30 ธ.ค. 2020 เวลา 00:30 • ธุรกิจ
“ไอเดียสิ่งประดิษฐ์อวกาศสุดล้ำ จักรวาลไม่ไกลเกินเอื้อมถึง”
เราทุกคนรู้จัก NASA หรือองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติกันอยู่แล้ว
วันที่ 20 กรกฎาคม ปี 1969
NASA ประสพความสำเร็จจากการส่ง “ยานอะพอลโล 11” ขึ้นไปบนดวงจันทร์
ซึ่งนั้น ทำให้ นีล อาร์มสตรอง และ บัซซ์ อัลดริน สัมผัสพื้นผิวดวงจันทร์เป็นครั้งแรก
ทางฝั่งญี่ปุ่นเองก็มี JAXA หรือองค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น
ส่งยานสำรวจอวกาศ “Hayabusa 2” ขึ้นไปสำรวจอวกาศ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2014
Hayabusa 2
ซึ่งล่าสุด ได้เก็บตัวอย่างชิ้นส่วนดาวเคราะห์น้อย “ริวคุ” กลับสู่พื้นโลกได้สำเร็จเป็นครั้งแรก
ในวันที่ 6 ธันวาคม 2020
ตัวชิ้นส่วนจากดาวเคราะห์ ริคุ
แต่นอกจากองค์กรใหญ่ๆแล้ว
ในญี่ปุ่น ยังมีบริษัทที่ให้ความสนใจเกี่ยวกับ “ธุรกิจอวกาศ” อยู่ไม่น้อย
วันนี้เลยจะพามาดู “ไอเดียสิ่งประดิษฐ์อวกาศ” ทั้งหลายที่กำลังถูกพัฒนา
รอวันที่เราจะได้ไปเยือนอวกาศกันค่ะ
1. “จรวดอวกาศ” พัฒนาโดยบริษัท Interstellar Technologies
Interstellar Technologies
ผู้ก่อตั้งคือ คุณ Takafumi Horie
ชายหนุ่มผู้ประกาศต่อโลกว่า “ผมจะทำทัวร์ไปดวงจันทร์”
ความตั้งใจของคุณโฮริเอะ คือ “ต้องการสร้างจรวดที่ราคาประหยัด”
เขาเริ่มต้นจากพนักงานเพียงแค่ 2 คน ที่ไม่มีประสพการณ์ด้านจรวดอวกาศเลย
และรับพนักงานที่มีความฝันอยากสร้างจรวดเหมือนกันเข้ามาเพิ่ม
จนกระทั่งตอนนี้ มีพนักงานประมาณ 50 คน
มีสถานที่ผลิตและทดลองจรวด ตั้งอยู่ที่จังหวัดฮอกไกโด
การก่อสร้างเริ่มต้นจากศูนย์ และทดลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง
วัสดุที่ใช้ในการผลิตจรวด เป็นของที่สั่งซื้อจากแคตตาล๊อคบ้าง สั่งซื้อออนไลน์บ้าง
ชิ้นส่วนไหนที่ไม่มีขาย ก็ผลิตขึ้นมาเอง
จรวดอวกาศ Interstellar Technologies
- มีนาคม ปี 2011 ทดสอบปล่อยจรวด “Haru ichiban” เป็นครั้งแรก จรวดพุ่งขึ้นสูง 500 เมตร
- พฤศจิกายน ปี 2013 ทดสอบปล่อยจรวด “Pocky” จรวดพุ่งขึ้นสูง 1,111 เมตร
1
- กรกฎาคม ปี 2017 ทดสอบปล่อยจรวด “Momo 1” จรวดพุ่งขึ้นสูง 20 กิโลเมตร
- สิงหาคม ปี 2018 ทดสอบปล่อยจรวด “Momo 2” แต่เครื่องควบคุมมีปัญหา ขึ้นไปได้เพียง 8 วินาที แล้วตกลงกระแทกพื้น สร้างความตกใจให้กับประชาชน และสื่อทั้งในประเทศและต่างประเทศที่มารอชม เป็นอย่างมาก
- พฤษภาคม ปี 2019 ทดสอบปล่อยจรวด “Momo 3” จรวดพุ่งขึ้นสูงถึง 113.4 กิโลเมตร วิ่งเข้าสู่วงโคจรของโลกได้อย่างสวยงาม
