25 พ.ย. 2020 เวลา 07:40 • การศึกษา
โลกของเราก้าวไปไกล และเร็ว จนบางทีก็คิดว่า ทำไมเวลามันเดินเร็วเสียจริงๆ แท้จริงแล้วเวลาก็เดินปกตินั้นเอง แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยเปลี่ยน ไม่ว่าเวลาจะผ่านมานานแค่ไหนก็ตาม นั้นคือ "กฎแห่งกรรม"
1
ช่วงนี้กฎหมายบ้านเมืองมีการปรับเปลี่ยนแก้ไข สังเกตว่าในช่วงนี้ เรามักจะได้ข่าวการทำผิดกฎหมายต่างๆ ซึ่งผิดศีลธรรมด้วย ดังนั้น เราจะมาตั้งประเด็นเรื่อง “กฎหมาย” กับ “กฎแห่งกรรม” ว่าแตกต่างกันอย่างไร
1
“กฎหมาย” เป็นสิ่งที่คนในสังคมตกลงกัน แล้วกำหนดขึ้นเป็นระเบียบปฏิบัติของคนในสังคม เช่น กฎหมายประเทศไทย คนไทยตราขึ้นมา รูปแบบการตรา เช่น เลือก ส.ส. และ ส.ว. มาร่วมกันออกกฎหมายที่มีผลบังคับใช้ ซึ่งเป็นตัวกฎหมายโดยตรง เป็นพระราชบัญญัติ แต่กฎหมายบางอย่าง คณะรัฐมนตรีสามารถตราได้ เช่น พระราชกฤษฎีกา พระราชกำหนด เป็นต้น
1
บางอย่างให้แต่ละกระทรวงกำหนด แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีมีมติรับรอง เรียกว่า กฎกระทรวง บางอย่างเป็นระเบียบที่แต่ละหน่วยงานสามารถออกได้เอง ซึ่งมีศักดิ์และสิทธิ์ของตัวกฎต่างกันไป กฎหมายเมืองไทยไม่จำเป็นต้องเหมือนกฎหมายประเทศอื่น แต่ละประเทศ แต่ละสังคมมีกฎของตนเองนั่นคือ กฎหมาย
1
ส่วน “กฎแห่งกรรม” ไม่ใช่สิ่งที่คนหรือกลุ่มชนกำหนดขึ้น แต่เป็นกฎที่ควบคุมความเป็นไปของพฤติกรรมมนุษย์ว่า ถ้าทำอย่างนี้แล้วจะเกิดผลอย่างไร ซึ่งความจริงไม่ได้มีผลเฉพาะมนุษย์อย่างเดียวเท่านั้น แต่ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ไปจนถึงสรรพสัตว์ทั้งหลายด้วย ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ เทวดา นางฟ้า หรือพรหมก็ตาม ถ้าทำสิ่งดีก็เป็นกรรมดี ได้รับผลดีตอบสนอง แต่ถ้าทำสิ่งไม่ดีก็เป็นกรรมชั่ว และมีวิบากที่ร้ายแรงตอบสนองเช่นเดียวกัน
1
ไม่ว่าจะเป็นคนชาติใด ศาสนาใด กฎแห่งกรรมเหมือนกันหมด ไม่เฉพาะกับคน แม้แต่สัตว์ก็ตกอยู่ในกฎแห่งกรรมเช่นเดียวกัน มันไม่ใช่ความเชื่อ แต่เป็นความจริง ไม่ได้เกี่ยวกับว่าเรานับถือศาสนาอะไร จะนึกเอาเองว่ากฎแห่งกรรมที่พระพุทธศาสนาสอนไม่มีผลกับตนเอง เพราะเราไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนานั้นไม่ใช่
ไม่ว่าจะเป็นคนศาสนาใด ชนชาติใดก็ต้องตกอยู่ในกฎแห่งกรรมเดียวกัน เพราะกฎแห่งกรรมนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ชัดเจนว่าพระองค์ไม่ใช่ผู้บัญญัติขึ้น แต่พระองค์เป็นผู้ตรัสรู้ธรรม คือ ไปรู้ไปเห็นถึงความจริงว่ากฎแห่งกรรมมีอยู่ ถ้าทำดีแล้วเป็นบุญ ถ้าฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ดื่มเหล้าเมายา โกหก ผิดศีลกาเมเป็นบาป
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปรู้ไปเห็นความจริงนี้แล้วนำมาสอนเรา เพื่อเราจะได้หลีกเลี่ยงไม่ทำความชั่ว ตั้งใจทำความดีและทำใจให้ผ่องใส สุดท้ายเราจะได้พ้นจากกิเลส แล้วเข้าพระนิพพาน
เพราะฉะนั้น “กฎแห่งกรรม” คือ “กฎแห่งความจริง” ไม่ขึ้นกับความเชื่อ จะเชื่อหรือไม่เราก็ต้องเจอเหมือนกัน ดังนั้น ขึ้นอยู่กับว่า “เราจะเชื่อตอนเป็น หรือจะไปเห็นตอนตาย” ถ้าเชื่อตอนเป็น คือ ตอนยังมีชีวิตอยู่ เราจะได้ไม่ทำบาป แล้วตั้งใจทำบุญ อาจจะยังไม่เชื่อเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะเรายังไม่เห็นว่า นรกเป็นอย่างไร
เอาเป็นว่าเผื่อเหนียวไว้ก่อน ถ้าเราเชื่อตอนเป็นก็ยังมีหนทางแก้ไขได้ อะไรไม่ดีเราไม่ทำ ที่เคยทำมาแล้วก็พยายามลืมไป ไม่ไปนึกทบทวนตอกย้ำ แล้วตั้งใจทำความดีชดเชย
ถ้าเราตอนมีชีวิตอยู่ไม่เชื่อ แต่พอตายตกนรกไปเจอพญายมราช ถึงตอนนั้นจะแก้ตัวทำความดีชดเชยก็แก้ไม่ทันแล้ว ดังนั้น เราต้องเลือกแล้วว่าเราจะเชื่อตอนเป็นแล้วทำความดีเผื่อเหนียวไว้ หรือจะไปเห็นตอนตาย
ถ้าให้อาตมภาพแนะนำ ให้เชื่อตอนนี้จะดีกว่า บาปกรรมอกุศลอย่าไปทำ ทำความดีมากๆ เราจะได้ไม่ตกนรก ไม่ไปอบาย ได้ไปสวรรค์ ไปสุคติกัน พอบุญเราเต็มที่เมื่อไร ตั้งใจปฏิบัติธรรมจนหมดกิเลสแล้วจะได้ไปนิพพาน
1
เรารู้กันแล้วว่า กฎแห่งกรรมเป็นความจริงที่เป็นสากล ซึ่งแตกต่างจากกฎหมายที่แต่ละประเทศบัญญัติขึ้น จึงมีคำถามต่อมาว่าคนส่วนใหญ่เกรงกลัวกฎหมาย หรือกฎแห่งกรรมมากกว่ากัน
กฎแห่งกรรมไม่มีคำว่า “ลดโทษ”
1
ในทางกฎหมายมีการลดโทษให้นักโทษได้ แต่ในทางกฎแห่งกรรมไม่มีการลดบาปให้กับคนทำบาป
เปรียบเทียบว่าพอเราทำบาปไปแล้ว เหมือนกับเราเติมเกลือใส่ลงไปในน้ำ เกลือไม่หายไปไหน แต่ถ้าเราสำนึกผิด หยุดทำบาป หยุดเติมเกลือ สร้างบุญมากๆ ก็เหมือนกับการเติมน้ำมากๆ ลงในแก้ว น้ำเกลือจะเจือจางลง ความเค็มจะลดลงเรื่อยๆ วิบากกรรมที่ตามมาก็จะทุเลาเบาลง แต่บาปที่ทำไปแล้วไม่ได้หายไปไหน แค่ฤทธิ์อ่อนแรงลงเท่านั้น
1
เราจะอยู่เฉยๆ รอให้เขาอภัยโทษให้นั้นไม่ได้ แต่เราต้องสร้างบุญด้วยตนเอง แล้วหยุดสร้างบาป ให้บุญไปเจือจางจนบาปอ่อนฤทธิ์ลง
ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
“อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ” แปลว่า
“ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน”
เพราะฉะนั้น เราต้องพึ่งตนเอง จะรอให้คนอื่นมาช่วยไม่ได้ เราต้องละชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส อย่างนี้จึงพอจะแก้ไขกันได้
กฎแห่งกรรมไม่มีวันเปลี่ยนแปลง
เรื่องของกฎหมาย เมื่อตั้งกฎขึ้นมาแล้ว พอยุคสมัยเปลี่ยนไปอาจจะมีการปรับปรุงแก้ไขได้ แต่สำหรับกฎแห่งกรรมนั้นไม่มีทางแก้ไขได้เลย
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า กรรม 10 อย่าง คือ “อกุศลกรรมบถ 10” ทำแล้วเกิดอกุศล เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดคำหยาบ พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ เป็นต้น ปัจจุบันผ่านมา 2,000 กว่าปี ก็ยังคงเป็นบาปอยู่อย่างนั้น ไม่ว่าจะอีก 2 หมื่นปี หรือ 2 ล้านปี ก็จะยังคงเป็นบาปอยู่อย่างนั้น
3
แม้ในยุคพุทธันดรที่แล้ว ยุคของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก่อนก็เหมือนกัน คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์เหมือนกันหมด
เพราะฉะนั้น กฎแห่งกรรมเป็นกฎเดียวกันไม่เปลี่ยนแปลง เพราะไม่มีใครมีอำนาจเปลี่ยนแปลงได้
วิธีการรอดพ้นจากกฎแห่งกรรม
1
สรุปว่าวิธีการรอดพ้นจากกฎแห่งกรรมซึ่งเป็นกฎที่ควบคุมสรรพสิ่งในขณะนี้ โดยย่อคือละชั่ว อย่างน้อยที่สุดให้เรารักษาศีล 5 ให้ได้ ได้แก่
(1) ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ทรมานสัตว์ (2) ไม่ลักทรัพย์ ไม่ฉ้อโกง (3) ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่ล่วงละเมิดลูกเมียเขา (4) ไม่พูดปด ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ (5) ไม่ดื่มสุรา ยาเสพติดทุกชนิด และไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุขทั้งหลาย
1
“อบายมุข 6” ได้แก่
(1) ดื่มน้ำเมา (2) เที่ยวกลางคืน (3) ดูการละเล่นเป็นนิตย์ (4) เล่นการพนัน (5) คบคนชั่วเป็นมิตร (6) เกียจคร้านการงาน เพราะฉะนั้น ถ้าเราเว้นศีล 5 และอบายมุข 6 ได้อย่างนี้ ถือว่าเราละชั่วได้แล้วในแง่พื้นฐาน
1
จากนั้นตั้งใจให้ทาน มีเมตตากรุณาต่อทุกคน มีน้ำใจเอื้อเฟื้อช่วยเหลือทุกคน แล้วหมั่นทำสมาธิภาวนาและทำใจให้ผ่องใส ถ้าทำให้ใจตนเองใสได้อย่างนี้ เราจะโปร่งใจ สบายใจได้ในเรื่องกฎแห่งกรรม
กฎแห่งกรรมเป็นกฎที่ไม่ละเว้นใครเลย ควบคุมทุกสรรพสิ่งทั้งคน สัตว์ ไม่ว่าจะเชื้อชาติ ศาสนาหรือเผ่าพันธุ์ใด ดังนั้น เราต้องหลีกเลี่ยงการทำชั่ว ทำใจให้ผ่องใส รับรองว่า เราจะปลอดภัยทั้งจากกฎแห่งกรรมและกฎบ้านเมือง
เจริญพร
โฆษณา