10 ต.ค. 2020 เวลา 14:55 • สุขภาพ
"แม่สอด"เอายังไงต่อ
เจอโควิด "2คนขับรถ"
(ตอน1)
2
ตอน2(ล่าสุด 11ต.ค.2563)
ตอน1(10ต.ค.2563)
"แม่สอด"เอายังไงต่อ
เจอโควิด "2คนขับรถ"
เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม2563 เฟซบุ๊คเพจ เรื่องเล่าหมอชายแดน โพสต์ข้อความว่ารอมาทั้งวันยังไม่มีใครแถลง จึงขอแถลงเองเพราะข่าวก็ออกไปมากแล้วคงมีคนรอว่าเป็นความจริงหรือไม่ จึงขอบอกว่าที่ตรวจพบผลโควิดบวกในคนขับรถชาวเมียนมา 2 คนที่เข้ามาผ่านสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมาแห่งที่สองจากการทำคัดกรองเพียงแค่สองวัน..เป็นความจริงค่ะ
Timeline ของคนขับรถคือ ผ่านสะพาน มาในตลาดพาเจริญ มาขนส่งสินค้าที่โกดังอาลี และโกดังสิงห์รุ่งเรือง มาสองเที่ยวไปกลับ อยู่ในแม่สอดนาน 6 ชั่วโมง แวะซื้อขนมที่หน้าโกดัง
วันนี้ลงสอบสวนโรคพบผู้สัมผัสรวม 74 คน ได้ทำการตรวจ PCR ทุกคนและให้กักกันแบบ home quarantine โดยมีเจ้าหน้าที่ปกครองเฝ้าตลอด 24 ชั่วโมง
ตอนนี้ยังไม่มีความชัดเจนเรื่องด่านว่าจะเอายังไง จะปิดหรือจะโซนนิ่ง อย่าว่าแต่รถแม่สอดเลยค่ะ ทุกวันนี้รถทะเบียนกรุงเทพ ชลบุรี และจังหวัดอื่นๆก็เข้าไปในเมียนมาอย่างเสรี
ดิฉันวางแผนว่าจะขอ locked down บางชุมชนเพื่อให้ลดการเคลื่อนไหลของประชากร และทำ active surveillance ชาวเมียนมาที่มีความเสี่ยงจำนวนหลายพันที่สัมผัสคนขับรถ
1
....แต่ก็ยังทำไม่ได้...ดิฉันจึงคิดว่าจะขอยุติบทบาทอื่นๆ จะขอตั้งรับแต่คนไข้เท่านั้นตรงตามหน้าที่ของหมอที่ควรจะเป็น 10 เดือนที่ผ่านมาก็ทำเกินหน้าที่มามากแล้วต่อไป..ขอให้ชาวแม่สอดและชาวไทยโชคดีนะคะ ดูแลตัวเองให้ดี สวมแมส ล้างมือ อยู่ห่างๆผู้ที่มีความเสี่ยงเข้าไว้ บางเรื่องก็อยู่เหนือการควบคุมของเรา...
วันเดียวกัน นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กล่าวว่า
ได้รับรายงานจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตากว่า จากการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในพื้นที่ อำเภอแม่สอด โดยการตรวจด้วยวิธี RT-PCR ใน 5 อำเภอชายแดน เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างโรงพยาบาลแม่สอด และเจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดตาก ตั้งจุดตรวจโควิด 19 บริการฟรี
ตรวจในกลุ่มคนขับรถขาเข้าทั้งไทย และเมียนมา โดยให้คนขับรถทุกคนลงจากรถเพื่อเก็บตัวอย่างส่งตรวจ รพ.แม่สอด รวมจำนวน 115 คน
ผลการดำเนินงานแต่วันที่ 8 – 9 ตุลาคม 2563 ตรวจพบสารพันธุกรรมจำนวน 2 ราย ขณะนี้ทางการเมียวดี ได้รับตัวผู้ป่วยทั้ง 2 ราย เข้ารักษาที่โรงพยาบาลเมียวดีแล้ว
สำหรับผู้สัมผัสที่ทำงานในโรงงานเดียวกัน 100 คน ทั้งหมดได้ถูกส่งเข้า state quarantine ของประเทศเมียนมา ส่วนฝั่งประเทศไทยกำลังเร่งติดตามค้นหาผู้สัมผัสเช่นกัน
. แล้วพื้นที่อ.แม่สอด จะยังไงต่อไป????
