ซึ่งในทางการแพทย์แบ่งการนอนออกเป็นหลายเฟส หรือเข้าใจง่าบๆ ว่า การนอน
แบ่งออกเป็น2ช่วง คือ
📝ช่วงหลับลึก และช่วงหลับตื้น
นี่ไงที่มา ของการที่เรานอน 8 ชั่วโมงก็เพลีย นอน 10 ชั่วโมงก็ยังเพลีย
นอนเพิ่มเสาร์อาทิตย์ก็ยังมึนๆ อึนๆ
นอนยังไง๊ ยังไง ก็ยังเพลีย 😴
ฉะนั้นเราต้องนอนหลับลึก ให้พอ โดยนอนให้เข้าสู่ช่วงหลับลึกตอน
5 ทุ่ม-1.30 นะคะ
รู้อย่างนี้แล้ว...วันนี้เรามานอนหลับลึกให้ได้โกรธฮอร์โมนกันนะคะ
📝 (*ในบทความถัดไป เราจะมารู้จักช่วงการนอนให้มากกว่านี้นะคะ เพื่อให้เราเข้าใจกลไลการนอน และจะได้ตามไปเจอเจ้าโกร๊ธฮอร์โมน และเมลาโทนิน)
ขอบคุณนะคะที่ติดตามอ่านจนมาถึงตรงนี้ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจ และให้ความสำคัญ เกี่ยวกับเรื่อง การนอน สามารถติดตามเราได้ทางเพจ
โฆษณา