26 พ.ย. 2020 เวลา 12:42 • สิ่งแวดล้อม
Greenland แดนน้ำแข็งที่กำลังละลาย
Greenland ถือว่าเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก (ประมาณ 2,175,900 ตร.กม.) และเป็นแผ่นน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในซีกโลกเหนือ (ประมาณ 1,700,000 ตร.กม.) ถ้าหากน้ำแข็งทั้งหมดของ Greenland ละลายจะทำให้ทะเลสูงขึ้นมากกว่า 7 เมตรเลยทีเดียว
แน่นอนว่าการละลายแบบนั้นมันคงไม่เกิดขึ้นในวันนี้ แต่คงไม่แน่ในศตวรรษหน้า และนักวิทยาศาสตร์กำลังพยายามจัดการกับปัญหานี้ด้วยวิธีการที่มีอยู่มากมาย แต่ปัญหาก็คือเรายังมีกรณีตัวอย่างที่ไม่เพียงพอ และยังขาดความรู้ด้านภูมิประเทศ เนื่องจาก Greenland นั้นเต็มไปด้วยหิมะรวมถึงอ่าวแคบต่างๆที่อยู่ระหว่างหน้าผาสูงชัน (Fjords) ที่มีน้ำและน้ำแข็งไหลผ่านตลอดเวลา
วิธีหนึ่งในการแก้ไขปัญหานี้คือการดูว่าน้ำแข็งมีปฏิกริยาอย่างไรกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอดีต และเปรียบเทียบกับแบบจำลองในอนาคต สำหรับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่คล้ายคลึงกัน
สำหรับการหาหลักการว่าขนาดของธารน้ำแข็งเหล่านี้เปลี่ยนแปลงอย่างไร ในช่วงปีค.ศ. 1880 ถึง ค.ศ. 2012 นักวิทยาศาสตร์ได้ตรวจสอบธารน้ำแข็งขนาดใหญ่ 3 แห่งใน Greenland และใช้ภาพถ่ายทางอากาศในอดีตพร้อมกับการวัดที่นักวิทยาศาสตร์ถ่ายโดยตรงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งหลักการนี้เป็นที่ยอมรับในทางวิทยาศาสตร์เพราะมันสามารถช่วยคาดการณ์อนาคตได้อย่างแม่นยำ
อย่างที่เราทราบกันว่าสภาพภูมิอากาศของโลกในอนาคตมักจะเลวร้ายกว่าในอดีต แต่ถ้าหากเรารู้ได้ว่าการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิส่งผลต่อผืนน้ำแข็งเพียงใดในศตวรรษที่ผ่านมา ศตวรรษหน้านักวิทยาศาสตร์ก็อาจจะใช้ข้อมูลเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์มากขึ้นได้ โดยนักวิทยาศาสตร์พบว่าธารน้ำแข็งขนาดใหญ่ 3 แห่งใน Greenland มีส่วนทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 8.1 มม. ซึ่งถือเป็น 15 เปอร์เซ็นต์จากน้ำแข็งทั้งหมดของ Greenland และระหว่างที่นักวิทยาศาตร์ทำการศึกษาก็พบว่าระดับน้ำทะเลทั่วโลกสูงขึ้นอีกประมาณ 20 ซม.
แล้วมันบอกอะไรเราเกี่ยวกับอนาคตของน้ำแข็ง?
ต่อมาในปี 2013 ได้มีการศึกษาธารน้ำแข็งขนาดใหญ่ 3 แห่งในรูปแบบเดียวกัน ในบริเวณ Jakobshawn Ispray ทางตะวันตกของเกาะ Hellheim และ Kangarluzwak ทางทิศตะวันออก และทำการคาดการณ์ว่าพื้นที่เหล่านี้จะตอบสนองต่อสภาพอากาศในอนาคตอย่างไร
การศึกษานี้ทำให้พบว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆในศตวรรษที่ 21 ส่งผลให้อุณหภูมิสูงขึ้นประมาณ 3.7 องศาเซลเซียส (ก่อนยุคอุตสาหกรรมหรือ ค.ศ. 1850 อุณหภูมิสูงขึ้นประมาณ 4.8 องศาเซลเซียส) และมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับสูง (RCP8.5) ที่รุนแรงที่สุด
แม้จะมีการถกเถียงกันในหมู่นักวิจัยสภาพภูมิอากาศเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของหลักคิดของการคำนวนค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับสูง (RCP8.5) แต่อย่างไรก็ตามนี่อาจเป็นหลักการที่เหมาะสมที่สุดตามการศึกษาล่าสุดของทีมนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันอย่างน้อยก็จนถึงปี ค.ศ.2050
ทั้งหมดนั้นหมายความว่าอย่างไร? หากเรายังคิดตามหลักการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับสูง (RCP8.5) แผ่นน้ำแข็งทั้งหมดใน Greenland จะละลายภายใน 130,000 ปี ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นจนกลืนกินพื้นที่อาศัยของผู้คนหลายล้านคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตชายฝั่งทั่วโลก
Credit Pic: Mario Hoppmann. climate.nasa.gov
โฆษณา