ถือเป็นครั้งแรกของประเทศญี่ปุ่น ที่ทำสำเร็จโดยฝีมือของประชาชนคนธรรมดา
นี่คือภาพวีดิโอความสำเร็จในวันนั้น ↓↓
แม้จะประสพความสำเร็จในการส่งจรวด “Momo 3” ขึ้นไปยังอวกาศเป็นครั้งแรก
แต่การทดสอบปล่อยจรวด Momo 4~6 นั้นกลับล้มเหลว
ปัจจุบันนี้ “Momo 7” อยู่ในระหว่างการพัฒนาเครื่องยนต์ ซึ่งถือเป็น หัวใจสำคัญของจรวดอวกาศ
Momo7 มีกำหนดการทดสอบปล่อยจรวดใน วันที่ 31 มกราคม 2021
Momo 7 มีสปอนเซอร์รายใหญ่เป็นบริษัทผลิตสกรู จึงถูกออกแบบให้เหมือนหัวสกรู
การทดสอบเครื่องยนต์ ในแต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายที่สูงถึง 1 ล้านเยน (ราว 3 แสนบาท)
ส่วนตัวจรวดมีมูลค่ามากกว่า 50 ล้านเยน ( ราว 18 ล้านบาท)
แม้ตัวคุณโฮริเอะเอง จะเป็นผู้ที่ประสพความสำเร็จอย่างมากในการทำธุรกิจด้าน IT และมีสายป่านที่ยาวก็จริง
แต่ถ้าหากเกิดความผิดพลาดบ่อยๆ ก็จะยิ่งสูญเงินไปโดยเปล่าประโยชน์
สิ่งที่คุณโฮริเอะต้องทำคือ หาสปอนเซอร์มาช่วยสนับสนุน
รวมทั้งระดุมเงินทุนจาก Crowd Funding* อีกด้วย
(*ใครที่ยังไม่รู้จัก Crowd Funding ให้ย้อนไปดูบทความก่อนหน้าของเพจ “รู้เท่าคนญี่ปุ่น” นะคะ)
สิ่งนึงที่คาดหวังว่าจะได้รับ หากส่งจรวดไปยังอวกาศสำเร็จ ก็คือ “ธุรกิจขนส่งทางอวกาศ”
รวมไปถึง Know-how การสร้างจรวด ซึ่งคาดว่าจะทำมูลค่าได้สูง
ต้องยอมรับว่าคุณโฮริเอะ เปรียบเสมือน ความหวังของหมู่บ้าน
เพราะเขาเป็นผู้เริ่มต้นไอเดียท่องอวกาศ
และทำให้ทุกคนรู้สึกว่า อวกาศอยู่ใกล้ตัวเรานิดเดียว
จึงเกิดไอเดียธุรกิจต่อยอดอย่างอื่นเพิ่มขึ้นมา
2. “ฝนดาวตก(เทียม)” พัฒนาโดยบริษัท ALE
ALE
ถือเป็นไอเดียที่แปลกใหม่ และสร้างสรรค์มาก เพราะยังไม่มีใครที่ไหนในโลกทำ
ผู้ก่อตั้งได้ไอเดียนี้มาจาก การดูฝนดาวตกตอนเด็กๆ และคิดว่ามนุษย์เราก็น่าจะทำเองได้
เครื่องผลิตฝนดาวตกเทียมนี้ คาดว่าจะถูกส่งไปยังอวกาศ โดยจรวดของคุณโฮริเอะ
และลอยตัวอยู่ในวงโคจรของโลก
ฝนดาวตกเทียมนี้ ทำขึ้นมาจาก “ลูกเหล็ก”
มีขนาดเล็กเพียง 1 เซนติเมตร คล้ายกับลูกแก้ว
เมื่อลูกเหล็กถูกปล่อยออกมา จะเสียดสีกับชั้นบรรยากาศจนเกิดเป็นเปลวไฟ
ทำให้มองเห็นเป็นฝนดาวตก
เราสามารถมองเห็นฝนดาวตกของจริง ได้เพียงไม่ถึง 1 วินาที
แต่ฝนดาวตกเทียมนี้ จะอยู่ได้นานกว่า ประมาณ 5-10 วินาที
ซึ่งคนกว่าครึ่งโลกสามารถมองเห็นได้พร้อมกัน
ฝนดาวตกเทียม
ที่พิเศษไปกว่านั้นก็คือ ฝนดาวตกเทียมนี้สามารถเปลี่ยนสีได้
ราวกับว่าเป็น “การแสดงพลุบนอวกาศ” เลยทีเดียว
กำหนดการที่คาดว่าจะสร้างเสร็จคือ ปี 2023
ใครสนใจจะทำเซอร์ไพรส์แฟน เตรียมตังค์ไว้เลยค่ะ ^^
3. “กล้องเซลฟี่อวกาศ” พัฒนาโดย Ryman Sat Project
กล้องเซลฟี่อวกาศ RSP-01
คำว่า “Ryman” ย่อมาจาก “Salaryman” หรือ พนักงานเงินเดือน
เป็นโปรเจคท์ที่เกิดจากการรวมตัวของเหล่าพนักงาน, นักเรียนเรียน, นักศึกษา
ที่มีความชื่นชอบเรื่องอวกาศเหมือนๆ กัน
มีสมาชิกอยู่ประมาณ 700 คน
Ryman Sat Project
ไอเดียนี้เกิดขึ้นมาจากวงเหล้า ที่อยากจะลองผลิตสิ่งประดิษฐ์อวกาศอะไรสักอย่างดู
กล้องเซลฟี่อวกาศ RSP-01 นี้
มีขนาดเล็กเพียง 10 x 10 เซนติเมตร และมีน้ำหนักเพียง 1 กิโลกรัม
ทำงานโดยการถ่ายภาพโลกจากอวกาศ แล้วส่งสัญญาณภาพกลับมาโดยอัตโนมัติ
โมเดลกล้องเซลฟี่ในอวกาศ
มูลค่าการผลิตอยู่ที่ 3 ล้านเยน (ราว 1ล้านบาท)
ได้รับเงินทุนมาจาก Crowd Funding เช่นกัน
มีแพลนว่าจะส่งไปยังอวกาศในปี 2021
4. “บ้านพักบนดวงจันทร์ สไตล์โอริกามิ” พัฒนาโดยบริษัท OUTSENSE
OUTSENCE
ว่ากันว่าในปี 2040 จะมีมนุษย์อาศัยอยู่บนดวงจันทร์ ประมาณ 1,000 คน
และมีคนออกเดินทางไปท่องเที่ยวดวงจันทร์ ถึงปีละ 10,000 คน
จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาสิ่งปลูกสร้าง หรือที่พักบนดวงจันทร์
โดยนำเทคนิคของ “โอริกามิ” หรือ “การพับกระดาษแบบญี่ปุ่น”
เข้ามาช่วยในการออกแบบบ้านครั้งนี้
บ้านพักสไตล์โอริกามิจะถูกส่งไปบนอวกาศโดยจรวด ในสภาพที่ถูกพับไว้
แล้วสามารถดึงขยายตัวออกได้อย่างง่ายดาย เมื่อถูกปล่อยลงบนดวงจันทร์
โมเดลบ้านพับสไตล์โอริกามิ
ผู้ก่อตั้งบริษัท OUTSENSE มีอายุเพียง 25 ปี
ทำธุรกิจเกี่ยวกับโอริกามิ หรือ การจัดนิทรรศการเกี่ยวกับโอริกามิ
แล้วนำรายได้มาลงทุนพัฒนาโปรเจคนี้ โดยไม่ได้ขอเงินระดมทุนแต่อย่างใด
ถือเป็นคนหนุ่มไฟแรง ที่มีความคิดสร้างสรรค์เป็นอย่างมาก
โมเดลบ้านพับสไตล์โอริกามิ
5. “เครื่องผลิตเบียร์บนอวกาศ” พัฒนาโดยบริษัท TAKASAGO ELECTRIC
TAKASAGO ELECTRIC
TAKASAGO ELECTRIC เป็นบริษัทผู้ผลิตปั๊มและวาว์ลทางการแพทย์
ไม่เคยผลิต หรือทำธุรกิจเกี่ยวกับเบียร์มาก่อน
แต่มีไอเดียที่ต้องการจะคิดค้นสิ่งประดิษฐ์อวกาศดูบ้าง
จึงเกิดเป็นไอเดีย “เครื่องผลิตเบียร์บนอวกาศ” ขึ้นมา
แต่เนื่องจากการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นต้องมีใบอนุญาต
จึงต้องขอความร่วมมือจากบริษัทผลิตเบียร์ที่มีใบอนุญาตถูกต้อง
ความยากในการผลิตเบียร์ คือ “สภาวะไร้แรงโน้มถ่วง”
จึงจำเป็นต้องออกแบบถังเก็บ ให้ยีสต์เกิดการหมักตัวเข้ากับเบียร์ให้ได้
