30 พ.ย. 2020 เวลา 04:05 • ธุรกิจ
โควิด ไม่สะเทือนบัลลังก์ ‘เจ้าสัวเจริญ’ ‘ไทยเบฟ’ โกยกำไร เหล้า-เบียร์-นอนแอลฯโตพรึ่บ!
ในปี 2563 บริษัทไหนที่สร้างผลการดำเนินงานฝ่าวิกฤติโควิด-19 จนมียอดขายเติบโต ถือเป็นเรื่องที่น่าพอใจอย่างยิ่ง และคงจะยอดเยี่ยมยิ่งขึ้นหากขายแล้วทำ “กำไร” ได้ด้วย
โควิด ไม่สะเทือนบัลลังก์ ‘เจ้าสัวเจริญ’ ‘ไทยเบฟ’ โกยกำไร เหล้า-เบียร์-นอนแอลฯโตพรึ่บ!
ช่วงต้นปีเป็นห้วงเวลาที่โควิด-19 ระบาดหนักมากทั่วโลก รวมทั้งไทย ทำให้ภาครัฐ งัดมาตรการ “ล็อกดาวน์” มาใช้ ส่งผลให้ธุรกิจร้านค้า อาคารสำนักงาน หลายสถานที่ต้อง “ปิดให้บริการ” หากห้างร้านที่จำเป็นต้องเปิดให้บริการ ต้องมีมาตรการรักษาระยะห่าง สิ่งเหล่านี้ กระเทือนการค้าขายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สุดท้ายหลายบริษัทไม่ต้องถามหาอัตราการ “เติบโต” เพราะตัวเลขอยู่ใน Red Zone “ติดลบ” กันถ้วนหน้า การ “ขาดทุน” บริษัทอยู่ในจุด “ต่ำสุด” ครั้งแล้วครั้งเล่า ก็ยังไม่ต่ำสุดจริงๆเสียที นี่เป็นสถานการณ์ที่องค์กรธุรกิจไทยเผชิญอย่างสาหัส
3
ทว่า “บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด(มหาชน)” ของราชันย์น้ำเมา "เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี" กลับเป็นหนึ่งในหลายบริษัทที่มีความสามารถสร้าง “กำไร” ได้โดดเด่น แม้ยอดขายจะตกก็ตาม!
สำหรับรายงานผลประกอบการปี 2563(ปีงบประมาณ ต.ค.62-ก.ย.63) ไทยเบฟ ปิดยอดขายรวม 253,481 ล้านบาท หดตัวลง 5.2% ซึ่งเป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แต่ “กำไรสุทธิ” อยู่ที่ 26,065 ล้านบาท ลดลง 0.1% เทียบช่สวงเดียวกันปีก่อน 26,083 ล้านบาท หรือหายไปเพียง 18 ล้านบาทเท่านั้น และยิ่งดูผลกำไรจากการดำเนินงานอยู่ที่ 28,725 ล้านบาท เติบโต 10.1% เรียกว่าความสามารถทำกำไรท่ามกลางวิกฤติไม่ได้แย่แต่อย่างใด
ทั้งนี้ มาดูยอดขายและกำไรที่แบ่งตามหมวดสินค้ากันบ้าง “สุรา” ถือเป็นหัวใจหลักที่ทำกำไรให้บริษัทอยู่แล้ว มีสัดส่วนมากสุดถึง 84.5% ที่เหลือเป็นสินค้าอื่นทั้งเบียร์ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และอาหาร ฯ ปี 2563 สุราปิดยอดขายรวม 117,297 ล้านบาท เติบโต 2.2% จากปีก่อน 114,806 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 22,271 ล้านบาท เติบโตถึง 14.7% จากปีก่อน 19,412 ล้านบาท เหตุผลเพราะยอดขายเชิงปริมาณเพิ่ม
2
