15 ต.ค. 2020 เวลา 03:00 • การเมือง
สรุปชัดๆ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง เช็กข้อห้าม-ข้อบังคับ
เช็กข้อห้าม ข้อบังคับ หลัง "ราชกิจจานุเบกษา" ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร
ภายหลังราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินท่ีมีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ที่ลงนามโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีเนื้อหาบางส่วนระบุว่า เป็นการชุมนุมในที่สาธารณะโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ก่อให้เกิดความปั่นป่วนวุ่นวายและความไม่สงบเรียบร้อยของประชาชน มีการกระทำที่กระทบต่อขบวนเสด็จพระราชดำเนิน
มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำที่มีความรุนแรงกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตหรือทรัพย์สินของรัฐหรือบุคคล อันมิใช่การชุมนุมโดยสงบที่ได้รับการรับรองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงจำเป็นอย่างย่ิงที่จะต้องมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อแก้ไขกรณีดังกล่าวให้ยุติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้ังแต่วันท่ี 15 ต.ค. 2563 เวลา 04.00 น. นั้น
ต่อมา เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ยังเผยแพร่ประกาศและข้อกำหนด ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 ประกอบมาตรา 11 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 สรุปได้ดังนี้
1. ห้ามชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใดๆ ต้ังแต่ 5 คนข้ึนไป
2. ห้ามเสนอข่าว หรือสื่ออื่นใด รวมตลอดทั้งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์บรรดาที่มีข้อความอันอาจทําให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
3. ห้ามเดินทางไปชุมนุม ตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบประกาศกำหนด อาทิ บริเวณรอบทำเนียบ
4. ห้ามเข้าไป หรืออยู่ในอาคารหรือสถานท่ีห้าม ตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบประกาศกำหนด
5. การดำเนินการตามข้อ 1 ถึงข้อ 4 หัวหน้าผู้รับผิดชอบจะกำหนดเงื่อนเวลาในการปฏิบัติตามข้อกําหนด หรือเงื่อนไขในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าท่ีตามที่เห็นสมควร เพื่อมิให้มีการปฏิบัติท่ีก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุก็ได้
6. ประกาศครั้งนี้ไม่ใช่การประกาศเคอร์ฟิว ประชาชนทั่วไปยังสามารถเดินทางไปทำงานได้ตามปกติ.
อ่านบทความเพิ่มเติม
👉 ราชกิจจาฯ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพฯ
👉 ประกาศแต่งตั้ง หัวหน้าผู้รับผิดชอบ กอร.ฉ. แก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง
👇 อ่านบทความต้นฉบับ 👇
โฆษณา