ซึ่งจำเป็นต้องใช้ปั๊มและวาว์ลที่สามารถทำงานได้ แม้ในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง
เบื้องต้น เครื่องผลิตเบียร์ที่กำลังพัฒนานี้ มีขนาดเล็กเพียงแค่ฝ่ามือ
หรือสามารถผลิตเบียร์ได้เพียง 200 มิลลิลิตร หรือ 1 แก้วเท่านั้น
ยังต้องมีการพัฒนาต่อ ไปอีกเรื่อยๆ
โมเดลเครื่องผลิตเบียร์ในอวกาศ
ซึ่งค่าใช้จ่ายในการพัฒนาคาดว่าจะสูงถึง 5 ล้านเยน (ราว 1.8 ล้านบาท)
6. “บริการกำจัดขยะอวกาศ” พัฒนาโดยบริษัท SKY Perfect JSAT Group
SKY Perfect JSAT Group
แน่นอนว่า เมื่อมีแต่คนพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ส่งไปยังอวกาศ ก็ย่อมทำให้เกิดขยะในอวกาศ
จึงมีบริษัทหัวใสคิด “บริการรับกำจัดขยะอวกาศ”
ไม่ว่าจะเป็นดาวเทียม ยานสำรวจอวกาศ สิ่งประดิษฐ์อวกาศ หรือเศษซากปรักหักพังจากชิ้นส่วนยานอวกาศ
SKY Perfect JSAT Group คือ บริษัทผู้ให้เช่าสัญญาณดาวเทียมยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น
ที่มีดาวเทียมอยู่ในอวกาศมากถึง 19 เครื่อง ด้วยกัน
ให้บริการสัญญาณโทรทัศน์, สัญญาณโทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ต
จากการสำรวจพบว่า ขยะอวกาศที่มีขนาดใหญ่กว่า 1 มิลลิเมตร และลอยอยู่ในวงโคจรของโลกในระยะ 2,000 กิโลเมตรนั้น ตอนนี้มีมากกว่า 1 ร้อยล้านชิ้นแล้ว
ภาพจำลองขยะอวกาศ ปี 2020
แน่นอนว่า วิธีการกำจัด ก็ไม่เหมือนการกำจัดขยะบนโลกทั่วไป
เพราะวัสดุส่วนใหญ่ทำมาจากเหล็ก หรือพลาสติกแข็งแกร่ง
แต่เนื่องจากสภาวะที่ไร้แรงโน้มถ่วง ไม่มีแรงต้านทาน จึงใช้แสงเลเซอร์เพียงเล็กน้อย เพื่อหยุดการเคลื่อนไหว
ยานกำจัดขยะอวกาศ
จากนั้น ใช้แสงเลเซอร์ ค่อยๆดันขยะอวกาศให้ลดต่ำลงมา
เมื่อหลุดจากวงโคจรของโลก และเข้าสู่ชั้นบรรยากาศแล้ว
ขยะอวกาศเหล่านี้ จะเกิดการเสียดสีและเผาไหม้หมดไป
ซึ่งคาดว่าจะเริ่มเปิดให้ใช้บริการได้ในปี 2026
นี่เป็นตัวอย่างไอเดีย “สิ่งประดิษฐ์อวกาศ” เพียงบางส่วนเท่านั้น
ถือว่า คนญี่ปุ่นค่อนข้างจริงจังกับ การไปเยือนอวกาศกันมากเลยค่ะ
แน่นอนว่าบริษัทที่คิดค้นและทำได้สำเร็จก่อน จะสามารถต่อยอดธุรกิจได้มหาศาลเลย
ส่วนใครที่มีทรัพย์ในกระเป๋าเยอะหน่อย แนะนำนี่เลยค่ะ “ทัวร์อวกาศ”
เพราะตอนนี้ บริษัท HIS ร่วมกับ สายการบิน ANA และ บริษัท PD AEROSPACE
มีแพลนที่จะทำทัวร์ ออกท่องอวกาศ ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้บริการ ปลายปี 2023 ค่ะ
ทัวร์อวกาศโดย HIS, ANA, และ PD AEROSPACE
/ ฮิเมะ
แหล่งข้อมูล
โฆษณา