มาดู “เบียร์” บ้าง ซึ่งมีแบรนด์หัวหอกอย่าง "เบียร์ช้าง" สร้างยอดขาย 106,871 ล้านบาท ลดลง 11.3% จากปีก่อน 120,422 ล้านบาท ส่วนกำไรสุทธิอยู่ที่ 3,519 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.3% จากปีก่อน 3,281 ล้านบาท โดยทั้งสุราและเบียร์มีค่าใช้จ่ายด้านโฆษณาลด ซึ่งปกติเครื่องดื่มแออลกอฮอล์ไม่สามารถโฆษณาได้อยู่แล้ว ทำให้ต้นทุนลดลง
ส่วนเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์มียอดขาย 16,281 ล้านบาท ลดลง 3.1% จากปีก่อน 16,796 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 656 ล้านบาท โตถล่มทลาย 165.7% จากปีก่อน “ขาดทุน” 998 ล้านบาท แม้ยอดขายเชิงปริมาณจะลด แต่การโฆษณา ค่าใช้จ่ายที่ลดลง จึงส่งผลต่อกำไรในเชิงบวก
2
ด้านธุรกิจอาหารมียอดขาย 13,172 ล้านบาท ลดลง 15.4% จากปีก่อน 15,561 ล้านบาท และ “ขาดทุน” 101 กระเทือนหนักถึง 121.4% จากปีก่อนมีกำไรสุทธิ 472 ล้านบาท เพราะธุรกิจร้านอาหารได้รับผลกระทบหนักสุดช่วงโควิด เนื่องจากต้องปิดหน้าร้านเป็นเวลาหลายเดือน เหลือเพียงบริการเดลิเวอรี่ที่ยังทำได้
1
หากดูยอดขาย “เชิงปริมาณ” สุรา 668 ล้านลิตร เพิ่มขึ้น 0.2% จากปีก่อน 667 ล้านลิตร เบียร์ 2,358 ล้านลิตร ลดลง 12.7% จากปีก่อน 2,700 ล้านลิตร โซดา 43 ล้านลิตร ลดลง 0.45 โซดาและน้ำดื่มช้าง 78 ล้านลิตร ลดลง 27.6% จาก 108 ล้านลิตร เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 1,578 ล้านลิตร ลดลง 3.8% จาก 1,640 ล้านลิต
เมื่อแบ่งตามสินค้า ชาเขียวพร้อมดื่มโออิชิ และเครื่องดื่มจับใจ 259 ล้านลิตร ลดลง 5.1% จาด 273 ล้านลิตร น้ำดื่ม 1,044 ล้านลิตร ลดลง 0.8% จาก 1,052 ล้านลิตร เครื่องดื่มอัดลม ทั้งเอส ฮันเดรดพลัส และซาสี่ 271 ล้านลิตร ลดลง 12.5% จาก 310 ล้านลิตร และอื่นๆ เช่น เครื่องงดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มเกลือแร่ ฯ 4 ล้านลิตร ลดลงง 5.2% จาก 5 ล้านลิตร
ด้านธุรกิจต่างประเทศ ยอดขายรวม 62,000 ล้านบาท ลดลง 18% โดยเฉพาะยอดขายเบียร์ลดลง ส่วนสุรายอดขายลดลง 1% สก๊อตวิสกียอดขายเติบโตลดลง โดยเฉพาะในเซ็กเมนต์พรีเมี่ยมและการขายในปริมาณมาก(Bulk) ขณะที่รอยัล แกรนด์ กรุ๊ป(GRG)ในเมียนมายอดขายเติบโตจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ค่าเงินท้องถิ่นแข็งค่าขึ้น สำหรับยอดขายเบียร์ลดลง 21% ส่วนหนึ่งเพราะยอดขายของบริษัท ไซ่ง่อน เบียร์ แอลกอฮอล์ เบฟเวอเรจ คอร์เปอเรชั่น (ซาเบโก้) กระทบ รวมถึงงผลการดำเนินงานในอาเซียนชะลอตัวลง
1
โฆษณา