28 ก.ย. 2020 เวลา 07:56 • การศึกษา
😌เรื่องของคนสาบสูญ..และมรดก..กับเขาและเธอ (สามีภริยา )...💦
สวัสดีครับ..บทความนี้มาจากการที่เข้าไปตอบคอมเม้นต์ให้น้องตา เพจ กูรู ประกัน (ประกันเรื่องที่คุณควรรู้ ) ..ซึ่งผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่ท่านผู้อ่านน่าจะเก็บข้อมูลไว้...หลายคนคิดว่าเราไม่มีเหตุที่ต้องใช้อำนาจศาล..ซึ่งมันไม่แน่ครับ ผมเคยมีลูกความอายุ 85 ปี ..แกบอกว่า ..ยายเกิดมาจนอายุปานนี้แล้วเพิ่งขึ้นศาลครั้งแรกในชีวิต แค่นี้ยายก็ตายตาหลับแล้ว...555 ผมนี้อึ้ง..เข้าเรื่องดีกว่าครับ
กาลครั้งหนึ่ง..เมื่อบุคคลใดไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ ย่อมมีการจัดการทรัพย์สินของบุคคลดังกล่าว ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะกลับมาเมื่อไหร่ หากไม่ได้ตั้งตัวแทนให้จัดการทรัพย์สินไว้ เมื่อเวลาล่วงไป 1 ปี นับแต่ไปจากภูมิลำเนา หรือ 1 ปีนับแต่มีผู้พบเห็นหรือทราบข่าวมาครั้งหลังสุด ญาติ สามี ภริยา ฯ ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียจะร้องศาลตั้งผู้จัดการทรัพย์สิน ของผู้ไม่อยู่ขึ้นก็ได้....ตามมาตรา 48 ของประมวลกฎหมายแพ่งและ
พานิชย์....อันนี้คือ...กรณีผู้ไม่อยู่ .. และมีทรัพย์สินต้องจัดการ..นะครับ
ตามมาตรา 48 ดังกล่าวยังไม่ถึงกับสาบสูญ.. แต่ถ้าไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ ตลอดระยะเวลา 5 ปี แบบนี้ก็จะเข้าเงื่อนไข สาบสูญ..ละครับ ผู้มีส่วนได้เสียดังกล่าวหรือพนักงานอัยการ ก็จะมาร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญได้..
ภาพจากpexels.com
และระยะเวลา 5 ปีตามกฎหมายนั้น กรณีพิเศษจะลดลงเหลือ 2 ปี หากอยู่ในการรบหรือสงคราม และหายไปในการรบหรือสงคราม...หรือเดินทางไปกับยานพาหนะแล้ว เกิดอับปาง ถูกทำลาย หรือสูญหายไป ..ฯ ตามมาตรา 61 ..แบบนี้ก็จะเข้าขอสันนิฐานว่าเป็นคนสาบสูญได้
จะเห็นว่า การจะเข้าสันนิฐานว่าเป็นคนสาบสูญหรือไม่ จะมีเงื่อนเวลากำกับอยู่ 5 ปี หรือ 2 ปีแล้วแต่สาเหตุของการหายไป ...
คำว่า ไม่มีใครทราบว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร ก็คือ ไม่แน่ว่า บุคคลดังกล่าวยังมีชีวิตอยู่หรือตาย ตลอดระยะเวลาตามกฎหมาย แต่ถ้าหากมีใครพบเห็นหรือทราบข่าวว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิต หรือเห็นครั้งสุดท้ายเมื่อใด กำหนดเวลาดังกล่าวก็นับจากนั้นไป..ซึ่งการนับระยะเวลาเป็นเรื่องสำคัญ..เพราะเป็นเงื่อนไขของกฎหมาย..
เมื่อเข้าเงื่อนไขดังกล่าวแล้ว และมีการยื่นคำร้องต่อศาลโดยผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการ และศาลได้มีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ มาตรา 62 ให้ถือว่าถึงแก่ความตาย ...แต่ตราบใดยังไม่มีคำสั่งของศาลให้เป็นคนสาบสูญ ก็ยังไม่ถือว่าตายนะครับ.....
แล้วเมื่อถึงแก่ความตายโดยผลของคำสั่งตามกฎหมาย จะมีผลอะไรบ้าง ..มาดูกันครับ ..
ทรัพย์สิน ครับ ..เมื่อศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญแล้ว ทรัพย์สินของผู้สาบสูญก็จะกลายเป็นมรดก..ซึ่งรวมทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้สาบสูญด้วย..
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา ..มาตรา 1501 ให้การขาดจากการสมรสนั้น ย่อมสิ้นสุดลงด้วยความตาย การหย่า ..ปัญหาว่า หากศาลมีคำสั่งให้สามีหรือภริยา เป็นบุคคลสาบสูญ ซึ่งตามกฎหมายถือว่าถึงแก่ความตายแล้ว การสมรสจะสิ้นสุดหรือไม่...
ภาพจาก pexels.com
คำตอบคือไม่สิ้นสุดครับ เพราะอะไร ..เหตุเพราะว่า ในเรื่องการสมรสสิ้นสุด ในกรณีที่ตาย กฎหมายมุ่งเฉพาะการตายโดยธรรมชาติ ไม่ใช่ตายโดยผลของกฎหมาย ..จึงเป็นเพียงเหตุหย่าเท่านั้น ตาม มาตรา 1516 (5) ทีบอกว่า ...
สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือ ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกิน 3 ปี โดยไม่มีใครทราบว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
นี่คือผลของการเป็นคนสาบสูญที่สำคัญ.. แล้วต่อมาหากผู้สาบสูญโผล่มาละครับ ..
เอ้า..ยังอยู่นี่หว่า. หรือ ปรากฎว่ามีผู้พบเห็นพิสูจน์ได้ว่ายังมีชีวิตอยู่..แบบนี้
มาตรา 63 ก็ให้สิทธิ ผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญเอง หรือผู้มีส่วนได้เสีย มาร้องขอต่อศาลเพิกถอนคำสั่งที่ให้เป็นคนสาบสูญ..นั้นได้ครับ..
แท้จริงแล้วเรื่องของคนสาบสูญยังมีรายละเอียดอีกมากเหมือนกัน ..โดยเฉพาะเมื่อศาลมีคำสั่งให้ถอนคำสั่งเดิมจาก ..สาบสูญ เป็น ไม่สาบสูญ ..แล้วมีการจัดการทรัพย์สินไปแล้ว..แบบนี้..ต้องคืนทรัพย์สินให้กับบุคคลดังกล่าวอย่างไร...
เช่น..เมื่อศาลสั่งให้สาบสูญแล้ว ก็จัดการมรดกที่ดินขายแบ่งกันกับทายาทไปแล้ว ต่อมาคนสาบสูญโผล่ขึ้นมา และศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิม ..ที่ดินที่ขายไปจะทำยังไง.....
เรื่องดังกล่าวจะมาเล่าให้ฟังนะครับ..ในบทหน้า..
เรื่องของผู้ไม่อยู่..และบุคคลสาบสูญ เป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะถ้ามีทรัพย์สินต้องจัดการ ถ้าเรารู้หลักเกณฑ์กฎหมายดังกล่าวเพียงส่วนน้อยนิด ก็สามารถป้องกันความเสียหายได้หลายประการเลยครับ..
ส่วนตัวผมเองคงไม่มีโอกาสได้เป็นผู้ไม่อยู่ หรือ บุคคลสาบสูญ หรอกครับ ...เพราะไปไกลได้แค่ปลายโซ่.....ครับ 555 🐕🐕
🤗 บุญรักษาทุก ๆ ท่านครับ 🙏🙏🙏
โฆษณา