20 ก.ย. 2020 เวลา 00:00 • สุขภาพ
ฮอร์โมนเซโรโทนิน คืออะไร?
ฮอร์โมนเซโรโทนิน คือสารชีวเคมีชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นเป็นสารสื่อประสาทและเป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญต่อการทำงานหลาย ๆ ส่วนของร่างกาย
เซโรโทนินช่วยควบคุมอะไรบ้าง?
+ โรคทางจิตเวช
+ การย่อยอาหาร
+ การนอนหลับ
+ ด้านอารมณ์
+ การอยากอาหารหรือเบื่ออาหาร
#สาระจี๊ดจี๊ด
สารเซโรโทนินและสารนอร์อิพิเนฟรินที่ต่ำกว่าปกติเกี่ยวข้องกับอาการโรคซึมเศร้า
เซโรโทนิน (Click 2 ครั้ง เพื่อขยาย 🔍)
หากร่างกายขาดเซโรโทนินเป็นอย่างไรบ้าง?
- กระตุ้นอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS)
- มีปัญหากับความจำ
- นาฬิกาชีวิตเปลี่ยน
- ภูมิคุ้มกันต่ำ
- รับประทานอาหารผิดปกติ
- วิตกกังวล
- นอนไม่หลับ
- ขาดสมาธิ
- ผิดปกติด้านอารมณ์ พฤติกรรม และมีอาการเป็นโรคซึมเศร้า
- รู้สึกเจ็บปวด
- ลำไส้แปรปรวน
วิธีการเพิ่มระดับเซโรโทนิน
+ ออกไปรับแสงแดด
+ ใช้ยากลุ่ม SSRIs (ยาต้านเศร้า)
+ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
+ บําบัดความคิด
+ ทานอาหารที่มีประโยชน์
อาหารเพิ่มเซโรโทนิน
+ ถั่ว
+ ขมิ้น
+ กล้วย
+ อะโวคาโด
+ ปลาทูน่า
+ ปลาแซลมอน
+ เต้าหู้
#สาระจี๊ดจี๊ด
ห้ามใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่เพิ่มสารเซโรโทนินร่วม 2 ชนิดขึ้นไป จะทำให้สารเซโรโทนินสะสมในร่างกายมากกว่าปกติ ส่งผลให้เกิด "เซโรโทนินซินโดรม"
อาการเซโรโทนินซินโดรม
- สั่น
- หัวใจเต้นเร็ว
- หนาว
- ท้องเสีย
- ปวดหัว
- เหงื่อออกมาก
- คลื่นไส้
- หงุดหงิด
- ขนลุก
- หลอน
- สับสน
- กังวล
- ความดันโลหิตสูง
- รูม่านตาขยาย
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
พิสูจน์อักษรโดย วาลีพ
แหล่งอ้างอิง
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา