8 พ.ย. 2020 เวลา 11:30 • ประวัติศาสตร์
แกะร่องรอยของชนชาติต่างๆในอยุธยา ผ่านแผนที่โบราณจากบันทึกของลาลูแบร์
2
อาณาจักรอยุธยานั้นเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์และร่มเย็นเป็นสุข ภาพที่สะท้อนให้เห็นจนมาถึงยุคนี้นั่นก็คือ มีชนชาติต่างๆ อาศัยอยู่เป็นจำนวนมากนั่นเองครับ
1
และวันนี้ผมขอพาท่านผู้อ่านแกะรอยประวัติศาสตร์ไปกับแผนที่โบราณฉบับนี้กันครับ
แผนที่โบราณอาณาจักรอยุธยา จากบันทึกของมองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์
ตามบันทึกโดย มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ ทูตฝรั่งเศสผู้มายังอยุธยาในสมัยพระนารายณ์ ได้ระบุถึงข้อมูลเกี่ยวกับชนชาติต่างประเทศที่เข้ามาเจริญสัมพันธ์และพึ่งพระบรมโพธิสมภาร มีถึง 40 ชนชาติครับ
1
โดยการเปิดรับชาวต่างนี้ ถือว่าเป็นวิธีการเพิ่มพูนจำนวนประชากรให้ดินแดนเข้มแข็งขึ้นของอยุธยานั่นเองครับ
การเพิ่มจำนวนประชากรในยุคนั้นมักมีสองมีวิธีใหญ่ๆ คือ การทำศึกสงครามกับอาณาจักรอื่นแล้วกวาดต้อนผู้คนกลับมาในดินแดนของตน อีกวิธีหนึ่งคือ การต้อนรับการเข้ามาของชาวต่างชาติครับ
1
ไม่ว่าชาวต่างถิ่นนั้นจะมาด้วยเหตุผลต่างๆนาๆ แต่ด้วยความสมบูรณ์ในด้านต่างๆของอยุธยาที่สามารถเป็นเมืองท่า รวมทั้งผู้ปกครองยังมีขันติธรรมต่อศาสนาและความเชื่ออื่นๆด้วยความหลากหลาย
2
จึงไม่น่าแปลกใจครับ ว่าทำไมลาลูแบร์ถึงบันทึกไว้กว่า 40 ชนชาติ ในอยุธยา แม้จะไม่ได้ระบุไว้ว่ามีชาติใดบ้างอย่างละเอียดก็ตามที ความหลากหลายทางวัฒนธรรมนี้ส่งผลมาถึงยุคกรุงรัตนโกสนิทร์ตอนต้นเลยครับ
ในยุครัชกาล ที่ 3 มีศิลปะและหลักฐานเกี่ยวกับชนชาติต่างๆ ถึง 32 ชนชาติ ที่ถูกจารึกเป็นโคลง ผ่านศิลปะภาพวาดจิตรกรรมบอกเล่าถึงคนต่างชาติไว้ บริเวณวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
โคลงจารึกและภาพเหล่านี้สร้างติดไว้กับศาลาที่อยู่ลายล้อมวัด ได้ระบุถึง 32 ชนชาติภาษา ดังนี้ 1.สยาม 2.สิงหล 3.กะเหรี่ยง 4.แอฟริกัน 5.ดัตถ์ 6.อิตาเลียน 7.ฝรั่งเศส 8.ยิบเซ็ดอ่าน 9.สระกาชวน 10.ญี่ปุ่น 11.อาหรับ 12.หรุ่มโต้ระกี่ 13.แขกปะถ่าน 14.แขกจูเหลี่ย 15.หรูชปีตะสบาก 16.หรูซ(ตาตา) 17.มอญ 18.กระแซ 19.เงี้ยว 20.พม่า 21.ฮินดู 22.มลายู 23.พราหมณ์ฮินดู 24.พราหมณ์รามเหศร์ 25.จาม 26.ลาวยวน 27.หุ้ยหุย 28.เกาหลี 29.ญวน 30.จีน 31.เขมร 32.ลิ่วขิ่ว
จาจึกภาพนี้เปรียบดั่งภาพสะท้อนที่ถูกส่งต่อมาจากอยุธยานั่นเองครับ แม้จะไม่ครบถ้วนตามบันทึกของลาลูแบร์ แต่ก็เป็นหลักฐานที่ดีชิ้นหนึ่งเลย
คราวนี้เรามาเจาะร่องรอยบนแผนที่โบราณของลาลูแบร์ดูกันนะครับ
ภาพแผนที่ด้านล่างนี้ เป็นแผนที่อาณาจักรอยุธยา จากบันทึกของมองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ ผมได้แปลบางส่วนจากภาษาเดิมซึ่งเป็นฝรั่งเศส รวมทั้งได้ค้นคว้าเพิ่มเติม ผมจะใช้สัญลักษณ์ตัวเลขและตัวอักษร เพื่อระบุถึงตำแหน่งต่างๆนะครับ
ตัวอักษรระบุถึงสถานที่ในอยุธยา
ตัวอักษรระบุถึงสถานที่ในอยุธยา
A. พระนคร
B.พระบรมมหาราชวัง
C.ท่าเรือ
D.อู่เรือสำเภา
E.อูเรือกำปั่น
F.ถนนและตลาด
G.คริสต์ศาสนสถาน
H.โบสถ์โดมินิกัน
i.โบสถ์เยซูอิต
K.บ้านฮอลันดา
L.เพนียดคล้องช้าง
M.บ้านทูตฝรั่งเศส
ตัวเลขระบุถึงหมู่บ้านของกลุ่มชนต่างชาติ
ตัวเลขระบุถึงหมู่บ้านของกลุ่มชนต่างชาติ
1.ย่านที่อยู่ของแขกมักกะสัน
2.หมู่บ้านของชาวพะโค หรือ มอญ
3.กลุ่มบ้านเรือนของชาวโคชินจีน(เวียดนาม)
4.หมู่บ้านชาวโปรตุเกส
5.หมู่บ้านชาวจีน
6.หมู่บ้านของชาวมลายู
7.หมู่บ้านญี่ปุ่น
ท่านผู้อ่านที่สังเกตุและตั้งใจดูแผนที่โบราณฉบับนี้ จะเห็นได้ว่า ข้อมูลที่อยู่ภายในนั้นน่าสนใจมาก
ไม่ใช่เพียงแค่ระบุตำแหน่งสถานที่เท่านั้น แต่ยังบอกถึงผังเมือง รูปแบบลักษณะทางภูมิศาสาตร์ รวมทั้งระบบสังคมศาสตร์ที่แฝงไว้
หากเอามาเปรียบเทียบกับแผนที่ปัจจุบัน เราจะยังสามารถมองเห็นโคลงสร้างทางสังคมดั้งเดิม หรือร่องรอยที่ทิ้งไว้อีกมากมายได้อีกด้วยครับ
ข้อมูลที่แฝงไว้ในแผนที่โบราณสักฉบับหนึ่งนั้นมีมากมาย ดั่งที่มีชาวตะวันตกผู้หนึ่งกล่าวไว้ครับ
“ภาพหนึ่งภาพบอกเรื่องราวนับพันเรื่อง
แผนที่หนึ่งฉบับบอกเรื่องราวนับล้านเรื่อง”
“A picture tells a thousand words, a map tells a million”
Alex Leith
1
🙏ขอบพระคุณครับ🙏
❤️กดไลค์ กดแชร์ ติมตามเป็นกำลังใจ❤️
อ้างอิง:
- The Kingdom Of Siam, Simon De La Loubere
- Discovering Ayutthaya , Charnvit Kasetsiri
- ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน , คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544
- สิ่งน่ารู้ในวัดโพธิ์ ศูนย์รวมหนังสือเพื่อการศึกษา วัดพระเชตุพน
โฆษณา