ทั้งนี้ เมื่อเกิดกรณีการตรวจเจอคนติดเชื้อขึ้นในประเทศไทย โดยที่ไม่ใช่บุคคลที่อยู่ในสถานที่กักกันที่รัฐกำหนด ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือคนต่างชาตินั้น
กรมควบคุมโรค ระบุว่า ต้องมีการตรวจค้นหาในการสอบสวนทางระบาดวิทยา กรณีพบผู้ป่วยยืนยัน โดยการติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิด การค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก และการค้นหาผู้ติดเชื้อในชุมชนในกรณีพบผู้ป่วยต่อเนื่องเกิน 28 วัน
ซึ่งจากสถานการณ์ที่อ.แม่สอด อยู่ในระยะทร่พบผู้ป่วยยืนยันเกิดขึ้น แม้บุคคลนั้นจะเดินกลับไปฝั่งเมียนมาแล้ว แต่ก็มีประวัติเดินทางไปสถานที่ต่างๆในฝั่งไทยที่อ.แม่สอด
ขณะนี้จึงต้องติดตามตัวผู้สัมผัสใกล้ชิดทั้งหมดโดยติดตามได้แล้ว 74 คน มาเฝ้าระวังสังเกตอาการจนครบ 14 วัน ซึ่งหากคนป่วยใส่หน้ากาก และคนสัมผัสก็ใส่หน้ากากด้วยนั้น โอกาสที่จะแพร่และติดเชื้อระหว่างกันก็จะมีไม่มาก หากร่วมกับการล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ ก็จะยิ่งเสี่ยงติดเชื้อต่ำมากๆอีก
หลังจากนั้น หากพบมีผู้สัมผัสใกล้ชิดติดเชื้อ ก็จะดำเนินการติดตามผู้สัมผัสของผู้สัมผัสใกล้ชิดคนนั้นมาเฝ้าระวัง 14 วัน รวมถึง การค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก โดยทีมเจ้าหน้าที่จะตีกรอบพื้นที่เสี่ยง เพื่อเข้าไปตรวจหาเชื้อคนในพื้นที่
หากพบว่ามีคนติดเชื้อในพื้นที่มากขึ้น ก็จะติดตามผู้สัมผัสของผู้สัมผัสต่อไปเป็นทอดๆ และในกรณีพบผู้ป่วยต่อเนื่องเกิน 28 วัน เจ้าหน้าที่จะลงค้นหาผู้ติดเชื้อในชุมชน
ส่วนการสั่งปิดสถานที่ต่างๆหรือการจะlocked down พื้นที่นั้น เป็นอำนาจของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน แต่จะเป็นการสั่งปิดเฉพาะพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับผู้ติดเชื้อเท่านั้น ระยะเวลานานเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ โดยนพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เคยกล่าวว่า "จะปิดเฉพาะพื้นที่ ไม่มีการปิดบ้านปิดเมืองแบบเหมารวมทั้งหมด"
1
สำหรับแผนรับมือภาพรวมทั้งประเทศนั้น กระทรวงสาธารณสุข มีการคาดการณ์แบบจำลองสถานการณ์การโควิด19ระบาดระลอกใหม่จะเกิดใน 3 รูปแบบ คือ1.มีผู้ติดเชื้อ 1 รายหรือ 2 รายและเข้าไปควบคุมไม่ให้เกิดการแพร่กระจาย
2.หลังจากมีผู้ป่วยรายที่ 1 อาจจะมีการระบาดในกลุ่มเล็กๆ คาดว่าจะมีประมาณ 10-20 ราย อาจจะมีลูกใหญ่บ้าง เล็กบ้างแต่สามารถควบคุมได้ภายในระยะเวลาอันสั้นไม่ให้เกิน 3 -4 สัปดาห์
และ3. เป็นแบบที่ไม่อยากให้เกิดคือเมื่อมีรายแรกเกิดขึ้นก็เกิดการแพร่ระบาดไปในวงกว้าง100 - 200 คน แต่ไม่น่าจะเกิดขึ้น หากประชาชนให้ความร่วมมือ ด้วยการการสวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง ล้างมือ และผู้ประกอบการก็ร่วมมือในการจัดการต่างๆ
เป้าหมายในการควบคุมโรค คือ หากพบการติดเชื้อต้องดำเนินการควบคุมโรคได้อย่างรวดเร็วภายใน 3-4 สัปดาห์   ลดอัตราป่วยตายต่ำกว่า1.4%
 
         กลุ่มเป้าหมายการเฝ้าระวังและตรวจทางห้องปฏิบัติการโควิด-19ใน 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1. กลุ่มที่มีอาการเข้าเกณฑ์ ตรวจเชื้อทางในห้องแล็ป ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ และอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ในทุกโรงพยาบาล 2.กลุ่มเป้าหมายเฉพาะหรือพื้นที่เฉพาะ เช่นผู้ต้องขังแรกรับ แรงงานต่างด้าวพื้นที่ชายแดน และ3.กลุ่มอื่นๆตามสถานการณ์ เช่น นักกีฬาฟุตบอลไทยลีก
ทั้งนี้ กรมควบคุมโรค จะมีการแถลงรายละเอียดเพิ่มเติมในเวลา 13.00 น. วันที่ 11 ตุลาคม 2563
แหล่งอ้างอิง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา